PA Digital System

ระบบเสียงประกาศแบบดิจิตอล

ระบบภาพ

ระบบแสดงภาพความละเอียดสูง

ระบบแสง

ระบบแสง

Automation control

ระบบควบคุม

ระบบควบคุมอัตโนมัติ

ระบบรักษาความปลอดภัยโดยระบบควบคุมอัตโนมัติ

13 พ.ค. 2556

ระบบกล้องวงจรปิดไร้สายระยะไกล โรงโม่หิน จ เพชรบูรณ์


ระบบกล้องวงจรปิดไร้สายระยะไกล โรงโม่หิน จ เพชรบูรณ์

สวัสดีครับทุกท่านอีกเช่นเคย วันนี้ ผมขอนำเสนอตัวอย่างการไปทดสอบระบบกล้องวงจรปิดไร้สายระยะไกล ที่ โรงโม่หิน จ เพชรบูรณ์ กันครับ

โจทย์ของเราที่ได้จากทาง Project Owner คือ
- กล้องวงจรปิดไร้สายระยะไกลต้องสามารถเคลื่่อนย้ายไปได้ที่ทุกที่ในพื้นที่ของโรงโม่
- ระบบไฟฟ้า รอบรับได้ทั้งการใช้ไฟฟ้าจาก Solarcell มีแบ็ตเตอร์รี่สำรองไฟ อย่างน้อย 3 วัน และสามารถใช้ไฟจากระบบไฟฟ้าปกติได้
- กล้องมีความละเอียดสูง เนื่องจากต้องการประยุกต์ใช้งาน ในส่วนต่างๆ เช่น การวิเคราะห์คุณภาพของหิน / สามารถฟังเสียงเครืองจักรในการทำงานได้/ทำงานในสภาวะที่มืดสนิทได้/สามารถ PTZ ได้/ รองรับการสั่นสะเทือน,ฝุ่น,ผง,น้ำ,ลม,ฟ้าผ่า,ไฟตกไฟกระชาก ที่รุนแรงได้ ตามสภาวะของโรงโม่หิน
- Server software จัดการระบบต้องเสถียร สมบรูณ์และสามารถนำข้อมูลภาพจากระบบไปประยุกต์ใช้งานอย่างอื่นได้


- เริ่มต้นจากสำรวจพื้นที่หน้างาน/ รับทราบความต้องการจากทาง project owner กันก่อนครับ ในแต่ละจุด

-  หลังจากสำรวจพื้นที่หน้างานเสร็จเรียบร้อยแล้วเรามาเริ่มต้นทดสอบระบบรับส่งสัญญาณไร้สายระยะไกลของกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งไว้ที่ป้อมหน้าทางเข้าโรงโม่ และส่งสัญญาณไร้สายระยะไกลมาที่ ห้อง Server บน ภูเขา ระยะประมาณ 1 Km 

- ผลการทดสอบระบบการรับส่งสัญญาณไร้สายระยะไกล ตาม Video ด้านล่างนี้เลยครับ 
(การติดตั้งตัวรับส่งสัญญาณไร้สายที่เราทดสอบมีหลังคาโรงโม่ บัง ไม่ได้ขึ้นเสาเลยครับ 
เพราะเราต้องการทราบว่าถ้ามีหลังคาบังอย่างนี้ แล้วสัญญาณจะเป็นอย่างไรบ้าง) 



- รูปแบบการวางระบบ CCTV System Wireless Network คร่าวๆ ซึ่งถ้าหากว่าท่านไหนสนใจอยากรู้รายละเอียดเชิงลึก เรื่องการคำนวน solar cell/ wireless cctv network สามารถโทรหาผมได้ตลอด 24 ชมเลยครับ 555 เหมือน 7-11 เลย (ถ้าไม่รับแสดงว่านอนแล้ว เด่วจะติดต่อกลับไปครับ)



บทความจาก: ระบบกล้องวงจรปิดไร้สายระยะไกล โรงโม่หิน จ เพชรบูรณ์ ~ CCTVNETWORK|ออกแบบระบบกล้องวงจรปิดเครือข่ายระยะไกล|กล้องวงจรปิด|ออกแบบCCTV|cctvnetwork
http://cctvnetworkdesign.blogspot.com
Under Creative Commons License: Attribution

6 ก.พ. 2556

แนะนำ project ด้านการประหยัดพลังงาน โคมไฟ LED

สวัสดีครับทุกท่าน วันนี้ถือว่าผมมี project ใหม่มานำเสนอ นอกจากงานด้านระบบ cctv network แล้ว ปัจจุบัน ผมทำโปรเจคด้าน Energy saving ด้านการประหยัดพลังงานไฟฟ้า
ซึ่งทั้งนี้ ถ้าหากท่านไหน สนใจเป็นตัวแทน จำหน่าย สามารถติดต่อผมได้โดยตรง ตามที่อยู่นี้เลยครับ

- สินค้าที่เราเป็นตัวแทนจำหน่าย (เจ้าเดียวในประเทศไทย)
รายละเอียดตามไฟล์นำเสนอนี้เลยครับ ขอบคุณครับทุกท่าน

2 พ.ค. 2555

ทักทายแนะตัวกันหน่อย สำหรับงานด้าน av

สวัสดีปีใหม่ครับ ทุกท่านที่แวะเข้ามาชมเว็บ blog แห่งนี้ ทั้งนี้ผมหวังว่าเว็บ blog นี้จะมีประโยชน์ต่อทุกท่านไม่มากก็น้อยนะครับ

หลังจากที่ห่างหายไปนานไม่ได้มาอัฟเด็ทบทความเลย เป็นปีแล้ว ช่วงนั้นผมก็ไปลุยงานโปรเจค ตั้งแต่เริ่มเปิดเว็บ blog ประมาณ 2-3 ปี ผ่านไปแล้ว ทำให้ประสบการณ์ด้านระบบภาพเสียงและแสง แน่นขึ้น

ซึ่งในปีนี้ ตัวผมเองก็จะมาลุยงานด้านระบบกล้องวงจรปิดอย่างเต็มตัว พร้อมงานระบบภาพเสียงและ
งานระบบกันฟ้าผ่า ระบบกราวด์ ระบบไฟอะลาม เพื่อขยายงานโปรเจคให้โต มายิ่งขึ้น

มาคราวนี้ จะมาอัฟเด็ท โปรดักที่ทางเราทำอยู่นะครับ

เริ่มจากระบบรักษาความปลอดภัย security system ทางเรา เป็นตัวแทนจำหน่าย สินค้าแบรนด์
CCTV System





ทั้งนี้ก็มีสินค้าและราคาที่หลากหลายให้ทุกท่านเลือกตามงบประมาณที่ท่านมีอยู่ให้เหมาะสมกับโครงการของท่านครับ ทั้งนี้ ถ้าหากสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อผมได้โดยตรงครับ 

Tel. 08-5024-4610 (ถาวร) Sale project engineer 




-

26 เม.ย. 2554

การออกแบบระบบเสียง

การออบแบบระบบเสียงโดยละเอียดนั้น มีรายละเอียดอยู่ทั้งหมด 7 หัวข้อด้วยกันดังนี้

1. คลื่นเสียง (Wave Propagation)

- 1.1 ความยาวคลื่น , ความถี่ , ความเร็ว (Wavelength, Frequency, and Speed of Sound)

- 1.2 การรวมคลื่น (Combining Sine Waves)

- 1.3 การรวมคลื่นแบบหน่วงเวลา (Combining Delayed Sine Waves)

- 1.4 การเลี้ยวเบนของเสียง (Diffraction of Sound)

- 1.5 ผลของอุณหภูมิต่อคลื่นเสียง (Effects of Temperature Gradients on Sound Propagation)

- 1.6 ผลของความเร็วลมต่อคลื่นเสียง (Effects of Wind Velocity and Gradients on Sound Propagation)

- 1.7 ผลของความชื้นต่อคลื่นเสียง (Effect of Humidity on Sound Propagation)

 

2. เดซิเบล (The Decibel)
Power Relationships...........................................
Voltage, Current, and Pressure Relationships....
Sound Pressure and Loudness Contours...........
Inverse Square Relationships.............................
Adding Power Levels in dB.................................
Reference Levels................................................
Peak, Average, and RMS Signal Values.............

 

3. ทิศทางและมุมของลำโพงในการกระจายเสียง (Directivity and Angular Coverage of Loudspeakers)

A Comparison of Polar Plots, Beamwidth Plots, Directivity Plots, and Isobars.
Directivity of Circular Radiators.........................................................................
The Importance of Flat Power Response..........................................................
Measurement of Directional Characteristics......................................................
Using Directivity Information..............................................................................
Directional Characteristics of Combined Radiators...........................................

 

4. ระบบเสียงกลางแจ้ง (An Outdoor Sound Reinforcement System)
The Concept of Acoustical Gain.............................................................................................
The Influence of Directional Microphones and Loudspeakers on System Maximum Gain....
How Much Gain is Needed?...................................................................................................
Conclusion..............................................................................................................................

5. ความรู้เกียวกับอคูสติกของห้อง ( Fundamentals of Room Acoustics)

Absorption and Reflection of Sound...............................................................
The Growth and Decay of a Sound Field in a Room......................................
Reverberation and Reverberation Time..........................................................
Direct and Reverberant Sound Fields............................................................
Critical Distance..............................................................................................
The Room Constant.......................................................................................
Statistical Models and the Real World............................................................

 

6. คุณสมบัติของคลื่นเสียงในร่ม (Behavior of Sound Systems Indoors)
Acoustical Feedback and Potential System Gain..........................................................
Sound Field Calculations for a Small Room..................................................................
Calculations for a Medium-Size Room..........................................................................
Calculations for a Distributed Loudspeaker System......................................................
System Gain vs. Frequency Response.........................................................................
The Indoor Gain Equation.............................................................................................
Measuring Sound System Gain.....................................................................................
General Requirements for Speech Intelligibility.............................................................
The Role of Time Delay in Sound Reinforcement.........................................................
System Equalization and Power Response of Loudspeakers.......................................
System Design Overview..............................................................................................

 

7. การออกแบบและรูปแบบ (System Architecture and Layout )

Typical Signal Flow Diagram......................................................................................................
Amplifier and Loudspeaker Power Ratings................................................................................
Wire Gauges and Line Losses...................................................................................................
Constant Voltage Distribution Systems (70-volt lines)................................................................
Low Frequency Augmentation—Subwoofers.............................................................................
Case Study A: A Speech and Music System for a Large Evangelical Church............................
Case Study B: A Distributed Sound Reinforcement System for a Large Liturgical Church........
Case Study C: Specifications for a Distributed Sound System Comprising a Ballroom,
Small Meeting Space, and Social/Bar Area.........................................................................

 

สวัสดีครับ ตอนแรกผมคิดว่าจะ นั่งแปลให้บุคคลทั่วไป อ่านด้วยจะได้เข้าใจ แต่พอนั่งแปลแต่ละหัวข้อแล้ว

คงบอกได้คำเดียวว่าเข้าใจยากครับ 55 ผมเลยเปลี่ยนจะนั่งเขียนและก็แปลเฉพาะหัวข้อที่ได้ใช้จริงๆ และ สำหรับ ช่าง หรือ วิศวกรที่มีพื้นฐานความรู้

ด้านไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์มาแล้วนะครับ เช่น หัวข้อที่ 4 ระบบเสียงกลางแจ้ง , 7 การออกแบบ เอาเป็นว่าตัดตอนเลยละกัน สำหรับ ใครที่มีพื้นฐานคงเข้าใจนะครับ 55

9 ก.ย. 2553

ภาพตัวอย่างการดูDVRออนไลน์

clip_image002
clip_image002[5]
clip_image002[7]

clip_image002[9]

3 ก.ย. 2553

ตัวอย่างภาพจาก Software milestone IP Camera

image


image

image

การเลือกระบบกล้องวงจรปิด

1. ตัวกล้อง (Camera) และ อุปกรณ์ประกอบ(Housing,Adapter)
- มีเยอะมากในท้องตลาด จะเลือกอันไหนดี 
2. เครื่องบันทึกภาพ (DVR)
- เยอะแยะไปหมดใช้งานยังไง
3. สายสัญญาณ (Cable)
- การติดตั้งระยะใกล้ หรือ ไกล
4. การติดตั้ง มาตรฐานการติดตั้ง (Install – Configuration)
- เดินท่อร้อยสาย เดินลอย
5. ราคา (Price)
- ราคาถูก
- ราคาปานกลาง
- ราคาแพง
6. การบริการหลังการขาย (Service)
- มี
- ไม่มี
ในบทความถัดไปผมจะมาเจาะรายละเอียดแต่ละหัวข้อให้ฟัง

การทดสอบตั้งค่ากล้อง IP Cam

อันนี้เป็นรุปการทดสอบและตั้งค่ากล้อง IP Cam จาก Axis ครับ
image
Private mark
image

Software configuration
image

Client live

เด่วต่อไปจะสอนการใช้งานเบื้องต้น ครับ ในบทความถัดไป

2 ก.ย. 2553

EMC คืออะไรใครรู้บ้าง 2

EMC หัวข้อที่วิศวกร(ทุกสาขา)พึงต้องรู้ (ตอนที่ 2)

เสียงสะท้อนจากพี่ๆ น้องๆ บอกว่าอย่าเขียนในเรื่องที่หนักไป ให้เบาๆ เหมือนปุยนุ่นหน่อย ครับต้องขอบคุณเป็นอย่างยิ่งสำหรับการแสดงข้อคิดเห็น อย่างน้อยแสดงว่ามีคนอ่านบ้าง จริงไหมท่าน ฉะนั้นฉบับนี้คงไม่เครียดนะท่าน
เราจะมาว่าต่อในบทความตอนที่สอง คือเรื่องการออกแบบและแนวทางการป้องกัน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาด้าน EMC ต่อสิ่งแวดล้อมและกรณีศึกษาผลกระทบด้าน EMC ประเด็นนี้หากจะว่าไปก็เช่นคำภาษิตที่ว่า คิดก่อนทำ นั่นแหละท่าน ฉะนั้นหากจะบอกว่าในกระบวนการออกแบบเจ้าเครื่องมือ หรือระบบทางไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีคาถาอย่างน้อยสองข้อว่า Safety และก็ EMCTechnology อยู่ด้วยเสมอ ที่ต้องเป็นเช่นนี้เพราะหลายๆ กฎระเบียบด้าน EMC ในปัจจุบัน เริ่มถือเป็นข้อบังคับใช้แล้ว จะมาอย่างแบบ ส.ว.ว่าผมม่ายรู้ ม่ายได้นะท่าน แล้วอะไรละคือ EMC Technology

ในตอนที่แล้ว เกล้ากระผมได้บอกว่า EMC ประกอบด้วยส่วนสำคัญอยู่สามส่วน คือส่วนแรกแหล่งกำเนิดสัญญาณรบกวน (EMIsource) ส่วนที่สองคือส่วนที่ได้รับผลกระทบผลของ EMI หรือบางครั้งอาจเรียกว่าแหล่งรับสัญญาณรบกวน (receptor) และส่วนที่สามคือการเชื่อมต่อระหว่างสองส่วนแรก (coupling) ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น ส่วนเชื่อมต่อแบบ conduction อันนี้จะเป็นอะไรก็ได้ที่ใช้ตัวนำเป็นสื่อ เช่น ระบบสายเมน สายดิน สายควบคุม หรือสายผ่านโมเด็ม ได้ทั้งสิ้น ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งคือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะแผ่กระจายผ่านตัวกลางทางอากาศ เรียกว่าเป็นการเชื่อมต่อแบบ radiation เจ้า EMC Technology ก็คือ อย่างที่หนึ่ง ลดระดับ Noise ที่ต้นเหตุ อย่างที่สอง เพิ่มภูมิคุ้มกันที่ receptor และอย่างที่สามอย่างสุดท้าย คือการทำให้สัญญาณที่ต้องการใช้เชื่อมต่อ สะอาดปราศจากสัญญาณรบกวนที่ไม่ต้องการ หรือป้องกันไม่ให้สัญญาณที่ไม่พึงประสงค์ผ่านเข้ามาได้
วิธีการที่จะลดระดับ Noise ก็ด้วยวิธีเช่น ลดขนาดสัญญาณลงลดความถี่ลง รวมถึงการออกแบบให้ rising time และ falling timeมากขึ้น อย่างนี้พระท่านว่าจะทำใหักิเลสน้อยลง หรือ สัญญาIรบกวน (EMI) น้อยลง
วิธีการข้อที่สองก็คือออกแบบให้ระบบมีภูมิคุ้มกันให้มากขึ้นหรือต้องฉีดยาป้องกันได้ให้มีภูมิคุ้มกันพอจะทนฟ้าทนฝนได้นั่นแหละท่าน ยกตัวอย่างเครื่องมือของท่านอาจติด MOV (Metal Oxide Varistor) เพื่อป้องกันแรงดัน เสริ์จ (surge) ที่เป็นผลมาจากฟ้าผ่า ให้ทนและรักษาเครื่องมือให้ทำงานได้ ไม่เจ็บไม่ไข้ไปเสียก่อน
ปัจจัยที่สามก็คือ หากมี EMI มาตามสายตัวนำแล้วละก้อ เอาหลวงพ่อ filter มาเป็นยา กรองให้เฉพาะสัญญาณที่สะอาดแล้วเท่านั้นผ่านไปสู่เครื่องมือของท่านได้ แต่หากว่าเจ้า EMI นี้แผ่คลื่นไปทางอากาศจะทำอย่างไร ก็เอาหลวงพ่อกำบังคลื่นมาเป็นยันต์กันสิ่งชั่วร้ายผ่านไปสิท่าน นั่นคือต้องออกแบบระบบ shieding ซึ่งมีเทคโนโลยีการดูดกลืน และสะท้อนพลังงานแล้วแต่จะออกแบบ อ่านดูเข้าใจยากมั้ยท่าน

ต้องดูรูปนี้ประกอบไปด้วย
ผมนึกออกแล้ว ผมจะเสนอมุมมองของ EMC technology ที่สัมพันธ์กับโอวาทปาติโมกข์ เพราะหลักการควบคุม EMC ช่างสอดคล้องและสัมพันธ์กันเสียนี่กระไร ก่อนอื่นถามว่าใครไม่รู้จักโอวาทปาติโมกข์ โปรดยกมือขึ้น (เอ้า ลือชา เห็นว่าเข้าวัดบ่อยไง ไฉนจึงยกมืออยู่เล่า) แหมผมว่าแท้ที่จริงแล้วทุกท่านรู้ดี เพียงแต่นึกไม่ออกเท่านั้นเอง จริงไม๊ท่าน หัวใจของโอวาทปาติโมกข์คือ ละชั่ว ทำความดี ทำใจให้ผองแผ้ว (จริงๆ มีอยู่หลายข้อ แต่สรุปเป็นสามหมวดนะท่าน) ท่านลองเปรียบเทียบตารางนี้ดูซิท่าน
ว้าว… ดูเหมือนจะเข้ากันได้เหมาะเจาะอะไรขนาดนี้ ต่อไปนี้ท่านคงจะได้เห็นแนวทางธรรมกับทางวิศวกรรมแล้วว่าไปด้วยกันได้ผมอยากจะขมวดประเด็นการควบคุมด้าน EMC ด้วยรูปๆ หนึ่ง เชื่อว่าจะช่วยละความแตกต่างกันระหว่างเถ้าแก่กับวิศวกรได้ (ท่านวิรัตน์ รุ่น 17 ตะโกนว่า จะไปยากอะไร ก็เป็นลูกเขยเถ้าแก่ก็หมดเรื่อง ยอด…สุดยอดเลยท่าน) ลองดูรูปต่อไปนี้นะท่าน
ส่วนสำคัญของรูปนี้ประกอบไปด้วยสองส่วนที่น่าสนใจคือขีดจำกัดที่สัญญาณรบกวนที่ปล่อยออกมา (emission limit) ทั้งมาตามสายและแผ่มาทางอากาศ คือเป็นตัวที่กำหนดว่าระดับ EMI ต้องออกแบบมาให้ต่ำกว่าแนวเส้นนี้เสมอ คือเป็นข้อกำหนดว่าใครจะสร้าง EMI ขึ้นมาก็ยอมให้เกิดขึ้นได้แต่ต้องไมให้เกินขีดนี้นะ เหมือนขีดจำกัดไอเสียรถยนต์นั่นแหละท่าน จุดนี้เถ้าแก่มักจะกำหนดให้ emission level ที่จะปล่อยออกมาปริ่มๆ หรือใกล้ๆ กับ emission limit ยิ่งใกล้หมายถึงค่าใช้จ่ายที่ถูก ในขณะที่วิศวกรคุณภาพอย่างท่านพี่ท่านน้องทั้งหลายบอกว่า emission level ควรจะต้องต่ำกว่า emission limit มากๆ จะทำให้ผลเสียน้อย ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมีน้อย แต่อาจต้องจ่ายแพงขึ้น trade off อย่างนี้เลย จำต้องมีเวทีที่เถ้าแก่ และวิศวกรต้องคุยกัน ก่อนออกแบบ หรือวางแผนการผลิต
ด้านขีดจำกัดภูมิคุ้มกัน lmmunity limit ก็เช่นกัน ปกติเครื่องมือที่ได้มาตรฐานมักจะมีเจ้า lmmunity limit เพื่อรับรองว่าจะไม่เดี้ยงก่อนเวลาอันควร เมื่อมี EMI ไม่พึงประสงค์เข้ามา เถ้าแก่ก็มักจะมีนโยบายประหยัด จึงเลือกให้เจ้า MOV ที่มีค่า lmmunity level สูงกว่า lmmunity limit เล็กน้อย เมื่อเวลาผ่านไปสักสองฤดูฝน ค่าlmmunity level อาจเปลี่ยนไป เช่นลดต่ำกว่า lmmunity limit ก็เป็นได้ ทำให้อาจเกิดความเสียหายหรือไม่น่าเชื่อถือขึ้น มวลเหล่าวิศวกรทั้งหลายพึงหลีกเลี่ยงปัญหานี้ (กลัวถูกด่ามากกว่า) ก็โดยการเลือกให้ระดับภูมิคุ้มกันมีค่าสูง (high Immunity level) แต่ต้องจ่ายมากขึ้น
สรุปได้ว่าเรา หัวใจของ EMC technjology กับหัวใจของโอวาทปาติโมกข์นั้นเข้ากันได้ (Compatibility) นะท่าน ส่วนในบทความตอนต่อไปอันเป็นที่สามจะเป็นเรื่องมาตรฐานและข้อกำหนดด้าน EMC ระหว่างประเทศ และของไทย รวมถึงการศึกษาวิจัยและบริการด้านการทดสอบ EMC ในประเทศไทย ลองกัดฟันติดตามดูนะท่าน
วันที่บทความ : 07 เม.ย. 2544 ที่มา : ผศ.ดร. วีระเชษฐ์ ขันเงิน
เครดิต: www.kmitl.com/article.php?articlecat=3&articleid=10

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...
Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More