9 ก.ย. 2553
3 ก.ย. 2553
การเลือกระบบกล้องวงจรปิด
1. ตัวกล้อง (Camera) และ อุปกรณ์ประกอบ(Housing,Adapter)
- มีเยอะมากในท้องตลาด จะเลือกอันไหนดี
2. เครื่องบันทึกภาพ (DVR)
- เยอะแยะไปหมดใช้งานยังไง
3. สายสัญญาณ (Cable)
- การติดตั้งระยะใกล้ หรือ ไกล
4. การติดตั้ง มาตรฐานการติดตั้ง (Install – Configuration)
- เดินท่อร้อยสาย เดินลอย
5. ราคา (Price)
- ราคาถูก
- ราคาปานกลาง
- ราคาแพง
6. การบริการหลังการขาย (Service)
- มี
- ไม่มี
ในบทความถัดไปผมจะมาเจาะรายละเอียดแต่ละหัวข้อให้ฟัง
การทดสอบตั้งค่ากล้อง IP Cam
2 ก.ย. 2553
EMC คืออะไรใครรู้บ้าง 2
EMC หัวข้อที่วิศวกร(ทุกสาขา)พึงต้องรู้ (ตอนที่ 2)
เสียงสะท้อนจากพี่ๆ น้องๆ บอกว่าอย่าเขียนในเรื่องที่หนักไป ให้เบาๆ เหมือนปุยนุ่นหน่อย ครับต้องขอบคุณเป็นอย่างยิ่งสำหรับการแสดงข้อคิดเห็น อย่างน้อยแสดงว่ามีคนอ่านบ้าง จริงไหมท่าน ฉะนั้นฉบับนี้คงไม่เครียดนะท่าน
เราจะมาว่าต่อในบทความตอนที่สอง คือเรื่องการออกแบบและแนวทางการป้องกัน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาด้าน EMC ต่อสิ่งแวดล้อมและกรณีศึกษาผลกระทบด้าน EMC ประเด็นนี้หากจะว่าไปก็เช่นคำภาษิตที่ว่า คิดก่อนทำ นั่นแหละท่าน ฉะนั้นหากจะบอกว่าในกระบวนการออกแบบเจ้าเครื่องมือ หรือระบบทางไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีคาถาอย่างน้อยสองข้อว่า Safety และก็ EMCTechnology อยู่ด้วยเสมอ ที่ต้องเป็นเช่นนี้เพราะหลายๆ กฎระเบียบด้าน EMC ในปัจจุบัน เริ่มถือเป็นข้อบังคับใช้แล้ว จะมาอย่างแบบ ส.ว.ว่าผมม่ายรู้ ม่ายได้นะท่าน แล้วอะไรละคือ EMC Technology
ในตอนที่แล้ว เกล้ากระผมได้บอกว่า EMC ประกอบด้วยส่วนสำคัญอยู่สามส่วน คือส่วนแรกแหล่งกำเนิดสัญญาณรบกวน (EMIsource) ส่วนที่สองคือส่วนที่ได้รับผลกระทบผลของ EMI หรือบางครั้งอาจเรียกว่าแหล่งรับสัญญาณรบกวน (receptor) และส่วนที่สามคือการเชื่อมต่อระหว่างสองส่วนแรก (coupling) ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น ส่วนเชื่อมต่อแบบ conduction อันนี้จะเป็นอะไรก็ได้ที่ใช้ตัวนำเป็นสื่อ เช่น ระบบสายเมน สายดิน สายควบคุม หรือสายผ่านโมเด็ม ได้ทั้งสิ้น ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งคือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะแผ่กระจายผ่านตัวกลางทางอากาศ เรียกว่าเป็นการเชื่อมต่อแบบ radiation เจ้า EMC Technology ก็คือ อย่างที่หนึ่ง ลดระดับ Noise ที่ต้นเหตุ อย่างที่สอง เพิ่มภูมิคุ้มกันที่ receptor และอย่างที่สามอย่างสุดท้าย คือการทำให้สัญญาณที่ต้องการใช้เชื่อมต่อ สะอาดปราศจากสัญญาณรบกวนที่ไม่ต้องการ หรือป้องกันไม่ให้สัญญาณที่ไม่พึงประสงค์ผ่านเข้ามาได้
วิธีการที่จะลดระดับ Noise ก็ด้วยวิธีเช่น ลดขนาดสัญญาณลงลดความถี่ลง รวมถึงการออกแบบให้ rising time และ falling timeมากขึ้น อย่างนี้พระท่านว่าจะทำใหักิเลสน้อยลง หรือ สัญญาIรบกวน (EMI) น้อยลง
วิธีการข้อที่สองก็คือออกแบบให้ระบบมีภูมิคุ้มกันให้มากขึ้นหรือต้องฉีดยาป้องกันได้ให้มีภูมิคุ้มกันพอจะทนฟ้าทนฝนได้นั่นแหละท่าน ยกตัวอย่างเครื่องมือของท่านอาจติด MOV (Metal Oxide Varistor) เพื่อป้องกันแรงดัน เสริ์จ (surge) ที่เป็นผลมาจากฟ้าผ่า ให้ทนและรักษาเครื่องมือให้ทำงานได้ ไม่เจ็บไม่ไข้ไปเสียก่อน
ปัจจัยที่สามก็คือ หากมี EMI มาตามสายตัวนำแล้วละก้อ เอาหลวงพ่อ filter มาเป็นยา กรองให้เฉพาะสัญญาณที่สะอาดแล้วเท่านั้นผ่านไปสู่เครื่องมือของท่านได้ แต่หากว่าเจ้า EMI นี้แผ่คลื่นไปทางอากาศจะทำอย่างไร ก็เอาหลวงพ่อกำบังคลื่นมาเป็นยันต์กันสิ่งชั่วร้ายผ่านไปสิท่าน นั่นคือต้องออกแบบระบบ shieding ซึ่งมีเทคโนโลยีการดูดกลืน และสะท้อนพลังงานแล้วแต่จะออกแบบ อ่านดูเข้าใจยากมั้ยท่าน
ต้องดูรูปนี้ประกอบไปด้วย
ผมนึกออกแล้ว ผมจะเสนอมุมมองของ EMC technology ที่สัมพันธ์กับโอวาทปาติโมกข์ เพราะหลักการควบคุม EMC ช่างสอดคล้องและสัมพันธ์กันเสียนี่กระไร ก่อนอื่นถามว่าใครไม่รู้จักโอวาทปาติโมกข์ โปรดยกมือขึ้น (เอ้า ลือชา เห็นว่าเข้าวัดบ่อยไง ไฉนจึงยกมืออยู่เล่า) แหมผมว่าแท้ที่จริงแล้วทุกท่านรู้ดี เพียงแต่นึกไม่ออกเท่านั้นเอง จริงไม๊ท่าน หัวใจของโอวาทปาติโมกข์คือ ละชั่ว ทำความดี ทำใจให้ผองแผ้ว (จริงๆ มีอยู่หลายข้อ แต่สรุปเป็นสามหมวดนะท่าน) ท่านลองเปรียบเทียบตารางนี้ดูซิท่าน
ว้าว… ดูเหมือนจะเข้ากันได้เหมาะเจาะอะไรขนาดนี้ ต่อไปนี้ท่านคงจะได้เห็นแนวทางธรรมกับทางวิศวกรรมแล้วว่าไปด้วยกันได้ผมอยากจะขมวดประเด็นการควบคุมด้าน EMC ด้วยรูปๆ หนึ่ง เชื่อว่าจะช่วยละความแตกต่างกันระหว่างเถ้าแก่กับวิศวกรได้ (ท่านวิรัตน์ รุ่น 17 ตะโกนว่า จะไปยากอะไร ก็เป็นลูกเขยเถ้าแก่ก็หมดเรื่อง ยอด…สุดยอดเลยท่าน) ลองดูรูปต่อไปนี้นะท่าน
ส่วนสำคัญของรูปนี้ประกอบไปด้วยสองส่วนที่น่าสนใจคือขีดจำกัดที่สัญญาณรบกวนที่ปล่อยออกมา (emission limit) ทั้งมาตามสายและแผ่มาทางอากาศ คือเป็นตัวที่กำหนดว่าระดับ EMI ต้องออกแบบมาให้ต่ำกว่าแนวเส้นนี้เสมอ คือเป็นข้อกำหนดว่าใครจะสร้าง EMI ขึ้นมาก็ยอมให้เกิดขึ้นได้แต่ต้องไมให้เกินขีดนี้นะ เหมือนขีดจำกัดไอเสียรถยนต์นั่นแหละท่าน จุดนี้เถ้าแก่มักจะกำหนดให้ emission level ที่จะปล่อยออกมาปริ่มๆ หรือใกล้ๆ กับ emission limit ยิ่งใกล้หมายถึงค่าใช้จ่ายที่ถูก ในขณะที่วิศวกรคุณภาพอย่างท่านพี่ท่านน้องทั้งหลายบอกว่า emission level ควรจะต้องต่ำกว่า emission limit มากๆ จะทำให้ผลเสียน้อย ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมีน้อย แต่อาจต้องจ่ายแพงขึ้น trade off อย่างนี้เลย จำต้องมีเวทีที่เถ้าแก่ และวิศวกรต้องคุยกัน ก่อนออกแบบ หรือวางแผนการผลิต
ด้านขีดจำกัดภูมิคุ้มกัน lmmunity limit ก็เช่นกัน ปกติเครื่องมือที่ได้มาตรฐานมักจะมีเจ้า lmmunity limit เพื่อรับรองว่าจะไม่เดี้ยงก่อนเวลาอันควร เมื่อมี EMI ไม่พึงประสงค์เข้ามา เถ้าแก่ก็มักจะมีนโยบายประหยัด จึงเลือกให้เจ้า MOV ที่มีค่า lmmunity level สูงกว่า lmmunity limit เล็กน้อย เมื่อเวลาผ่านไปสักสองฤดูฝน ค่าlmmunity level อาจเปลี่ยนไป เช่นลดต่ำกว่า lmmunity limit ก็เป็นได้ ทำให้อาจเกิดความเสียหายหรือไม่น่าเชื่อถือขึ้น มวลเหล่าวิศวกรทั้งหลายพึงหลีกเลี่ยงปัญหานี้ (กลัวถูกด่ามากกว่า) ก็โดยการเลือกให้ระดับภูมิคุ้มกันมีค่าสูง (high Immunity level) แต่ต้องจ่ายมากขึ้น
สรุปได้ว่าเรา หัวใจของ EMC technjology กับหัวใจของโอวาทปาติโมกข์นั้นเข้ากันได้ (Compatibility) นะท่าน ส่วนในบทความตอนต่อไปอันเป็นที่สามจะเป็นเรื่องมาตรฐานและข้อกำหนดด้าน EMC ระหว่างประเทศ และของไทย รวมถึงการศึกษาวิจัยและบริการด้านการทดสอบ EMC ในประเทศไทย ลองกัดฟันติดตามดูนะท่าน
วันที่บทความ : 07 เม.ย. 2544 ที่มา : ผศ.ดร. วีระเชษฐ์ ขันเงิน
เครดิต: www.kmitl.com/article.php?articlecat=3&articleid=10
เสียงสะท้อนจากพี่ๆ น้องๆ บอกว่าอย่าเขียนในเรื่องที่หนักไป ให้เบาๆ เหมือนปุยนุ่นหน่อย ครับต้องขอบคุณเป็นอย่างยิ่งสำหรับการแสดงข้อคิดเห็น อย่างน้อยแสดงว่ามีคนอ่านบ้าง จริงไหมท่าน ฉะนั้นฉบับนี้คงไม่เครียดนะท่าน
เราจะมาว่าต่อในบทความตอนที่สอง คือเรื่องการออกแบบและแนวทางการป้องกัน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาด้าน EMC ต่อสิ่งแวดล้อมและกรณีศึกษาผลกระทบด้าน EMC ประเด็นนี้หากจะว่าไปก็เช่นคำภาษิตที่ว่า คิดก่อนทำ นั่นแหละท่าน ฉะนั้นหากจะบอกว่าในกระบวนการออกแบบเจ้าเครื่องมือ หรือระบบทางไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีคาถาอย่างน้อยสองข้อว่า Safety และก็ EMCTechnology อยู่ด้วยเสมอ ที่ต้องเป็นเช่นนี้เพราะหลายๆ กฎระเบียบด้าน EMC ในปัจจุบัน เริ่มถือเป็นข้อบังคับใช้แล้ว จะมาอย่างแบบ ส.ว.ว่าผมม่ายรู้ ม่ายได้นะท่าน แล้วอะไรละคือ EMC Technology
ในตอนที่แล้ว เกล้ากระผมได้บอกว่า EMC ประกอบด้วยส่วนสำคัญอยู่สามส่วน คือส่วนแรกแหล่งกำเนิดสัญญาณรบกวน (EMIsource) ส่วนที่สองคือส่วนที่ได้รับผลกระทบผลของ EMI หรือบางครั้งอาจเรียกว่าแหล่งรับสัญญาณรบกวน (receptor) และส่วนที่สามคือการเชื่อมต่อระหว่างสองส่วนแรก (coupling) ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น ส่วนเชื่อมต่อแบบ conduction อันนี้จะเป็นอะไรก็ได้ที่ใช้ตัวนำเป็นสื่อ เช่น ระบบสายเมน สายดิน สายควบคุม หรือสายผ่านโมเด็ม ได้ทั้งสิ้น ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งคือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะแผ่กระจายผ่านตัวกลางทางอากาศ เรียกว่าเป็นการเชื่อมต่อแบบ radiation เจ้า EMC Technology ก็คือ อย่างที่หนึ่ง ลดระดับ Noise ที่ต้นเหตุ อย่างที่สอง เพิ่มภูมิคุ้มกันที่ receptor และอย่างที่สามอย่างสุดท้าย คือการทำให้สัญญาณที่ต้องการใช้เชื่อมต่อ สะอาดปราศจากสัญญาณรบกวนที่ไม่ต้องการ หรือป้องกันไม่ให้สัญญาณที่ไม่พึงประสงค์ผ่านเข้ามาได้
วิธีการที่จะลดระดับ Noise ก็ด้วยวิธีเช่น ลดขนาดสัญญาณลงลดความถี่ลง รวมถึงการออกแบบให้ rising time และ falling timeมากขึ้น อย่างนี้พระท่านว่าจะทำใหักิเลสน้อยลง หรือ สัญญาIรบกวน (EMI) น้อยลง
วิธีการข้อที่สองก็คือออกแบบให้ระบบมีภูมิคุ้มกันให้มากขึ้นหรือต้องฉีดยาป้องกันได้ให้มีภูมิคุ้มกันพอจะทนฟ้าทนฝนได้นั่นแหละท่าน ยกตัวอย่างเครื่องมือของท่านอาจติด MOV (Metal Oxide Varistor) เพื่อป้องกันแรงดัน เสริ์จ (surge) ที่เป็นผลมาจากฟ้าผ่า ให้ทนและรักษาเครื่องมือให้ทำงานได้ ไม่เจ็บไม่ไข้ไปเสียก่อน
ปัจจัยที่สามก็คือ หากมี EMI มาตามสายตัวนำแล้วละก้อ เอาหลวงพ่อ filter มาเป็นยา กรองให้เฉพาะสัญญาณที่สะอาดแล้วเท่านั้นผ่านไปสู่เครื่องมือของท่านได้ แต่หากว่าเจ้า EMI นี้แผ่คลื่นไปทางอากาศจะทำอย่างไร ก็เอาหลวงพ่อกำบังคลื่นมาเป็นยันต์กันสิ่งชั่วร้ายผ่านไปสิท่าน นั่นคือต้องออกแบบระบบ shieding ซึ่งมีเทคโนโลยีการดูดกลืน และสะท้อนพลังงานแล้วแต่จะออกแบบ อ่านดูเข้าใจยากมั้ยท่าน
ต้องดูรูปนี้ประกอบไปด้วย
ผมนึกออกแล้ว ผมจะเสนอมุมมองของ EMC technology ที่สัมพันธ์กับโอวาทปาติโมกข์ เพราะหลักการควบคุม EMC ช่างสอดคล้องและสัมพันธ์กันเสียนี่กระไร ก่อนอื่นถามว่าใครไม่รู้จักโอวาทปาติโมกข์ โปรดยกมือขึ้น (เอ้า ลือชา เห็นว่าเข้าวัดบ่อยไง ไฉนจึงยกมืออยู่เล่า) แหมผมว่าแท้ที่จริงแล้วทุกท่านรู้ดี เพียงแต่นึกไม่ออกเท่านั้นเอง จริงไม๊ท่าน หัวใจของโอวาทปาติโมกข์คือ ละชั่ว ทำความดี ทำใจให้ผองแผ้ว (จริงๆ มีอยู่หลายข้อ แต่สรุปเป็นสามหมวดนะท่าน) ท่านลองเปรียบเทียบตารางนี้ดูซิท่าน
ว้าว… ดูเหมือนจะเข้ากันได้เหมาะเจาะอะไรขนาดนี้ ต่อไปนี้ท่านคงจะได้เห็นแนวทางธรรมกับทางวิศวกรรมแล้วว่าไปด้วยกันได้ผมอยากจะขมวดประเด็นการควบคุมด้าน EMC ด้วยรูปๆ หนึ่ง เชื่อว่าจะช่วยละความแตกต่างกันระหว่างเถ้าแก่กับวิศวกรได้ (ท่านวิรัตน์ รุ่น 17 ตะโกนว่า จะไปยากอะไร ก็เป็นลูกเขยเถ้าแก่ก็หมดเรื่อง ยอด…สุดยอดเลยท่าน) ลองดูรูปต่อไปนี้นะท่าน
ส่วนสำคัญของรูปนี้ประกอบไปด้วยสองส่วนที่น่าสนใจคือขีดจำกัดที่สัญญาณรบกวนที่ปล่อยออกมา (emission limit) ทั้งมาตามสายและแผ่มาทางอากาศ คือเป็นตัวที่กำหนดว่าระดับ EMI ต้องออกแบบมาให้ต่ำกว่าแนวเส้นนี้เสมอ คือเป็นข้อกำหนดว่าใครจะสร้าง EMI ขึ้นมาก็ยอมให้เกิดขึ้นได้แต่ต้องไมให้เกินขีดนี้นะ เหมือนขีดจำกัดไอเสียรถยนต์นั่นแหละท่าน จุดนี้เถ้าแก่มักจะกำหนดให้ emission level ที่จะปล่อยออกมาปริ่มๆ หรือใกล้ๆ กับ emission limit ยิ่งใกล้หมายถึงค่าใช้จ่ายที่ถูก ในขณะที่วิศวกรคุณภาพอย่างท่านพี่ท่านน้องทั้งหลายบอกว่า emission level ควรจะต้องต่ำกว่า emission limit มากๆ จะทำให้ผลเสียน้อย ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมีน้อย แต่อาจต้องจ่ายแพงขึ้น trade off อย่างนี้เลย จำต้องมีเวทีที่เถ้าแก่ และวิศวกรต้องคุยกัน ก่อนออกแบบ หรือวางแผนการผลิต
ด้านขีดจำกัดภูมิคุ้มกัน lmmunity limit ก็เช่นกัน ปกติเครื่องมือที่ได้มาตรฐานมักจะมีเจ้า lmmunity limit เพื่อรับรองว่าจะไม่เดี้ยงก่อนเวลาอันควร เมื่อมี EMI ไม่พึงประสงค์เข้ามา เถ้าแก่ก็มักจะมีนโยบายประหยัด จึงเลือกให้เจ้า MOV ที่มีค่า lmmunity level สูงกว่า lmmunity limit เล็กน้อย เมื่อเวลาผ่านไปสักสองฤดูฝน ค่าlmmunity level อาจเปลี่ยนไป เช่นลดต่ำกว่า lmmunity limit ก็เป็นได้ ทำให้อาจเกิดความเสียหายหรือไม่น่าเชื่อถือขึ้น มวลเหล่าวิศวกรทั้งหลายพึงหลีกเลี่ยงปัญหานี้ (กลัวถูกด่ามากกว่า) ก็โดยการเลือกให้ระดับภูมิคุ้มกันมีค่าสูง (high Immunity level) แต่ต้องจ่ายมากขึ้น
สรุปได้ว่าเรา หัวใจของ EMC technjology กับหัวใจของโอวาทปาติโมกข์นั้นเข้ากันได้ (Compatibility) นะท่าน ส่วนในบทความตอนต่อไปอันเป็นที่สามจะเป็นเรื่องมาตรฐานและข้อกำหนดด้าน EMC ระหว่างประเทศ และของไทย รวมถึงการศึกษาวิจัยและบริการด้านการทดสอบ EMC ในประเทศไทย ลองกัดฟันติดตามดูนะท่าน
วันที่บทความ : 07 เม.ย. 2544 ที่มา : ผศ.ดร. วีระเชษฐ์ ขันเงิน
เครดิต: www.kmitl.com/article.php?articlecat=3&articleid=10
EMC คืออะไรใครรู้บ้าง 1
EMC หัวข้อที่วิศวกร (ทุกสาขา) พึงต้องรู้ (ต่อ) EMC Tips สำหรับการออกแบบเพื่อแก้ปัญหา EMI
ท่านครับ ผมจะปิดท้ายในบทความชุดนี้ ในตอนนี้อันเป็นตอนที่สี่ (ตอนจบ) จะเป็นแนวทางให้ผู้ผลิตของไทยหาเส้นทางพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยเน้นถึง EMC tips ในการศึกษาเป้าหมายการตลาด เพื่อมุ่งเข้าสู่มาตรฐาน EMC ระหว่างประเทศร่วมกับมาตรฐานอื่นที่สอดคล้อง เพื่อการส่งออกและยกระดับมาตรฐานสินค้าของไทยสู่สากลให้ได้
การแก้ปัญหาการออกแบบด้าน EMC สำหรับผู้ผลิต
ในบทนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้การออกแบบและเสริมเทคนิคแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ EMC จะได้แก้ปัญหาได้ถูกต้องและเร็วขึ้น
แนวทางการแก้ปัญหาด้าน EMC
* แหล่งรบกวน ต้องหาทางไม่ส่งสัญญาณรบกวนเกินขีดจำกัด
* แหล่งรับสัญญาณ มีระบบป้องกันหรือลดทอนสัญญาณ
* ทางเชื่อมต่อ Containment โดยการชีลด์และกรองสัญญาณรบกวนที่ดี
ตัวอย่างหลักเกณฑ์การลดผลของ EMI เช่น
1. ใช้สายสั้นที่สุด เพื่อลดผลของค่าความเหนี่ยวนำให้ต่ำที่สุด การที่เราลดค่าความเหนี่ยวนำนี้ ช่วยลดผลการเกิดสัญญาณรบกวนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระแสต่อเวลา ตามกฎของฟาราเดย์อย่างไรล่ะท่าน
2. ตีเกลียวสาย เพื่อให้กระแสมีทิศทางตรงข้ามกันอย่างสม่ำเสมอและยังจะลดผลของสนามแม่เหล็กลงด้วย ข้อสำคัญพยายามทำให้พื้นที่กระแสไหลนั้น (loop area) ต้องมีขนาดเล็กที่สุด นี่คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้วงจรการทำงานของท่านสร้างปัญหาให้กับชาวประชาเขา แถมยังได้รับสัญญาณจากชาวบ้านเขาได้แบบง่ายๆ อีกท่าน
3. การเลือกค่าอุปกรณ์ต่างๆ ก็ต้องคัดพิเศษหน่อยท่าน เป็นต้นว่าหากจะเลือกตัวคาปาซิเตอร์ (capacitor) ก็ต้องเลือกค่าต้องมีค่า equivalent series resistance (ESR) ต่ำที่สุด การคำนึงย่านความถี่ที่ใช้งานก็เป็นประเด็นที่สำคัญ เช่น หากจะใช้งานในย่านความถี่สูงๆ อย่าลืมนึกถึงตัว C ประเภท Polystyrene หรือพวกเซรามิกส์ค่าสูญเสียน้อย พวกอุปกรณ์เหล่านี้ต้องคำนึงถึงค่า parasitic ที่มีแฝงอยู่ในตัวอุปกรณ์นั้นๆ อยู่แล้ว ยิ่งประเภทที่มีค่า self resonant frequency (SRF) สูงเท่าใด (ผลของ
parasitic น้อย) ก็เหมือนกับว่าได้อุปกรณ์ที่ทำงานใกล้อุดมคติมากขึ้นเท่านั้น
4. ลด common impedance เพื่อลดสัญญาณรบกวนที่เกิดจากแหล่งจ่าย เช่นระบบจ่ายไฟฟ้าของวงจรดิจิตอล และอนาลอก ควรแยกออกจากกัน ไม่อย่างนั้นเจ้าสัญญาณรบกวนก็อาจจะเชื่อมต่อถึงกันได้ สิ่งที่คนอ้วนเข็มขัดสั้น (สิ่งที่คาดไม่ถึง) ก็อาจโผล่มาเยี่ยมท่านอย่างไม่ตั้งใจ
5. แยกสายสัญญาณให้ห่างจากสายกำลัง มีวิศวกรบางท่านโทรมาถามกระผมว่าวงจรควบคุมทำงานสามวันดีสี่วันไข้ เป็นเพราะอะไร หลังจากเสวนาไปหลายพัก ก็เจอว่าท่านได้เดินสายควบคุมอยู่ในท่อเดียวกันกับสายกำลัง ก็อาจจะสันนิษฐานได้ว่ามีการรบกวนอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระแสทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้นมารบกวน และหากสายสัญญาณของวงจรควบคุมไม่มีการชีลด์อย่างดี ก็ย่อมทำให้ได้รับผลของสนามแม่เหล็ก อาจเป็นเหตุให้เกิดอาการป่วยเป็นระยะอย่างที่ว่า ดังนั้นไม่ควรเดินสายกำลังอยู่ในท่อเดียวกันกับสายสัญญาณที่มีความอ่อนไหวของสัญญาณ เช่น สายสัญญาณควบคุม เป็นต้น
รูดม่าน EMC
หลังจากที่ท่านได้อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับ EMC มาสี่ฉากแล้ว โดยในฉากที่หนึ่งผมได้กล่าวถึงความหมายของ EMC พร้อมทั้งปรากฏการณ์และสาเหตุ รวมถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น ในฉากที่สองผมได้เสนอการออกแบบและแนวทางการป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาด้าน EMC ต่อสิ่งแวดล้อมและกรณีศึกษาผลกระทบด้าน EMC เช่นจากวงจรอีเล็กทรอนิกส์กำลัง ส่วนในฉากที่สาม ผมได้ยกเอาเรื่องมาตรฐานและข้อกำหนดด้าน EMC ระหว่างประเทศ และของไทยมาเป็นจุดนำเสนอโดยเอาผลการศึกษา วิจัยและบริการด้านการทดสอบ EMC ในประเทศไทยด้วย และปิดท้ายในฉากที่สี่ด้วยการยกตัวอย่าง EMC design tips มาเป็นกรณีศึกษาเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ผลิตของไทยหาเส้นทางพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่มาตรฐาน EMC ระหว่างประเทศ ร่วมกับมาตรฐานอื่นที่สอดคล้อง เพื่อการส่งออกและยกระดับมาตรฐานสินค้าของไทยสู่สากลตามที่ผมได้ตั้งปณิธานไว้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านตามสมควรครับท่าน
วันที่บทความ : 01 ต.ค. 2544 ที่มา : ร.อ. ผศ. ดร. วีระเชษฐ์ ขันเงิน
เครดิต : www.kmitl.com/article.php?articlecat=3&articleid=12
ท่านครับ ผมจะปิดท้ายในบทความชุดนี้ ในตอนนี้อันเป็นตอนที่สี่ (ตอนจบ) จะเป็นแนวทางให้ผู้ผลิตของไทยหาเส้นทางพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยเน้นถึง EMC tips ในการศึกษาเป้าหมายการตลาด เพื่อมุ่งเข้าสู่มาตรฐาน EMC ระหว่างประเทศร่วมกับมาตรฐานอื่นที่สอดคล้อง เพื่อการส่งออกและยกระดับมาตรฐานสินค้าของไทยสู่สากลให้ได้
การแก้ปัญหาการออกแบบด้าน EMC สำหรับผู้ผลิต
ในบทนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้การออกแบบและเสริมเทคนิคแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ EMC จะได้แก้ปัญหาได้ถูกต้องและเร็วขึ้น
แนวทางการแก้ปัญหาด้าน EMC
* แหล่งรบกวน ต้องหาทางไม่ส่งสัญญาณรบกวนเกินขีดจำกัด
* แหล่งรับสัญญาณ มีระบบป้องกันหรือลดทอนสัญญาณ
* ทางเชื่อมต่อ Containment โดยการชีลด์และกรองสัญญาณรบกวนที่ดี
ตัวอย่างหลักเกณฑ์การลดผลของ EMI เช่น
1. ใช้สายสั้นที่สุด เพื่อลดผลของค่าความเหนี่ยวนำให้ต่ำที่สุด การที่เราลดค่าความเหนี่ยวนำนี้ ช่วยลดผลการเกิดสัญญาณรบกวนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระแสต่อเวลา ตามกฎของฟาราเดย์อย่างไรล่ะท่าน
2. ตีเกลียวสาย เพื่อให้กระแสมีทิศทางตรงข้ามกันอย่างสม่ำเสมอและยังจะลดผลของสนามแม่เหล็กลงด้วย ข้อสำคัญพยายามทำให้พื้นที่กระแสไหลนั้น (loop area) ต้องมีขนาดเล็กที่สุด นี่คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้วงจรการทำงานของท่านสร้างปัญหาให้กับชาวประชาเขา แถมยังได้รับสัญญาณจากชาวบ้านเขาได้แบบง่ายๆ อีกท่าน
3. การเลือกค่าอุปกรณ์ต่างๆ ก็ต้องคัดพิเศษหน่อยท่าน เป็นต้นว่าหากจะเลือกตัวคาปาซิเตอร์ (capacitor) ก็ต้องเลือกค่าต้องมีค่า equivalent series resistance (ESR) ต่ำที่สุด การคำนึงย่านความถี่ที่ใช้งานก็เป็นประเด็นที่สำคัญ เช่น หากจะใช้งานในย่านความถี่สูงๆ อย่าลืมนึกถึงตัว C ประเภท Polystyrene หรือพวกเซรามิกส์ค่าสูญเสียน้อย พวกอุปกรณ์เหล่านี้ต้องคำนึงถึงค่า parasitic ที่มีแฝงอยู่ในตัวอุปกรณ์นั้นๆ อยู่แล้ว ยิ่งประเภทที่มีค่า self resonant frequency (SRF) สูงเท่าใด (ผลของ
parasitic น้อย) ก็เหมือนกับว่าได้อุปกรณ์ที่ทำงานใกล้อุดมคติมากขึ้นเท่านั้น
4. ลด common impedance เพื่อลดสัญญาณรบกวนที่เกิดจากแหล่งจ่าย เช่นระบบจ่ายไฟฟ้าของวงจรดิจิตอล และอนาลอก ควรแยกออกจากกัน ไม่อย่างนั้นเจ้าสัญญาณรบกวนก็อาจจะเชื่อมต่อถึงกันได้ สิ่งที่คนอ้วนเข็มขัดสั้น (สิ่งที่คาดไม่ถึง) ก็อาจโผล่มาเยี่ยมท่านอย่างไม่ตั้งใจ
5. แยกสายสัญญาณให้ห่างจากสายกำลัง มีวิศวกรบางท่านโทรมาถามกระผมว่าวงจรควบคุมทำงานสามวันดีสี่วันไข้ เป็นเพราะอะไร หลังจากเสวนาไปหลายพัก ก็เจอว่าท่านได้เดินสายควบคุมอยู่ในท่อเดียวกันกับสายกำลัง ก็อาจจะสันนิษฐานได้ว่ามีการรบกวนอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระแสทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้นมารบกวน และหากสายสัญญาณของวงจรควบคุมไม่มีการชีลด์อย่างดี ก็ย่อมทำให้ได้รับผลของสนามแม่เหล็ก อาจเป็นเหตุให้เกิดอาการป่วยเป็นระยะอย่างที่ว่า ดังนั้นไม่ควรเดินสายกำลังอยู่ในท่อเดียวกันกับสายสัญญาณที่มีความอ่อนไหวของสัญญาณ เช่น สายสัญญาณควบคุม เป็นต้น
รูดม่าน EMC
หลังจากที่ท่านได้อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับ EMC มาสี่ฉากแล้ว โดยในฉากที่หนึ่งผมได้กล่าวถึงความหมายของ EMC พร้อมทั้งปรากฏการณ์และสาเหตุ รวมถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น ในฉากที่สองผมได้เสนอการออกแบบและแนวทางการป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาด้าน EMC ต่อสิ่งแวดล้อมและกรณีศึกษาผลกระทบด้าน EMC เช่นจากวงจรอีเล็กทรอนิกส์กำลัง ส่วนในฉากที่สาม ผมได้ยกเอาเรื่องมาตรฐานและข้อกำหนดด้าน EMC ระหว่างประเทศ และของไทยมาเป็นจุดนำเสนอโดยเอาผลการศึกษา วิจัยและบริการด้านการทดสอบ EMC ในประเทศไทยด้วย และปิดท้ายในฉากที่สี่ด้วยการยกตัวอย่าง EMC design tips มาเป็นกรณีศึกษาเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ผลิตของไทยหาเส้นทางพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่มาตรฐาน EMC ระหว่างประเทศ ร่วมกับมาตรฐานอื่นที่สอดคล้อง เพื่อการส่งออกและยกระดับมาตรฐานสินค้าของไทยสู่สากลตามที่ผมได้ตั้งปณิธานไว้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านตามสมควรครับท่าน
วันที่บทความ : 01 ต.ค. 2544 ที่มา : ร.อ. ผศ. ดร. วีระเชษฐ์ ขันเงิน
เครดิต : www.kmitl.com/article.php?articlecat=3&articleid=12
EMC คืออะไรใครรู้บ้าง
EMC หัวข้อที่วิศวกร (ทุกสาขา) พึงต้องรู้ เมื่อเถ้าแก่คิดจะส่งออก (ตอนที่ 3)
จากสองตอนที่แล้วเป็นการกล่าวถึงว่า EMC คืออะไร สำคัญอย่างไร มีการเปรียบเทียบหัวใจของ EMC technology กับหัวใจของโอวาทปาติโมกข์ว่าเข้ากันได้อย่าไร ส่วนในบทความตอนนี้อันเป็นตอนที่สามจะเป็นเรื่องที่ช่วยให้เจ้าของกิจการหรือระดับเถ้าแก่เพิ่มขีดความสามารถในการส่งออก มาลองดูซิว่าหากเถ้าแก่และ SME ทั้งหลายจะฮึดขึ้นมาบ้าง พี่ไทยเราอาจจะโกยเงินดอลล่าร์เงินปอนด์ เงินเยนขนใส่ตู้คอนเทนเนอร์มาตั้งไว้ดูเล่นก็เป็นได้ งั้นเรามาดูกันว่าจะเริ่มจังได๋ และจะทำอย่างไร
สูตรสำเร็จที่ซุนหวู่ปรมาจารย์จีนว่าไว้ “รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” (และมีอีกหนึ่งข้อที่คนไม่ค่อยกล่าวถึงคือรู้ว่าสู้ไม่ได้แน่อย่าดันทุรังให้ถอยหนี) ซึ่งใช้ได้นมนานมาแล้วจวบจนปัจจุบันหากเถ้าแก่จะประยุกต์คำคมของซุนหวูก็คงต้องเดินกลยุทธดังนี้
ค่ายกลที่ 1
สูเจ้าจะต้องศึกษาตลาดว่า ตลอดบอกประเทศอยู่ที่ใดบ้าง มีกฎ กติกา มารยาทอย่างไร
เช่นจะส่ง power supply ไปขายในอังกฤษ มีกติกาอย่างไร เรื่องนี้ความจริงเป็นเรื่องที่ใหญ่เกี่ยวข้องกับหลายเรื่อง ว่าตั้งแต่เรื่องด้านความปลอดภัย ด้าน EMC ด้าน Low voltage มาตรฐาน ISO 14000, 18000 รวมถึงการกำหนดให้มีมาตรการการจัดขยะผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ การห้ามใช้ตะกั่วในการบัดกรี เป็นต้น และอื่นๆ อีกมากมายว่า ขอเน้นนะครับว่าในแทบทุกประเทศ หรือภูมิภาคจะมีมาตรฐาน EMC เป็นยาขมหรือจะเรียกว่ามาตรการกีดกันทางการค้าด้านเทคโนโลยีขั้นจุกจิก คือมีหลากหลายพอสมควร สรุปว่าต้องรู้ว่า กลุ่มลูกค้า ว่าคือใคร มาจากประเทศใด มีข้อบังคับในด้าน EMC ที่ต้องการหรือไม่ ต้องการผลิตภัณฑ์ที่ต้องการเงื่อนไขพิเศษในด้าน EMC หรือไม่
ค่ายกลที่ 2
สูเจ้าจะต้องนำมาตรฐาน EMC มาเป็นปัจจัยในการวางแผนงาน การออกแบบ การพัฒนา การทดสอบ การผลิต และการตรวจรับรองความถูกต้องด้วย
ต้องคิดอย่างนี้ว่า จะหาข้อมูลด้าน EMC ได้จากที่ใดและหาความต้องการสำหรับผลิตภัณฑ์ ในด้าน EMC อย่างไร เพื่อพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ ในด้าน EMC และจะเตรียมเครื่องมือและห้องทดสอบเบื้องต้นอย่างไร หน่วยงานด้านอุตสาหกรรมจะมีข้อมูลมาตรฐานด้าน EMC ที่ต้องการจากเช่น European computer Manufacturers Association เป็นต้น
ค่ายกลที่ 3
สูเจ้าจะต้องนำผลิตภัณฑ์มาทำการทดสอบด้าน EMC
การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์จะสำเร็จได้ก็ด้วยการทำทดสอบตามมาตรฐาน หรือโดยการส่งผลการทดสอบ (technical consturction file, TCF) ไปยังหน่วยงานอื่นเพื่อทำการประเมินซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลามาก ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ขนาดของผลิตภัณฑ์ จำนวนและการติดตั้ง เป็นต้น
ดังนั้นจึงต้องเตรียมเครื่องมือและห้องทดสอบเบื้องต้นด้วยการทำทดสอบตามมาตรฐาน หรือโดยการส่งผลการทดสอบ (technical construction file, TCF) ไปยังหน่วยงานอื่นเพื่อทำการประเมินซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลามากขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ขนาดของผลิตภัณฑ์ จำนวนและการติดตั้ง เป็นต้น
การรับรองผลเอง (self certification) เป็นอีกแนวทางหนึ่งนอกเหนือจากวิธีการใช้ TCF นี้ ซึ่งการรับรองผลนี้ง่ายและสะดวกที่จะทำการทดสอบได้เองและรับรองผลเอง หากมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ในการใช้ห้องทดสอบเบื้องต้น (in-house facility) สำหรับทำการทดสอบ กล่าวคือมีความพร้อมด้านเครื่องมือและห้องทดสอบเหมาะสมกับมาตรฐานที่ต้องการ มีความพร้อมด้านบุคลากรมีความพร้อมด้าน QC ในการใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือและห้องทดสอบ มีปริมาณงานที่เหมาะสมกับห้องทดสอบเบื้องต้น
โดยห้องทดสอบเบื้องต้นนี้จะมีขีดความสามารถการทดสอบอยู่ 3 ระดับ เริ่มจากขั้นที่1 ที่มีหัวข้อทดสอบไม่มากนัก ในขั้นที่ 2 มีการทดสอบในที่โล่ง (open-area test site, OATS) และในขั้นที่ 3 สามารถยกระดับการทดสอบ และเตรียมสู่ระดับมาตรฐาน ขั้นสูง ต่อไป
ค่ายกลที่ 4
สูเจ้าจะต้องทำให้ผลิตภัณฑ์ของสูเจ้ามีเครื่องหมายรับรองอันเป็นกุญแจดอกหนึ่งสู่ทางสำเร็จของการขายผลิตภัณฑ์
หัวใจของการตลาดอย่างหนึ่งคือการสามารถวางจำหน่ายสินค้าได้ครอบคลุมพื้นที่ เครื่องหมายรับรองที่ผ่านการทดสอบและรับรองตามเงื่อนไขที่กำหนดก็คือกุฌแจดอกสำคัญดอกหนึ่งที่ช่วยไขประตูสู่ความสำเร็จ ในที่นี้จะกล่าวถึงเครื่องหมายรับรองที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบและรับรองด้าน EMC โดยมีขอบเขตให้ครอบคลุมตลาดที่สำคัญให้มากที่สุด จะต้องเข้าใจแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับ EMC directive ของผลิตภัณฑ์ โดยดูที่ขอบเขตตลาดเป็นหลัก เครื่องหมายหรือสลากจะเป็นประกาศรับรองว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นไปตามเงื่อนไขที่แต่ละเครื่องหมายระบุไว้นอกเหนือไปจากจะคุ้มครองผู้บริโภคแล้ว ยังจะทำให้ผู้ผลิตสามารถขยายขอบเขตตลาดออกไปได้อีกด้วย
เครื่องหมายรับรองในยุโรป
กุญแจสำคัญดอกหนึ่งของการตลาดในยุโรปคือการวางผลิตภัณฑ์ให้ได้ทั่วยุโรป เครื่องหมายรับรองของแต่ละประเทศมีขอบเขตเฉพาะประเทศ เช่น เครื่องหมายรับรอง VDE (German lnstitute of EIectricaI Engineers หรือ Verband Deutscher EIektrotecniker) หรือ TUV ของเยอรมันที่ติดอยู่บนตัวผลิตภัณฑ์ก็จะวางขายได้เฉพาะในเยอรมัน แต่ถ้ามีเครื่องหมายรับรอง CE Marking (Communaute Europeenne) ติดอยู่ด้วย ก็จะสามารถวางผลิตภัณฑ์ ให้ขายได้ทั่วยุโรป ตาม EMC regulations 1992 ที่ภายหลังคือ EMC directive 89/336/EEC ซึ่งมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2540 เป็นต้นมา เครื่องหมาย CE มีหน้าตาดังนี้โปรดสังเกตุของแท้จะมีขีดกลางตัว E จะสั้นกว่าขอบบนล่าง และส่วนโค้งตัว C กับ E จะยาวเกินครึ่งวงกลมมาหน่อยหนึ่ง เป็นอย่างอื่นนอกเหนือจากนี้ ถือว่าปลอมไม่แนบเนียนนะท่าน
ขั้นตอนการให้ได้มา CE Marking อย่างถูกต้อง ใครก็ได้ที่มันใจว่าผลิตภัณฑ์เจ๋งพอก็ปิดรับรองตัวเองได้เลยที่ถูกแล้วควรได้รับการทดสอบด้าน EMC และด้านอื่นที่เกี่ยวข้องด้วยจากหน่วยงานหรือห้องทดสอบที่ได้มาตรฐาน หากไม่ได้ทดสอบจริงแล้วติดฉลาก ได้ไม่เท่าเสียครับท่าน เพราะท่านจะได้รับเกียรติเป็นจำเลยที่ 1 ครับท่านหากเกิดปัญหาอะไรขึ้นมา (จริงคือแปะติดเองโรงงานนั่นแหละและเป็นการรับรองตนเอง ขอย้ำนะครับว่าCE เป็นฉลากหรือเครื่องหมาย ไม่ใช่มาตรฐาน )
- Conformity assessment
เพื่อจัดทดสอบตาม directive ที่เกี่ยวข้องมีสามเส้นทางคือ standard, TCF, EC Type examination
- Declaration of conformity
คือการประกาศ / แสดง รับรองว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นไปตามเงื่อนไขของ directive นั้น
- Marking
คือเครื่องหมายที่ใช้ติดบนผลิตภัณฑ์หรือตำแหน่ง อื่น ๆ
เครื่องหมายรับรองในอเมริกา
Federal Communication Commission หรือ FCC รับผิดชอบในขอบเขตที่ไม่ใช่ราชการ แต่ได้รับการยอมรับมากในด้านเครื่องมือทางสื่อสาร โดยได้แบ่งการปล่อยคลื่นรบกวนออกเป็น 5 กลุ่ม คือ
- Tvpe acceptance
ขึ้นอยู่กับข้อมูลทดสอบจากผู้ผลิตหรือผู้ได้รับอนุญาติ ซึ่ง FCC อาจเลือกมาทดสอบได้
- Type ApprovaI FCC
จะทดสอบเองตามข้อกำหนดของ FCC
- Certification
ขึ้นอยู่กับข้อมูลทดสอบจากเฉพาะผู้ผลิตซึ่ง FCC อาจเลือกมาทดสอบได้
- Verification
โดย FCC จะสุ่มตรวจเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ผลิตทำการทดสอบเองได้ตามต้องการ
- Notification
ในระดับนี้ FCC อาจไม่ต้องการข้อมูลละเอียด
นอกจากเครื่องหมาย FCC แล้วยังมีเครื่องหมายอื่นอีกมาก เช่น UL (Underwriters Laboratory) ซึ่งมีหน่วยงานของ UL ทดสอบและรับรองทั้งที่เป็นเครื่องมือหรือชิ้นส่วนอุปกรณ์
ข้อตกลงยอมรับร่วม (Mutual Recognition Agreement, MRA) การแตกต่างกันระดับแรงดันไฟฟ้าและความถี่รวมถึงสภาพภูมิประเทศทำให้ทั้งสองกลุ่มมีการทดสอบที่แตกต่างกัน ปัญหานี้ได้มีการพิจารณาร่วมกันหลายๆครั้งเพื่อจะลดปัญหานี้ให้หมดไป ข้อตกลงรับรองระหว่างกันจึงได้เกิดขึ้น
- ข้อตกลงยอมรับร่วมระหว่างอเมริกาและยุโรปซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของโลกได้ใช้เวลา 4 ปีต่อรองกันจนถึงปี พ ศ. 2539 ก็ได้ชัดเจนขึ้น มีวัตถุประสงค์ที่จะกำจัดข้อกีดกันทางการค้า โดยการที่ทั้งสองกลุ่มใหัการรับรองผลการทดสอบซึ่งกันและกัน
- สำหรับเรื่องข้อตกลงยอมรับร่วม พี่ไทยเราก็กำลังคิดทำครับท่าน
หมายเหตุข้อตกลงรับรองระหว่างกันทำนองนี้ ระหว่างคานาดากับยุโรปได้ทำมาก่อนแล้วโดยมีบางขอบเขตคล้ายๆกัน
ประเทศนกลุ่มทั้งสองจะได้ทดลองปฏิบัติตามข้อตกลงรับรองระหว่างกันช่วงเวลาทดลองนี้ The National lnstitute of Standards and Technology (NIST) จะพัฒนาให้ผู้รู้เรื่องของอเมริกา ประเมินว่าผลิตภัณฑ์และคุณภาพของระบบเข้ากันได้กับมาตรฐานของยุโรปให้ได้ เช่นหาทางให้ลูกค้าติดเครื่องหมาย CE Marking ให้ได้ สำหรับในยุโรปเองผู้รับรองแต่ละประเทศที่สมัครผ่าน Nationally Recognized Testing Laboratory, NRTL ก็จะทำเช่นกันเพื่อที่จะติดเครื่องหมายรับรองของอเมริกาได้ ผลที่เกิดขึ้นต่อการยอมรับผลิตภัณฑ์คือ สำหรับตลาดผู้บริโภคแต่ละประเทศอาจจะไม่มีผลมากนัก แต่สำหรับผู้ผลิตจะสามารถเลือกผู้ทดสอบและรับรองได้หลากหลาย
ปัจจุบันหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลการทดสอบของไทยเรา เริ่มจะถนัดและชำนาญ สะสมประสบการณ์มากขึ้นเรื่อยๆ ก่อนที่เถ้าแก่หรือวิศวกรทั้งหลายคิดจะส่งผลิตภัณฑ์ทดสอบที่ต่างประเทศลองติดต่อไปที่นี้ก่อนนะครับ
ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ PTEC ของ NECTEC อยู่ข้างสระว่ายน้ำพระเทพฯ บ้านเก่าเราที่ลาดกระบังไงท่าน โทร 02-739-2190-4 ( แน่ะทันสมัยเสียด้วย โทรเลข 8ตัวนะท่าน เดี๋ยวเชยแย่
อีกที่คือ ศูนย์ทดสอบของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EEI) ที่พี่ดร. โกวิท มาศรัตน์ เป็นเจ้านายใหญ่อยู่ที่นั่น บางปู ซอย 8 ไกลหน่อย แต่ใหญ่กว่าติดปัญหาอะไรโทรได้ที่ 02-709-4860-8 ครับท่าน
ส่วนข้อมูลด้าน EMC ของแต่ละประเทศ แต่ละภูมิภาคเป็นอย่างไรแวะหาได้ทีห้องสมุด สมอ. ถนนพระรามหกถือว่าเป็น one stop shopping ด้านข้อมูลเลยทีเดียว
อย่าลืมนะท่าน ผมจะปิดท้ายในบทความชุดนี้ ในตอนหน้ามันเป็นตอนที่สี่ (ตอนจบ) จะเป็นแนวทางให้ผู้ผลิตของไทยหาเส้นทางพัฒนาผลิตภัณฑ์รวมถึง EMCTIP มุ่งเข้าสู่มาตรฐาน EMC ระหว่างประเทศรวมกับมาตรฐานอื่นที่สอดคล้องเพื่อการส่งออกและยกระดับมาตรฐานสินค้าของไทยสู่สากล</FONT color>
สรุป
เถ้าแก่ที่ต้องการส่งออกอย่าลืมค่ายกล 4 ค่าย และควรจะวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับทิศทางของ EMC ในปัจจุบันและต้องดูผลกระทบจากข้อตกลง รับรองระหว่างกันระหว่างอเมริกาและยุโรปที่จะเกิดขึ้นอีกสองปีข้างหน้า ค่าใช้จ่ายในการทดสอบก็เป็นปัจจัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ผลิตรายย่อยของไทยดังนั้นการศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้าน EMC อย่างต่อเนื่องจึงเป็นกุญแจดอกสำคัญในธุรกิจการส่งออก มาตรฐานและข้อกำหนดด้าน EMC ระหว่างประเทศ และของไทย รวมถึงการศึกษา วิจัยและบริการด้านการทดสอบ EMC ในประเทศไทยลองติดตามดูนะท่าน เซ็งลี้ฮ้อๆ เด้อ
วันที่บทความ : 01 ก.ค. 2544 ที่มา : ร.อ. ผศ. ดร. วีระเชษฐ์ ขันเงิน
เครดิต:www.kmitl.com/article.php?articlecat=3&articleid=11
จากสองตอนที่แล้วเป็นการกล่าวถึงว่า EMC คืออะไร สำคัญอย่างไร มีการเปรียบเทียบหัวใจของ EMC technology กับหัวใจของโอวาทปาติโมกข์ว่าเข้ากันได้อย่าไร ส่วนในบทความตอนนี้อันเป็นตอนที่สามจะเป็นเรื่องที่ช่วยให้เจ้าของกิจการหรือระดับเถ้าแก่เพิ่มขีดความสามารถในการส่งออก มาลองดูซิว่าหากเถ้าแก่และ SME ทั้งหลายจะฮึดขึ้นมาบ้าง พี่ไทยเราอาจจะโกยเงินดอลล่าร์เงินปอนด์ เงินเยนขนใส่ตู้คอนเทนเนอร์มาตั้งไว้ดูเล่นก็เป็นได้ งั้นเรามาดูกันว่าจะเริ่มจังได๋ และจะทำอย่างไร
สูตรสำเร็จที่ซุนหวู่ปรมาจารย์จีนว่าไว้ “รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” (และมีอีกหนึ่งข้อที่คนไม่ค่อยกล่าวถึงคือรู้ว่าสู้ไม่ได้แน่อย่าดันทุรังให้ถอยหนี) ซึ่งใช้ได้นมนานมาแล้วจวบจนปัจจุบันหากเถ้าแก่จะประยุกต์คำคมของซุนหวูก็คงต้องเดินกลยุทธดังนี้
ค่ายกลที่ 1
สูเจ้าจะต้องศึกษาตลาดว่า ตลอดบอกประเทศอยู่ที่ใดบ้าง มีกฎ กติกา มารยาทอย่างไร
เช่นจะส่ง power supply ไปขายในอังกฤษ มีกติกาอย่างไร เรื่องนี้ความจริงเป็นเรื่องที่ใหญ่เกี่ยวข้องกับหลายเรื่อง ว่าตั้งแต่เรื่องด้านความปลอดภัย ด้าน EMC ด้าน Low voltage มาตรฐาน ISO 14000, 18000 รวมถึงการกำหนดให้มีมาตรการการจัดขยะผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ การห้ามใช้ตะกั่วในการบัดกรี เป็นต้น และอื่นๆ อีกมากมายว่า ขอเน้นนะครับว่าในแทบทุกประเทศ หรือภูมิภาคจะมีมาตรฐาน EMC เป็นยาขมหรือจะเรียกว่ามาตรการกีดกันทางการค้าด้านเทคโนโลยีขั้นจุกจิก คือมีหลากหลายพอสมควร สรุปว่าต้องรู้ว่า กลุ่มลูกค้า ว่าคือใคร มาจากประเทศใด มีข้อบังคับในด้าน EMC ที่ต้องการหรือไม่ ต้องการผลิตภัณฑ์ที่ต้องการเงื่อนไขพิเศษในด้าน EMC หรือไม่
ค่ายกลที่ 2
สูเจ้าจะต้องนำมาตรฐาน EMC มาเป็นปัจจัยในการวางแผนงาน การออกแบบ การพัฒนา การทดสอบ การผลิต และการตรวจรับรองความถูกต้องด้วย
ต้องคิดอย่างนี้ว่า จะหาข้อมูลด้าน EMC ได้จากที่ใดและหาความต้องการสำหรับผลิตภัณฑ์ ในด้าน EMC อย่างไร เพื่อพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ ในด้าน EMC และจะเตรียมเครื่องมือและห้องทดสอบเบื้องต้นอย่างไร หน่วยงานด้านอุตสาหกรรมจะมีข้อมูลมาตรฐานด้าน EMC ที่ต้องการจากเช่น European computer Manufacturers Association เป็นต้น
ค่ายกลที่ 3
สูเจ้าจะต้องนำผลิตภัณฑ์มาทำการทดสอบด้าน EMC
การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์จะสำเร็จได้ก็ด้วยการทำทดสอบตามมาตรฐาน หรือโดยการส่งผลการทดสอบ (technical consturction file, TCF) ไปยังหน่วยงานอื่นเพื่อทำการประเมินซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลามาก ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ขนาดของผลิตภัณฑ์ จำนวนและการติดตั้ง เป็นต้น
ดังนั้นจึงต้องเตรียมเครื่องมือและห้องทดสอบเบื้องต้นด้วยการทำทดสอบตามมาตรฐาน หรือโดยการส่งผลการทดสอบ (technical construction file, TCF) ไปยังหน่วยงานอื่นเพื่อทำการประเมินซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลามากขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ขนาดของผลิตภัณฑ์ จำนวนและการติดตั้ง เป็นต้น
การรับรองผลเอง (self certification) เป็นอีกแนวทางหนึ่งนอกเหนือจากวิธีการใช้ TCF นี้ ซึ่งการรับรองผลนี้ง่ายและสะดวกที่จะทำการทดสอบได้เองและรับรองผลเอง หากมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ในการใช้ห้องทดสอบเบื้องต้น (in-house facility) สำหรับทำการทดสอบ กล่าวคือมีความพร้อมด้านเครื่องมือและห้องทดสอบเหมาะสมกับมาตรฐานที่ต้องการ มีความพร้อมด้านบุคลากรมีความพร้อมด้าน QC ในการใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือและห้องทดสอบ มีปริมาณงานที่เหมาะสมกับห้องทดสอบเบื้องต้น
โดยห้องทดสอบเบื้องต้นนี้จะมีขีดความสามารถการทดสอบอยู่ 3 ระดับ เริ่มจากขั้นที่1 ที่มีหัวข้อทดสอบไม่มากนัก ในขั้นที่ 2 มีการทดสอบในที่โล่ง (open-area test site, OATS) และในขั้นที่ 3 สามารถยกระดับการทดสอบ และเตรียมสู่ระดับมาตรฐาน ขั้นสูง ต่อไป
ค่ายกลที่ 4
สูเจ้าจะต้องทำให้ผลิตภัณฑ์ของสูเจ้ามีเครื่องหมายรับรองอันเป็นกุญแจดอกหนึ่งสู่ทางสำเร็จของการขายผลิตภัณฑ์
หัวใจของการตลาดอย่างหนึ่งคือการสามารถวางจำหน่ายสินค้าได้ครอบคลุมพื้นที่ เครื่องหมายรับรองที่ผ่านการทดสอบและรับรองตามเงื่อนไขที่กำหนดก็คือกุฌแจดอกสำคัญดอกหนึ่งที่ช่วยไขประตูสู่ความสำเร็จ ในที่นี้จะกล่าวถึงเครื่องหมายรับรองที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบและรับรองด้าน EMC โดยมีขอบเขตให้ครอบคลุมตลาดที่สำคัญให้มากที่สุด จะต้องเข้าใจแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับ EMC directive ของผลิตภัณฑ์ โดยดูที่ขอบเขตตลาดเป็นหลัก เครื่องหมายหรือสลากจะเป็นประกาศรับรองว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นไปตามเงื่อนไขที่แต่ละเครื่องหมายระบุไว้นอกเหนือไปจากจะคุ้มครองผู้บริโภคแล้ว ยังจะทำให้ผู้ผลิตสามารถขยายขอบเขตตลาดออกไปได้อีกด้วย
เครื่องหมายรับรองในยุโรป
กุญแจสำคัญดอกหนึ่งของการตลาดในยุโรปคือการวางผลิตภัณฑ์ให้ได้ทั่วยุโรป เครื่องหมายรับรองของแต่ละประเทศมีขอบเขตเฉพาะประเทศ เช่น เครื่องหมายรับรอง VDE (German lnstitute of EIectricaI Engineers หรือ Verband Deutscher EIektrotecniker) หรือ TUV ของเยอรมันที่ติดอยู่บนตัวผลิตภัณฑ์ก็จะวางขายได้เฉพาะในเยอรมัน แต่ถ้ามีเครื่องหมายรับรอง CE Marking (Communaute Europeenne) ติดอยู่ด้วย ก็จะสามารถวางผลิตภัณฑ์ ให้ขายได้ทั่วยุโรป ตาม EMC regulations 1992 ที่ภายหลังคือ EMC directive 89/336/EEC ซึ่งมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2540 เป็นต้นมา เครื่องหมาย CE มีหน้าตาดังนี้โปรดสังเกตุของแท้จะมีขีดกลางตัว E จะสั้นกว่าขอบบนล่าง และส่วนโค้งตัว C กับ E จะยาวเกินครึ่งวงกลมมาหน่อยหนึ่ง เป็นอย่างอื่นนอกเหนือจากนี้ ถือว่าปลอมไม่แนบเนียนนะท่าน
ขั้นตอนการให้ได้มา CE Marking อย่างถูกต้อง ใครก็ได้ที่มันใจว่าผลิตภัณฑ์เจ๋งพอก็ปิดรับรองตัวเองได้เลยที่ถูกแล้วควรได้รับการทดสอบด้าน EMC และด้านอื่นที่เกี่ยวข้องด้วยจากหน่วยงานหรือห้องทดสอบที่ได้มาตรฐาน หากไม่ได้ทดสอบจริงแล้วติดฉลาก ได้ไม่เท่าเสียครับท่าน เพราะท่านจะได้รับเกียรติเป็นจำเลยที่ 1 ครับท่านหากเกิดปัญหาอะไรขึ้นมา (จริงคือแปะติดเองโรงงานนั่นแหละและเป็นการรับรองตนเอง ขอย้ำนะครับว่าCE เป็นฉลากหรือเครื่องหมาย ไม่ใช่มาตรฐาน )
- Conformity assessment
เพื่อจัดทดสอบตาม directive ที่เกี่ยวข้องมีสามเส้นทางคือ standard, TCF, EC Type examination
- Declaration of conformity
คือการประกาศ / แสดง รับรองว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นไปตามเงื่อนไขของ directive นั้น
- Marking
คือเครื่องหมายที่ใช้ติดบนผลิตภัณฑ์หรือตำแหน่ง อื่น ๆ
เครื่องหมายรับรองในอเมริกา
Federal Communication Commission หรือ FCC รับผิดชอบในขอบเขตที่ไม่ใช่ราชการ แต่ได้รับการยอมรับมากในด้านเครื่องมือทางสื่อสาร โดยได้แบ่งการปล่อยคลื่นรบกวนออกเป็น 5 กลุ่ม คือ
- Tvpe acceptance
ขึ้นอยู่กับข้อมูลทดสอบจากผู้ผลิตหรือผู้ได้รับอนุญาติ ซึ่ง FCC อาจเลือกมาทดสอบได้
- Type ApprovaI FCC
จะทดสอบเองตามข้อกำหนดของ FCC
- Certification
ขึ้นอยู่กับข้อมูลทดสอบจากเฉพาะผู้ผลิตซึ่ง FCC อาจเลือกมาทดสอบได้
- Verification
โดย FCC จะสุ่มตรวจเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ผลิตทำการทดสอบเองได้ตามต้องการ
- Notification
ในระดับนี้ FCC อาจไม่ต้องการข้อมูลละเอียด
นอกจากเครื่องหมาย FCC แล้วยังมีเครื่องหมายอื่นอีกมาก เช่น UL (Underwriters Laboratory) ซึ่งมีหน่วยงานของ UL ทดสอบและรับรองทั้งที่เป็นเครื่องมือหรือชิ้นส่วนอุปกรณ์
ข้อตกลงยอมรับร่วม (Mutual Recognition Agreement, MRA) การแตกต่างกันระดับแรงดันไฟฟ้าและความถี่รวมถึงสภาพภูมิประเทศทำให้ทั้งสองกลุ่มมีการทดสอบที่แตกต่างกัน ปัญหานี้ได้มีการพิจารณาร่วมกันหลายๆครั้งเพื่อจะลดปัญหานี้ให้หมดไป ข้อตกลงรับรองระหว่างกันจึงได้เกิดขึ้น
- ข้อตกลงยอมรับร่วมระหว่างอเมริกาและยุโรปซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของโลกได้ใช้เวลา 4 ปีต่อรองกันจนถึงปี พ ศ. 2539 ก็ได้ชัดเจนขึ้น มีวัตถุประสงค์ที่จะกำจัดข้อกีดกันทางการค้า โดยการที่ทั้งสองกลุ่มใหัการรับรองผลการทดสอบซึ่งกันและกัน
- สำหรับเรื่องข้อตกลงยอมรับร่วม พี่ไทยเราก็กำลังคิดทำครับท่าน
หมายเหตุข้อตกลงรับรองระหว่างกันทำนองนี้ ระหว่างคานาดากับยุโรปได้ทำมาก่อนแล้วโดยมีบางขอบเขตคล้ายๆกัน
ประเทศนกลุ่มทั้งสองจะได้ทดลองปฏิบัติตามข้อตกลงรับรองระหว่างกันช่วงเวลาทดลองนี้ The National lnstitute of Standards and Technology (NIST) จะพัฒนาให้ผู้รู้เรื่องของอเมริกา ประเมินว่าผลิตภัณฑ์และคุณภาพของระบบเข้ากันได้กับมาตรฐานของยุโรปให้ได้ เช่นหาทางให้ลูกค้าติดเครื่องหมาย CE Marking ให้ได้ สำหรับในยุโรปเองผู้รับรองแต่ละประเทศที่สมัครผ่าน Nationally Recognized Testing Laboratory, NRTL ก็จะทำเช่นกันเพื่อที่จะติดเครื่องหมายรับรองของอเมริกาได้ ผลที่เกิดขึ้นต่อการยอมรับผลิตภัณฑ์คือ สำหรับตลาดผู้บริโภคแต่ละประเทศอาจจะไม่มีผลมากนัก แต่สำหรับผู้ผลิตจะสามารถเลือกผู้ทดสอบและรับรองได้หลากหลาย
ปัจจุบันหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลการทดสอบของไทยเรา เริ่มจะถนัดและชำนาญ สะสมประสบการณ์มากขึ้นเรื่อยๆ ก่อนที่เถ้าแก่หรือวิศวกรทั้งหลายคิดจะส่งผลิตภัณฑ์ทดสอบที่ต่างประเทศลองติดต่อไปที่นี้ก่อนนะครับ
ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ PTEC ของ NECTEC อยู่ข้างสระว่ายน้ำพระเทพฯ บ้านเก่าเราที่ลาดกระบังไงท่าน โทร 02-739-2190-4 ( แน่ะทันสมัยเสียด้วย โทรเลข 8ตัวนะท่าน เดี๋ยวเชยแย่
อีกที่คือ ศูนย์ทดสอบของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EEI) ที่พี่ดร. โกวิท มาศรัตน์ เป็นเจ้านายใหญ่อยู่ที่นั่น บางปู ซอย 8 ไกลหน่อย แต่ใหญ่กว่าติดปัญหาอะไรโทรได้ที่ 02-709-4860-8 ครับท่าน
ส่วนข้อมูลด้าน EMC ของแต่ละประเทศ แต่ละภูมิภาคเป็นอย่างไรแวะหาได้ทีห้องสมุด สมอ. ถนนพระรามหกถือว่าเป็น one stop shopping ด้านข้อมูลเลยทีเดียว
อย่าลืมนะท่าน ผมจะปิดท้ายในบทความชุดนี้ ในตอนหน้ามันเป็นตอนที่สี่ (ตอนจบ) จะเป็นแนวทางให้ผู้ผลิตของไทยหาเส้นทางพัฒนาผลิตภัณฑ์รวมถึง EMCTIP มุ่งเข้าสู่มาตรฐาน EMC ระหว่างประเทศรวมกับมาตรฐานอื่นที่สอดคล้องเพื่อการส่งออกและยกระดับมาตรฐานสินค้าของไทยสู่สากล</FONT color>
สรุป
เถ้าแก่ที่ต้องการส่งออกอย่าลืมค่ายกล 4 ค่าย และควรจะวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับทิศทางของ EMC ในปัจจุบันและต้องดูผลกระทบจากข้อตกลง รับรองระหว่างกันระหว่างอเมริกาและยุโรปที่จะเกิดขึ้นอีกสองปีข้างหน้า ค่าใช้จ่ายในการทดสอบก็เป็นปัจจัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ผลิตรายย่อยของไทยดังนั้นการศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้าน EMC อย่างต่อเนื่องจึงเป็นกุญแจดอกสำคัญในธุรกิจการส่งออก มาตรฐานและข้อกำหนดด้าน EMC ระหว่างประเทศ และของไทย รวมถึงการศึกษา วิจัยและบริการด้านการทดสอบ EMC ในประเทศไทยลองติดตามดูนะท่าน เซ็งลี้ฮ้อๆ เด้อ
วันที่บทความ : 01 ก.ค. 2544 ที่มา : ร.อ. ผศ. ดร. วีระเชษฐ์ ขันเงิน
เครดิต:www.kmitl.com/article.php?articlecat=3&articleid=11