2 ก.ย. 2553

EMC คืออะไรใครรู้บ้าง

EMC หัวข้อที่วิศวกร (ทุกสาขา) พึงต้องรู้ เมื่อเถ้าแก่คิดจะส่งออก (ตอนที่ 3)

จากสองตอนที่แล้วเป็นการกล่าวถึงว่า EMC คืออะไร สำคัญอย่างไร มีการเปรียบเทียบหัวใจของ EMC technology กับหัวใจของโอวาทปาติโมกข์ว่าเข้ากันได้อย่าไร ส่วนในบทความตอนนี้อันเป็นตอนที่สามจะเป็นเรื่องที่ช่วยให้เจ้าของกิจการหรือระดับเถ้าแก่เพิ่มขีดความสามารถในการส่งออก มาลองดูซิว่าหากเถ้าแก่และ SME ทั้งหลายจะฮึดขึ้นมาบ้าง พี่ไทยเราอาจจะโกยเงินดอลล่าร์เงินปอนด์ เงินเยนขนใส่ตู้คอนเทนเนอร์มาตั้งไว้ดูเล่นก็เป็นได้ งั้นเรามาดูกันว่าจะเริ่มจังได๋ และจะทำอย่างไร


สูตรสำเร็จที่ซุนหวู่ปรมาจารย์จีนว่าไว้ “รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” (และมีอีกหนึ่งข้อที่คนไม่ค่อยกล่าวถึงคือรู้ว่าสู้ไม่ได้แน่อย่าดันทุรังให้ถอยหนี) ซึ่งใช้ได้นมนานมาแล้วจวบจนปัจจุบันหากเถ้าแก่จะประยุกต์คำคมของซุนหวูก็คงต้องเดินกลยุทธดังนี้
ค่ายกลที่ 1
สูเจ้าจะต้องศึกษาตลาดว่า ตลอดบอกประเทศอยู่ที่ใดบ้าง มีกฎ กติกา มารยาทอย่างไร
เช่นจะส่ง power supply ไปขายในอังกฤษ มีกติกาอย่างไร เรื่องนี้ความจริงเป็นเรื่องที่ใหญ่เกี่ยวข้องกับหลายเรื่อง ว่าตั้งแต่เรื่องด้านความปลอดภัย ด้าน EMC ด้าน Low voltage มาตรฐาน ISO 14000, 18000 รวมถึงการกำหนดให้มีมาตรการการจัดขยะผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ การห้ามใช้ตะกั่วในการบัดกรี เป็นต้น และอื่นๆ อีกมากมายว่า ขอเน้นนะครับว่าในแทบทุกประเทศ หรือภูมิภาคจะมีมาตรฐาน EMC เป็นยาขมหรือจะเรียกว่ามาตรการกีดกันทางการค้าด้านเทคโนโลยีขั้นจุกจิก คือมีหลากหลายพอสมควร สรุปว่าต้องรู้ว่า กลุ่มลูกค้า ว่าคือใคร มาจากประเทศใด มีข้อบังคับในด้าน EMC ที่ต้องการหรือไม่ ต้องการผลิตภัณฑ์ที่ต้องการเงื่อนไขพิเศษในด้าน EMC หรือไม่
ค่ายกลที่ 2
สูเจ้าจะต้องนำมาตรฐาน EMC มาเป็นปัจจัยในการวางแผนงาน การออกแบบ การพัฒนา การทดสอบ การผลิต และการตรวจรับรองความถูกต้องด้วย
ต้องคิดอย่างนี้ว่า จะหาข้อมูลด้าน EMC ได้จากที่ใดและหาความต้องการสำหรับผลิตภัณฑ์ ในด้าน EMC อย่างไร เพื่อพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ ในด้าน EMC และจะเตรียมเครื่องมือและห้องทดสอบเบื้องต้นอย่างไร หน่วยงานด้านอุตสาหกรรมจะมีข้อมูลมาตรฐานด้าน EMC ที่ต้องการจากเช่น European computer Manufacturers Association เป็นต้น
ค่ายกลที่ 3
สูเจ้าจะต้องนำผลิตภัณฑ์มาทำการทดสอบด้าน EMC
การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์จะสำเร็จได้ก็ด้วยการทำทดสอบตามมาตรฐาน หรือโดยการส่งผลการทดสอบ (technical consturction file, TCF) ไปยังหน่วยงานอื่นเพื่อทำการประเมินซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลามาก ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ขนาดของผลิตภัณฑ์ จำนวนและการติดตั้ง เป็นต้น
ดังนั้นจึงต้องเตรียมเครื่องมือและห้องทดสอบเบื้องต้นด้วยการทำทดสอบตามมาตรฐาน หรือโดยการส่งผลการทดสอบ (technical construction file, TCF) ไปยังหน่วยงานอื่นเพื่อทำการประเมินซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลามากขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ขนาดของผลิตภัณฑ์ จำนวนและการติดตั้ง เป็นต้น
การรับรองผลเอง (self certification) เป็นอีกแนวทางหนึ่งนอกเหนือจากวิธีการใช้ TCF นี้ ซึ่งการรับรองผลนี้ง่ายและสะดวกที่จะทำการทดสอบได้เองและรับรองผลเอง หากมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ในการใช้ห้องทดสอบเบื้องต้น (in-house facility) สำหรับทำการทดสอบ กล่าวคือมีความพร้อมด้านเครื่องมือและห้องทดสอบเหมาะสมกับมาตรฐานที่ต้องการ มีความพร้อมด้านบุคลากรมีความพร้อมด้าน QC ในการใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือและห้องทดสอบ มีปริมาณงานที่เหมาะสมกับห้องทดสอบเบื้องต้น
โดยห้องทดสอบเบื้องต้นนี้จะมีขีดความสามารถการทดสอบอยู่ 3 ระดับ เริ่มจากขั้นที่1 ที่มีหัวข้อทดสอบไม่มากนัก ในขั้นที่ 2 มีการทดสอบในที่โล่ง (open-area test site, OATS) และในขั้นที่ 3 สามารถยกระดับการทดสอบ และเตรียมสู่ระดับมาตรฐาน ขั้นสูง ต่อไป
ค่ายกลที่ 4
สูเจ้าจะต้องทำให้ผลิตภัณฑ์ของสูเจ้ามีเครื่องหมายรับรองอันเป็นกุญแจดอกหนึ่งสู่ทางสำเร็จของการขายผลิตภัณฑ์
หัวใจของการตลาดอย่างหนึ่งคือการสามารถวางจำหน่ายสินค้าได้ครอบคลุมพื้นที่ เครื่องหมายรับรองที่ผ่านการทดสอบและรับรองตามเงื่อนไขที่กำหนดก็คือกุฌแจดอกสำคัญดอกหนึ่งที่ช่วยไขประตูสู่ความสำเร็จ ในที่นี้จะกล่าวถึงเครื่องหมายรับรองที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบและรับรองด้าน EMC โดยมีขอบเขตให้ครอบคลุมตลาดที่สำคัญให้มากที่สุด จะต้องเข้าใจแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับ EMC directive ของผลิตภัณฑ์ โดยดูที่ขอบเขตตลาดเป็นหลัก เครื่องหมายหรือสลากจะเป็นประกาศรับรองว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นไปตามเงื่อนไขที่แต่ละเครื่องหมายระบุไว้นอกเหนือไปจากจะคุ้มครองผู้บริโภคแล้ว ยังจะทำให้ผู้ผลิตสามารถขยายขอบเขตตลาดออกไปได้อีกด้วย
เครื่องหมายรับรองในยุโรป
กุญแจสำคัญดอกหนึ่งของการตลาดในยุโรปคือการวางผลิตภัณฑ์ให้ได้ทั่วยุโรป เครื่องหมายรับรองของแต่ละประเทศมีขอบเขตเฉพาะประเทศ เช่น เครื่องหมายรับรอง VDE (German lnstitute of EIectricaI Engineers หรือ Verband Deutscher EIektrotecniker) หรือ TUV ของเยอรมันที่ติดอยู่บนตัวผลิตภัณฑ์ก็จะวางขายได้เฉพาะในเยอรมัน แต่ถ้ามีเครื่องหมายรับรอง CE Marking (Communaute Europeenne) ติดอยู่ด้วย ก็จะสามารถวางผลิตภัณฑ์ ให้ขายได้ทั่วยุโรป ตาม EMC regulations 1992 ที่ภายหลังคือ EMC directive 89/336/EEC ซึ่งมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2540 เป็นต้นมา เครื่องหมาย CE มีหน้าตาดังนี้โปรดสังเกตุของแท้จะมีขีดกลางตัว E จะสั้นกว่าขอบบนล่าง และส่วนโค้งตัว C กับ E จะยาวเกินครึ่งวงกลมมาหน่อยหนึ่ง เป็นอย่างอื่นนอกเหนือจากนี้ ถือว่าปลอมไม่แนบเนียนนะท่าน
ขั้นตอนการให้ได้มา CE Marking อย่างถูกต้อง ใครก็ได้ที่มันใจว่าผลิตภัณฑ์เจ๋งพอก็ปิดรับรองตัวเองได้เลยที่ถูกแล้วควรได้รับการทดสอบด้าน EMC และด้านอื่นที่เกี่ยวข้องด้วยจากหน่วยงานหรือห้องทดสอบที่ได้มาตรฐาน หากไม่ได้ทดสอบจริงแล้วติดฉลาก ได้ไม่เท่าเสียครับท่าน เพราะท่านจะได้รับเกียรติเป็นจำเลยที่ 1 ครับท่านหากเกิดปัญหาอะไรขึ้นมา (จริงคือแปะติดเองโรงงานนั่นแหละและเป็นการรับรองตนเอง ขอย้ำนะครับว่าCE เป็นฉลากหรือเครื่องหมาย ไม่ใช่มาตรฐาน )
- Conformity assessment
เพื่อจัดทดสอบตาม directive ที่เกี่ยวข้องมีสามเส้นทางคือ standard, TCF, EC Type examination
- Declaration of conformity
คือการประกาศ / แสดง รับรองว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นไปตามเงื่อนไขของ directive นั้น
- Marking
คือเครื่องหมายที่ใช้ติดบนผลิตภัณฑ์หรือตำแหน่ง อื่น ๆ
เครื่องหมายรับรองในอเมริกา
Federal Communication Commission หรือ FCC รับผิดชอบในขอบเขตที่ไม่ใช่ราชการ แต่ได้รับการยอมรับมากในด้านเครื่องมือทางสื่อสาร โดยได้แบ่งการปล่อยคลื่นรบกวนออกเป็น 5 กลุ่ม คือ
- Tvpe acceptance
ขึ้นอยู่กับข้อมูลทดสอบจากผู้ผลิตหรือผู้ได้รับอนุญาติ ซึ่ง FCC อาจเลือกมาทดสอบได้
- Type ApprovaI FCC
จะทดสอบเองตามข้อกำหนดของ FCC
- Certification
ขึ้นอยู่กับข้อมูลทดสอบจากเฉพาะผู้ผลิตซึ่ง FCC อาจเลือกมาทดสอบได้
- Verification
โดย FCC จะสุ่มตรวจเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ผลิตทำการทดสอบเองได้ตามต้องการ
- Notification
ในระดับนี้ FCC อาจไม่ต้องการข้อมูลละเอียด
นอกจากเครื่องหมาย FCC แล้วยังมีเครื่องหมายอื่นอีกมาก เช่น UL (Underwriters Laboratory) ซึ่งมีหน่วยงานของ UL ทดสอบและรับรองทั้งที่เป็นเครื่องมือหรือชิ้นส่วนอุปกรณ์
ข้อตกลงยอมรับร่วม (Mutual Recognition Agreement, MRA) การแตกต่างกันระดับแรงดันไฟฟ้าและความถี่รวมถึงสภาพภูมิประเทศทำให้ทั้งสองกลุ่มมีการทดสอบที่แตกต่างกัน ปัญหานี้ได้มีการพิจารณาร่วมกันหลายๆครั้งเพื่อจะลดปัญหานี้ให้หมดไป ข้อตกลงรับรองระหว่างกันจึงได้เกิดขึ้น
- ข้อตกลงยอมรับร่วมระหว่างอเมริกาและยุโรปซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของโลกได้ใช้เวลา 4 ปีต่อรองกันจนถึงปี พ ศ. 2539 ก็ได้ชัดเจนขึ้น มีวัตถุประสงค์ที่จะกำจัดข้อกีดกันทางการค้า โดยการที่ทั้งสองกลุ่มใหัการรับรองผลการทดสอบซึ่งกันและกัน
- สำหรับเรื่องข้อตกลงยอมรับร่วม พี่ไทยเราก็กำลังคิดทำครับท่าน
หมายเหตุข้อตกลงรับรองระหว่างกันทำนองนี้ ระหว่างคานาดากับยุโรปได้ทำมาก่อนแล้วโดยมีบางขอบเขตคล้ายๆกัน
ประเทศนกลุ่มทั้งสองจะได้ทดลองปฏิบัติตามข้อตกลงรับรองระหว่างกันช่วงเวลาทดลองนี้ The National lnstitute of Standards and Technology (NIST) จะพัฒนาให้ผู้รู้เรื่องของอเมริกา ประเมินว่าผลิตภัณฑ์และคุณภาพของระบบเข้ากันได้กับมาตรฐานของยุโรปให้ได้ เช่นหาทางให้ลูกค้าติดเครื่องหมาย CE Marking ให้ได้ สำหรับในยุโรปเองผู้รับรองแต่ละประเทศที่สมัครผ่าน Nationally Recognized Testing Laboratory, NRTL ก็จะทำเช่นกันเพื่อที่จะติดเครื่องหมายรับรองของอเมริกาได้ ผลที่เกิดขึ้นต่อการยอมรับผลิตภัณฑ์คือ สำหรับตลาดผู้บริโภคแต่ละประเทศอาจจะไม่มีผลมากนัก แต่สำหรับผู้ผลิตจะสามารถเลือกผู้ทดสอบและรับรองได้หลากหลาย
ปัจจุบันหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลการทดสอบของไทยเรา เริ่มจะถนัดและชำนาญ สะสมประสบการณ์มากขึ้นเรื่อยๆ ก่อนที่เถ้าแก่หรือวิศวกรทั้งหลายคิดจะส่งผลิตภัณฑ์ทดสอบที่ต่างประเทศลองติดต่อไปที่นี้ก่อนนะครับ
ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ PTEC ของ NECTEC อยู่ข้างสระว่ายน้ำพระเทพฯ บ้านเก่าเราที่ลาดกระบังไงท่าน โทร 02-739-2190-4 ( แน่ะทันสมัยเสียด้วย โทรเลข 8ตัวนะท่าน เดี๋ยวเชยแย่
อีกที่คือ ศูนย์ทดสอบของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EEI) ที่พี่ดร. โกวิท มาศรัตน์ เป็นเจ้านายใหญ่อยู่ที่นั่น บางปู ซอย 8 ไกลหน่อย แต่ใหญ่กว่าติดปัญหาอะไรโทรได้ที่ 02-709-4860-8 ครับท่าน
ส่วนข้อมูลด้าน EMC ของแต่ละประเทศ แต่ละภูมิภาคเป็นอย่างไรแวะหาได้ทีห้องสมุด สมอ. ถนนพระรามหกถือว่าเป็น one stop shopping ด้านข้อมูลเลยทีเดียว
อย่าลืมนะท่าน ผมจะปิดท้ายในบทความชุดนี้ ในตอนหน้ามันเป็นตอนที่สี่ (ตอนจบ) จะเป็นแนวทางให้ผู้ผลิตของไทยหาเส้นทางพัฒนาผลิตภัณฑ์รวมถึง EMCTIP มุ่งเข้าสู่มาตรฐาน EMC ระหว่างประเทศรวมกับมาตรฐานอื่นที่สอดคล้องเพื่อการส่งออกและยกระดับมาตรฐานสินค้าของไทยสู่สากล</FONT color>
สรุป
เถ้าแก่ที่ต้องการส่งออกอย่าลืมค่ายกล 4 ค่าย และควรจะวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับทิศทางของ EMC ในปัจจุบันและต้องดูผลกระทบจากข้อตกลง รับรองระหว่างกันระหว่างอเมริกาและยุโรปที่จะเกิดขึ้นอีกสองปีข้างหน้า ค่าใช้จ่ายในการทดสอบก็เป็นปัจจัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ผลิตรายย่อยของไทยดังนั้นการศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้าน EMC อย่างต่อเนื่องจึงเป็นกุญแจดอกสำคัญในธุรกิจการส่งออก มาตรฐานและข้อกำหนดด้าน EMC ระหว่างประเทศ และของไทย รวมถึงการศึกษา วิจัยและบริการด้านการทดสอบ EMC ในประเทศไทยลองติดตามดูนะท่าน เซ็งลี้ฮ้อๆ เด้อ
วันที่บทความ : 01 ก.ค. 2544 ที่มา : ร.อ. ผศ. ดร. วีระเชษฐ์ ขันเงิน
เครดิต:www.kmitl.com/article.php?articlecat=3&articleid=11

0 comments:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...
Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More