9 ก.ย. 2553
3 ก.ย. 2553
การเลือกระบบกล้องวงจรปิด
1. ตัวกล้อง (Camera) และ อุปกรณ์ประกอบ(Housing,Adapter)
- มีเยอะมากในท้องตลาด จะเลือกอันไหนดี
2. เครื่องบันทึกภาพ (DVR)
- เยอะแยะไปหมดใช้งานยังไง
3. สายสัญญาณ (Cable)
- การติดตั้งระยะใกล้ หรือ ไกล
4. การติดตั้ง มาตรฐานการติดตั้ง (Install – Configuration)
- เดินท่อร้อยสาย เดินลอย
5. ราคา (Price)
- ราคาถูก
- ราคาปานกลาง
- ราคาแพง
6. การบริการหลังการขาย (Service)
- มี
- ไม่มี
ในบทความถัดไปผมจะมาเจาะรายละเอียดแต่ละหัวข้อให้ฟัง
การทดสอบตั้งค่ากล้อง IP Cam
2 ก.ย. 2553
EMC คืออะไรใครรู้บ้าง 2
EMC หัวข้อที่วิศวกร(ทุกสาขา)พึงต้องรู้ (ตอนที่ 2)
เสียงสะท้อนจากพี่ๆ น้องๆ บอกว่าอย่าเขียนในเรื่องที่หนักไป ให้เบาๆ เหมือนปุยนุ่นหน่อย ครับต้องขอบคุณเป็นอย่างยิ่งสำหรับการแสดงข้อคิดเห็น อย่างน้อยแสดงว่ามีคนอ่านบ้าง จริงไหมท่าน ฉะนั้นฉบับนี้คงไม่เครียดนะท่าน
เราจะมาว่าต่อในบทความตอนที่สอง คือเรื่องการออกแบบและแนวทางการป้องกัน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาด้าน EMC ต่อสิ่งแวดล้อมและกรณีศึกษาผลกระทบด้าน EMC ประเด็นนี้หากจะว่าไปก็เช่นคำภาษิตที่ว่า คิดก่อนทำ นั่นแหละท่าน ฉะนั้นหากจะบอกว่าในกระบวนการออกแบบเจ้าเครื่องมือ หรือระบบทางไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีคาถาอย่างน้อยสองข้อว่า Safety และก็ EMCTechnology อยู่ด้วยเสมอ ที่ต้องเป็นเช่นนี้เพราะหลายๆ กฎระเบียบด้าน EMC ในปัจจุบัน เริ่มถือเป็นข้อบังคับใช้แล้ว จะมาอย่างแบบ ส.ว.ว่าผมม่ายรู้ ม่ายได้นะท่าน แล้วอะไรละคือ EMC Technology
ในตอนที่แล้ว เกล้ากระผมได้บอกว่า EMC ประกอบด้วยส่วนสำคัญอยู่สามส่วน คือส่วนแรกแหล่งกำเนิดสัญญาณรบกวน (EMIsource) ส่วนที่สองคือส่วนที่ได้รับผลกระทบผลของ EMI หรือบางครั้งอาจเรียกว่าแหล่งรับสัญญาณรบกวน (receptor) และส่วนที่สามคือการเชื่อมต่อระหว่างสองส่วนแรก (coupling) ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น ส่วนเชื่อมต่อแบบ conduction อันนี้จะเป็นอะไรก็ได้ที่ใช้ตัวนำเป็นสื่อ เช่น ระบบสายเมน สายดิน สายควบคุม หรือสายผ่านโมเด็ม ได้ทั้งสิ้น ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งคือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะแผ่กระจายผ่านตัวกลางทางอากาศ เรียกว่าเป็นการเชื่อมต่อแบบ radiation เจ้า EMC Technology ก็คือ อย่างที่หนึ่ง ลดระดับ Noise ที่ต้นเหตุ อย่างที่สอง เพิ่มภูมิคุ้มกันที่ receptor และอย่างที่สามอย่างสุดท้าย คือการทำให้สัญญาณที่ต้องการใช้เชื่อมต่อ สะอาดปราศจากสัญญาณรบกวนที่ไม่ต้องการ หรือป้องกันไม่ให้สัญญาณที่ไม่พึงประสงค์ผ่านเข้ามาได้
วิธีการที่จะลดระดับ Noise ก็ด้วยวิธีเช่น ลดขนาดสัญญาณลงลดความถี่ลง รวมถึงการออกแบบให้ rising time และ falling timeมากขึ้น อย่างนี้พระท่านว่าจะทำใหักิเลสน้อยลง หรือ สัญญาIรบกวน (EMI) น้อยลง
วิธีการข้อที่สองก็คือออกแบบให้ระบบมีภูมิคุ้มกันให้มากขึ้นหรือต้องฉีดยาป้องกันได้ให้มีภูมิคุ้มกันพอจะทนฟ้าทนฝนได้นั่นแหละท่าน ยกตัวอย่างเครื่องมือของท่านอาจติด MOV (Metal Oxide Varistor) เพื่อป้องกันแรงดัน เสริ์จ (surge) ที่เป็นผลมาจากฟ้าผ่า ให้ทนและรักษาเครื่องมือให้ทำงานได้ ไม่เจ็บไม่ไข้ไปเสียก่อน
ปัจจัยที่สามก็คือ หากมี EMI มาตามสายตัวนำแล้วละก้อ เอาหลวงพ่อ filter มาเป็นยา กรองให้เฉพาะสัญญาณที่สะอาดแล้วเท่านั้นผ่านไปสู่เครื่องมือของท่านได้ แต่หากว่าเจ้า EMI นี้แผ่คลื่นไปทางอากาศจะทำอย่างไร ก็เอาหลวงพ่อกำบังคลื่นมาเป็นยันต์กันสิ่งชั่วร้ายผ่านไปสิท่าน นั่นคือต้องออกแบบระบบ shieding ซึ่งมีเทคโนโลยีการดูดกลืน และสะท้อนพลังงานแล้วแต่จะออกแบบ อ่านดูเข้าใจยากมั้ยท่าน
ต้องดูรูปนี้ประกอบไปด้วย
ผมนึกออกแล้ว ผมจะเสนอมุมมองของ EMC technology ที่สัมพันธ์กับโอวาทปาติโมกข์ เพราะหลักการควบคุม EMC ช่างสอดคล้องและสัมพันธ์กันเสียนี่กระไร ก่อนอื่นถามว่าใครไม่รู้จักโอวาทปาติโมกข์ โปรดยกมือขึ้น (เอ้า ลือชา เห็นว่าเข้าวัดบ่อยไง ไฉนจึงยกมืออยู่เล่า) แหมผมว่าแท้ที่จริงแล้วทุกท่านรู้ดี เพียงแต่นึกไม่ออกเท่านั้นเอง จริงไม๊ท่าน หัวใจของโอวาทปาติโมกข์คือ ละชั่ว ทำความดี ทำใจให้ผองแผ้ว (จริงๆ มีอยู่หลายข้อ แต่สรุปเป็นสามหมวดนะท่าน) ท่านลองเปรียบเทียบตารางนี้ดูซิท่าน
ว้าว… ดูเหมือนจะเข้ากันได้เหมาะเจาะอะไรขนาดนี้ ต่อไปนี้ท่านคงจะได้เห็นแนวทางธรรมกับทางวิศวกรรมแล้วว่าไปด้วยกันได้ผมอยากจะขมวดประเด็นการควบคุมด้าน EMC ด้วยรูปๆ หนึ่ง เชื่อว่าจะช่วยละความแตกต่างกันระหว่างเถ้าแก่กับวิศวกรได้ (ท่านวิรัตน์ รุ่น 17 ตะโกนว่า จะไปยากอะไร ก็เป็นลูกเขยเถ้าแก่ก็หมดเรื่อง ยอด…สุดยอดเลยท่าน) ลองดูรูปต่อไปนี้นะท่าน
ส่วนสำคัญของรูปนี้ประกอบไปด้วยสองส่วนที่น่าสนใจคือขีดจำกัดที่สัญญาณรบกวนที่ปล่อยออกมา (emission limit) ทั้งมาตามสายและแผ่มาทางอากาศ คือเป็นตัวที่กำหนดว่าระดับ EMI ต้องออกแบบมาให้ต่ำกว่าแนวเส้นนี้เสมอ คือเป็นข้อกำหนดว่าใครจะสร้าง EMI ขึ้นมาก็ยอมให้เกิดขึ้นได้แต่ต้องไมให้เกินขีดนี้นะ เหมือนขีดจำกัดไอเสียรถยนต์นั่นแหละท่าน จุดนี้เถ้าแก่มักจะกำหนดให้ emission level ที่จะปล่อยออกมาปริ่มๆ หรือใกล้ๆ กับ emission limit ยิ่งใกล้หมายถึงค่าใช้จ่ายที่ถูก ในขณะที่วิศวกรคุณภาพอย่างท่านพี่ท่านน้องทั้งหลายบอกว่า emission level ควรจะต้องต่ำกว่า emission limit มากๆ จะทำให้ผลเสียน้อย ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมีน้อย แต่อาจต้องจ่ายแพงขึ้น trade off อย่างนี้เลย จำต้องมีเวทีที่เถ้าแก่ และวิศวกรต้องคุยกัน ก่อนออกแบบ หรือวางแผนการผลิต
ด้านขีดจำกัดภูมิคุ้มกัน lmmunity limit ก็เช่นกัน ปกติเครื่องมือที่ได้มาตรฐานมักจะมีเจ้า lmmunity limit เพื่อรับรองว่าจะไม่เดี้ยงก่อนเวลาอันควร เมื่อมี EMI ไม่พึงประสงค์เข้ามา เถ้าแก่ก็มักจะมีนโยบายประหยัด จึงเลือกให้เจ้า MOV ที่มีค่า lmmunity level สูงกว่า lmmunity limit เล็กน้อย เมื่อเวลาผ่านไปสักสองฤดูฝน ค่าlmmunity level อาจเปลี่ยนไป เช่นลดต่ำกว่า lmmunity limit ก็เป็นได้ ทำให้อาจเกิดความเสียหายหรือไม่น่าเชื่อถือขึ้น มวลเหล่าวิศวกรทั้งหลายพึงหลีกเลี่ยงปัญหานี้ (กลัวถูกด่ามากกว่า) ก็โดยการเลือกให้ระดับภูมิคุ้มกันมีค่าสูง (high Immunity level) แต่ต้องจ่ายมากขึ้น
สรุปได้ว่าเรา หัวใจของ EMC technjology กับหัวใจของโอวาทปาติโมกข์นั้นเข้ากันได้ (Compatibility) นะท่าน ส่วนในบทความตอนต่อไปอันเป็นที่สามจะเป็นเรื่องมาตรฐานและข้อกำหนดด้าน EMC ระหว่างประเทศ และของไทย รวมถึงการศึกษาวิจัยและบริการด้านการทดสอบ EMC ในประเทศไทย ลองกัดฟันติดตามดูนะท่าน
วันที่บทความ : 07 เม.ย. 2544 ที่มา : ผศ.ดร. วีระเชษฐ์ ขันเงิน
เครดิต: www.kmitl.com/article.php?articlecat=3&articleid=10
เสียงสะท้อนจากพี่ๆ น้องๆ บอกว่าอย่าเขียนในเรื่องที่หนักไป ให้เบาๆ เหมือนปุยนุ่นหน่อย ครับต้องขอบคุณเป็นอย่างยิ่งสำหรับการแสดงข้อคิดเห็น อย่างน้อยแสดงว่ามีคนอ่านบ้าง จริงไหมท่าน ฉะนั้นฉบับนี้คงไม่เครียดนะท่าน
เราจะมาว่าต่อในบทความตอนที่สอง คือเรื่องการออกแบบและแนวทางการป้องกัน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาด้าน EMC ต่อสิ่งแวดล้อมและกรณีศึกษาผลกระทบด้าน EMC ประเด็นนี้หากจะว่าไปก็เช่นคำภาษิตที่ว่า คิดก่อนทำ นั่นแหละท่าน ฉะนั้นหากจะบอกว่าในกระบวนการออกแบบเจ้าเครื่องมือ หรือระบบทางไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีคาถาอย่างน้อยสองข้อว่า Safety และก็ EMCTechnology อยู่ด้วยเสมอ ที่ต้องเป็นเช่นนี้เพราะหลายๆ กฎระเบียบด้าน EMC ในปัจจุบัน เริ่มถือเป็นข้อบังคับใช้แล้ว จะมาอย่างแบบ ส.ว.ว่าผมม่ายรู้ ม่ายได้นะท่าน แล้วอะไรละคือ EMC Technology
ในตอนที่แล้ว เกล้ากระผมได้บอกว่า EMC ประกอบด้วยส่วนสำคัญอยู่สามส่วน คือส่วนแรกแหล่งกำเนิดสัญญาณรบกวน (EMIsource) ส่วนที่สองคือส่วนที่ได้รับผลกระทบผลของ EMI หรือบางครั้งอาจเรียกว่าแหล่งรับสัญญาณรบกวน (receptor) และส่วนที่สามคือการเชื่อมต่อระหว่างสองส่วนแรก (coupling) ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น ส่วนเชื่อมต่อแบบ conduction อันนี้จะเป็นอะไรก็ได้ที่ใช้ตัวนำเป็นสื่อ เช่น ระบบสายเมน สายดิน สายควบคุม หรือสายผ่านโมเด็ม ได้ทั้งสิ้น ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งคือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะแผ่กระจายผ่านตัวกลางทางอากาศ เรียกว่าเป็นการเชื่อมต่อแบบ radiation เจ้า EMC Technology ก็คือ อย่างที่หนึ่ง ลดระดับ Noise ที่ต้นเหตุ อย่างที่สอง เพิ่มภูมิคุ้มกันที่ receptor และอย่างที่สามอย่างสุดท้าย คือการทำให้สัญญาณที่ต้องการใช้เชื่อมต่อ สะอาดปราศจากสัญญาณรบกวนที่ไม่ต้องการ หรือป้องกันไม่ให้สัญญาณที่ไม่พึงประสงค์ผ่านเข้ามาได้
วิธีการที่จะลดระดับ Noise ก็ด้วยวิธีเช่น ลดขนาดสัญญาณลงลดความถี่ลง รวมถึงการออกแบบให้ rising time และ falling timeมากขึ้น อย่างนี้พระท่านว่าจะทำใหักิเลสน้อยลง หรือ สัญญาIรบกวน (EMI) น้อยลง
วิธีการข้อที่สองก็คือออกแบบให้ระบบมีภูมิคุ้มกันให้มากขึ้นหรือต้องฉีดยาป้องกันได้ให้มีภูมิคุ้มกันพอจะทนฟ้าทนฝนได้นั่นแหละท่าน ยกตัวอย่างเครื่องมือของท่านอาจติด MOV (Metal Oxide Varistor) เพื่อป้องกันแรงดัน เสริ์จ (surge) ที่เป็นผลมาจากฟ้าผ่า ให้ทนและรักษาเครื่องมือให้ทำงานได้ ไม่เจ็บไม่ไข้ไปเสียก่อน
ปัจจัยที่สามก็คือ หากมี EMI มาตามสายตัวนำแล้วละก้อ เอาหลวงพ่อ filter มาเป็นยา กรองให้เฉพาะสัญญาณที่สะอาดแล้วเท่านั้นผ่านไปสู่เครื่องมือของท่านได้ แต่หากว่าเจ้า EMI นี้แผ่คลื่นไปทางอากาศจะทำอย่างไร ก็เอาหลวงพ่อกำบังคลื่นมาเป็นยันต์กันสิ่งชั่วร้ายผ่านไปสิท่าน นั่นคือต้องออกแบบระบบ shieding ซึ่งมีเทคโนโลยีการดูดกลืน และสะท้อนพลังงานแล้วแต่จะออกแบบ อ่านดูเข้าใจยากมั้ยท่าน
ต้องดูรูปนี้ประกอบไปด้วย
ผมนึกออกแล้ว ผมจะเสนอมุมมองของ EMC technology ที่สัมพันธ์กับโอวาทปาติโมกข์ เพราะหลักการควบคุม EMC ช่างสอดคล้องและสัมพันธ์กันเสียนี่กระไร ก่อนอื่นถามว่าใครไม่รู้จักโอวาทปาติโมกข์ โปรดยกมือขึ้น (เอ้า ลือชา เห็นว่าเข้าวัดบ่อยไง ไฉนจึงยกมืออยู่เล่า) แหมผมว่าแท้ที่จริงแล้วทุกท่านรู้ดี เพียงแต่นึกไม่ออกเท่านั้นเอง จริงไม๊ท่าน หัวใจของโอวาทปาติโมกข์คือ ละชั่ว ทำความดี ทำใจให้ผองแผ้ว (จริงๆ มีอยู่หลายข้อ แต่สรุปเป็นสามหมวดนะท่าน) ท่านลองเปรียบเทียบตารางนี้ดูซิท่าน
ว้าว… ดูเหมือนจะเข้ากันได้เหมาะเจาะอะไรขนาดนี้ ต่อไปนี้ท่านคงจะได้เห็นแนวทางธรรมกับทางวิศวกรรมแล้วว่าไปด้วยกันได้ผมอยากจะขมวดประเด็นการควบคุมด้าน EMC ด้วยรูปๆ หนึ่ง เชื่อว่าจะช่วยละความแตกต่างกันระหว่างเถ้าแก่กับวิศวกรได้ (ท่านวิรัตน์ รุ่น 17 ตะโกนว่า จะไปยากอะไร ก็เป็นลูกเขยเถ้าแก่ก็หมดเรื่อง ยอด…สุดยอดเลยท่าน) ลองดูรูปต่อไปนี้นะท่าน
ส่วนสำคัญของรูปนี้ประกอบไปด้วยสองส่วนที่น่าสนใจคือขีดจำกัดที่สัญญาณรบกวนที่ปล่อยออกมา (emission limit) ทั้งมาตามสายและแผ่มาทางอากาศ คือเป็นตัวที่กำหนดว่าระดับ EMI ต้องออกแบบมาให้ต่ำกว่าแนวเส้นนี้เสมอ คือเป็นข้อกำหนดว่าใครจะสร้าง EMI ขึ้นมาก็ยอมให้เกิดขึ้นได้แต่ต้องไมให้เกินขีดนี้นะ เหมือนขีดจำกัดไอเสียรถยนต์นั่นแหละท่าน จุดนี้เถ้าแก่มักจะกำหนดให้ emission level ที่จะปล่อยออกมาปริ่มๆ หรือใกล้ๆ กับ emission limit ยิ่งใกล้หมายถึงค่าใช้จ่ายที่ถูก ในขณะที่วิศวกรคุณภาพอย่างท่านพี่ท่านน้องทั้งหลายบอกว่า emission level ควรจะต้องต่ำกว่า emission limit มากๆ จะทำให้ผลเสียน้อย ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมีน้อย แต่อาจต้องจ่ายแพงขึ้น trade off อย่างนี้เลย จำต้องมีเวทีที่เถ้าแก่ และวิศวกรต้องคุยกัน ก่อนออกแบบ หรือวางแผนการผลิต
ด้านขีดจำกัดภูมิคุ้มกัน lmmunity limit ก็เช่นกัน ปกติเครื่องมือที่ได้มาตรฐานมักจะมีเจ้า lmmunity limit เพื่อรับรองว่าจะไม่เดี้ยงก่อนเวลาอันควร เมื่อมี EMI ไม่พึงประสงค์เข้ามา เถ้าแก่ก็มักจะมีนโยบายประหยัด จึงเลือกให้เจ้า MOV ที่มีค่า lmmunity level สูงกว่า lmmunity limit เล็กน้อย เมื่อเวลาผ่านไปสักสองฤดูฝน ค่าlmmunity level อาจเปลี่ยนไป เช่นลดต่ำกว่า lmmunity limit ก็เป็นได้ ทำให้อาจเกิดความเสียหายหรือไม่น่าเชื่อถือขึ้น มวลเหล่าวิศวกรทั้งหลายพึงหลีกเลี่ยงปัญหานี้ (กลัวถูกด่ามากกว่า) ก็โดยการเลือกให้ระดับภูมิคุ้มกันมีค่าสูง (high Immunity level) แต่ต้องจ่ายมากขึ้น
สรุปได้ว่าเรา หัวใจของ EMC technjology กับหัวใจของโอวาทปาติโมกข์นั้นเข้ากันได้ (Compatibility) นะท่าน ส่วนในบทความตอนต่อไปอันเป็นที่สามจะเป็นเรื่องมาตรฐานและข้อกำหนดด้าน EMC ระหว่างประเทศ และของไทย รวมถึงการศึกษาวิจัยและบริการด้านการทดสอบ EMC ในประเทศไทย ลองกัดฟันติดตามดูนะท่าน
วันที่บทความ : 07 เม.ย. 2544 ที่มา : ผศ.ดร. วีระเชษฐ์ ขันเงิน
เครดิต: www.kmitl.com/article.php?articlecat=3&articleid=10
EMC คืออะไรใครรู้บ้าง 1
EMC หัวข้อที่วิศวกร (ทุกสาขา) พึงต้องรู้ (ต่อ) EMC Tips สำหรับการออกแบบเพื่อแก้ปัญหา EMI
ท่านครับ ผมจะปิดท้ายในบทความชุดนี้ ในตอนนี้อันเป็นตอนที่สี่ (ตอนจบ) จะเป็นแนวทางให้ผู้ผลิตของไทยหาเส้นทางพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยเน้นถึง EMC tips ในการศึกษาเป้าหมายการตลาด เพื่อมุ่งเข้าสู่มาตรฐาน EMC ระหว่างประเทศร่วมกับมาตรฐานอื่นที่สอดคล้อง เพื่อการส่งออกและยกระดับมาตรฐานสินค้าของไทยสู่สากลให้ได้
การแก้ปัญหาการออกแบบด้าน EMC สำหรับผู้ผลิต
ในบทนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้การออกแบบและเสริมเทคนิคแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ EMC จะได้แก้ปัญหาได้ถูกต้องและเร็วขึ้น
แนวทางการแก้ปัญหาด้าน EMC
* แหล่งรบกวน ต้องหาทางไม่ส่งสัญญาณรบกวนเกินขีดจำกัด
* แหล่งรับสัญญาณ มีระบบป้องกันหรือลดทอนสัญญาณ
* ทางเชื่อมต่อ Containment โดยการชีลด์และกรองสัญญาณรบกวนที่ดี
ตัวอย่างหลักเกณฑ์การลดผลของ EMI เช่น
1. ใช้สายสั้นที่สุด เพื่อลดผลของค่าความเหนี่ยวนำให้ต่ำที่สุด การที่เราลดค่าความเหนี่ยวนำนี้ ช่วยลดผลการเกิดสัญญาณรบกวนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระแสต่อเวลา ตามกฎของฟาราเดย์อย่างไรล่ะท่าน
2. ตีเกลียวสาย เพื่อให้กระแสมีทิศทางตรงข้ามกันอย่างสม่ำเสมอและยังจะลดผลของสนามแม่เหล็กลงด้วย ข้อสำคัญพยายามทำให้พื้นที่กระแสไหลนั้น (loop area) ต้องมีขนาดเล็กที่สุด นี่คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้วงจรการทำงานของท่านสร้างปัญหาให้กับชาวประชาเขา แถมยังได้รับสัญญาณจากชาวบ้านเขาได้แบบง่ายๆ อีกท่าน
3. การเลือกค่าอุปกรณ์ต่างๆ ก็ต้องคัดพิเศษหน่อยท่าน เป็นต้นว่าหากจะเลือกตัวคาปาซิเตอร์ (capacitor) ก็ต้องเลือกค่าต้องมีค่า equivalent series resistance (ESR) ต่ำที่สุด การคำนึงย่านความถี่ที่ใช้งานก็เป็นประเด็นที่สำคัญ เช่น หากจะใช้งานในย่านความถี่สูงๆ อย่าลืมนึกถึงตัว C ประเภท Polystyrene หรือพวกเซรามิกส์ค่าสูญเสียน้อย พวกอุปกรณ์เหล่านี้ต้องคำนึงถึงค่า parasitic ที่มีแฝงอยู่ในตัวอุปกรณ์นั้นๆ อยู่แล้ว ยิ่งประเภทที่มีค่า self resonant frequency (SRF) สูงเท่าใด (ผลของ
parasitic น้อย) ก็เหมือนกับว่าได้อุปกรณ์ที่ทำงานใกล้อุดมคติมากขึ้นเท่านั้น
4. ลด common impedance เพื่อลดสัญญาณรบกวนที่เกิดจากแหล่งจ่าย เช่นระบบจ่ายไฟฟ้าของวงจรดิจิตอล และอนาลอก ควรแยกออกจากกัน ไม่อย่างนั้นเจ้าสัญญาณรบกวนก็อาจจะเชื่อมต่อถึงกันได้ สิ่งที่คนอ้วนเข็มขัดสั้น (สิ่งที่คาดไม่ถึง) ก็อาจโผล่มาเยี่ยมท่านอย่างไม่ตั้งใจ
5. แยกสายสัญญาณให้ห่างจากสายกำลัง มีวิศวกรบางท่านโทรมาถามกระผมว่าวงจรควบคุมทำงานสามวันดีสี่วันไข้ เป็นเพราะอะไร หลังจากเสวนาไปหลายพัก ก็เจอว่าท่านได้เดินสายควบคุมอยู่ในท่อเดียวกันกับสายกำลัง ก็อาจจะสันนิษฐานได้ว่ามีการรบกวนอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระแสทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้นมารบกวน และหากสายสัญญาณของวงจรควบคุมไม่มีการชีลด์อย่างดี ก็ย่อมทำให้ได้รับผลของสนามแม่เหล็ก อาจเป็นเหตุให้เกิดอาการป่วยเป็นระยะอย่างที่ว่า ดังนั้นไม่ควรเดินสายกำลังอยู่ในท่อเดียวกันกับสายสัญญาณที่มีความอ่อนไหวของสัญญาณ เช่น สายสัญญาณควบคุม เป็นต้น
รูดม่าน EMC
หลังจากที่ท่านได้อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับ EMC มาสี่ฉากแล้ว โดยในฉากที่หนึ่งผมได้กล่าวถึงความหมายของ EMC พร้อมทั้งปรากฏการณ์และสาเหตุ รวมถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น ในฉากที่สองผมได้เสนอการออกแบบและแนวทางการป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาด้าน EMC ต่อสิ่งแวดล้อมและกรณีศึกษาผลกระทบด้าน EMC เช่นจากวงจรอีเล็กทรอนิกส์กำลัง ส่วนในฉากที่สาม ผมได้ยกเอาเรื่องมาตรฐานและข้อกำหนดด้าน EMC ระหว่างประเทศ และของไทยมาเป็นจุดนำเสนอโดยเอาผลการศึกษา วิจัยและบริการด้านการทดสอบ EMC ในประเทศไทยด้วย และปิดท้ายในฉากที่สี่ด้วยการยกตัวอย่าง EMC design tips มาเป็นกรณีศึกษาเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ผลิตของไทยหาเส้นทางพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่มาตรฐาน EMC ระหว่างประเทศ ร่วมกับมาตรฐานอื่นที่สอดคล้อง เพื่อการส่งออกและยกระดับมาตรฐานสินค้าของไทยสู่สากลตามที่ผมได้ตั้งปณิธานไว้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านตามสมควรครับท่าน
วันที่บทความ : 01 ต.ค. 2544 ที่มา : ร.อ. ผศ. ดร. วีระเชษฐ์ ขันเงิน
เครดิต : www.kmitl.com/article.php?articlecat=3&articleid=12
ท่านครับ ผมจะปิดท้ายในบทความชุดนี้ ในตอนนี้อันเป็นตอนที่สี่ (ตอนจบ) จะเป็นแนวทางให้ผู้ผลิตของไทยหาเส้นทางพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยเน้นถึง EMC tips ในการศึกษาเป้าหมายการตลาด เพื่อมุ่งเข้าสู่มาตรฐาน EMC ระหว่างประเทศร่วมกับมาตรฐานอื่นที่สอดคล้อง เพื่อการส่งออกและยกระดับมาตรฐานสินค้าของไทยสู่สากลให้ได้
การแก้ปัญหาการออกแบบด้าน EMC สำหรับผู้ผลิต
ในบทนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้การออกแบบและเสริมเทคนิคแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ EMC จะได้แก้ปัญหาได้ถูกต้องและเร็วขึ้น
แนวทางการแก้ปัญหาด้าน EMC
* แหล่งรบกวน ต้องหาทางไม่ส่งสัญญาณรบกวนเกินขีดจำกัด
* แหล่งรับสัญญาณ มีระบบป้องกันหรือลดทอนสัญญาณ
* ทางเชื่อมต่อ Containment โดยการชีลด์และกรองสัญญาณรบกวนที่ดี
ตัวอย่างหลักเกณฑ์การลดผลของ EMI เช่น
1. ใช้สายสั้นที่สุด เพื่อลดผลของค่าความเหนี่ยวนำให้ต่ำที่สุด การที่เราลดค่าความเหนี่ยวนำนี้ ช่วยลดผลการเกิดสัญญาณรบกวนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระแสต่อเวลา ตามกฎของฟาราเดย์อย่างไรล่ะท่าน
2. ตีเกลียวสาย เพื่อให้กระแสมีทิศทางตรงข้ามกันอย่างสม่ำเสมอและยังจะลดผลของสนามแม่เหล็กลงด้วย ข้อสำคัญพยายามทำให้พื้นที่กระแสไหลนั้น (loop area) ต้องมีขนาดเล็กที่สุด นี่คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้วงจรการทำงานของท่านสร้างปัญหาให้กับชาวประชาเขา แถมยังได้รับสัญญาณจากชาวบ้านเขาได้แบบง่ายๆ อีกท่าน
3. การเลือกค่าอุปกรณ์ต่างๆ ก็ต้องคัดพิเศษหน่อยท่าน เป็นต้นว่าหากจะเลือกตัวคาปาซิเตอร์ (capacitor) ก็ต้องเลือกค่าต้องมีค่า equivalent series resistance (ESR) ต่ำที่สุด การคำนึงย่านความถี่ที่ใช้งานก็เป็นประเด็นที่สำคัญ เช่น หากจะใช้งานในย่านความถี่สูงๆ อย่าลืมนึกถึงตัว C ประเภท Polystyrene หรือพวกเซรามิกส์ค่าสูญเสียน้อย พวกอุปกรณ์เหล่านี้ต้องคำนึงถึงค่า parasitic ที่มีแฝงอยู่ในตัวอุปกรณ์นั้นๆ อยู่แล้ว ยิ่งประเภทที่มีค่า self resonant frequency (SRF) สูงเท่าใด (ผลของ
parasitic น้อย) ก็เหมือนกับว่าได้อุปกรณ์ที่ทำงานใกล้อุดมคติมากขึ้นเท่านั้น
4. ลด common impedance เพื่อลดสัญญาณรบกวนที่เกิดจากแหล่งจ่าย เช่นระบบจ่ายไฟฟ้าของวงจรดิจิตอล และอนาลอก ควรแยกออกจากกัน ไม่อย่างนั้นเจ้าสัญญาณรบกวนก็อาจจะเชื่อมต่อถึงกันได้ สิ่งที่คนอ้วนเข็มขัดสั้น (สิ่งที่คาดไม่ถึง) ก็อาจโผล่มาเยี่ยมท่านอย่างไม่ตั้งใจ
5. แยกสายสัญญาณให้ห่างจากสายกำลัง มีวิศวกรบางท่านโทรมาถามกระผมว่าวงจรควบคุมทำงานสามวันดีสี่วันไข้ เป็นเพราะอะไร หลังจากเสวนาไปหลายพัก ก็เจอว่าท่านได้เดินสายควบคุมอยู่ในท่อเดียวกันกับสายกำลัง ก็อาจจะสันนิษฐานได้ว่ามีการรบกวนอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระแสทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้นมารบกวน และหากสายสัญญาณของวงจรควบคุมไม่มีการชีลด์อย่างดี ก็ย่อมทำให้ได้รับผลของสนามแม่เหล็ก อาจเป็นเหตุให้เกิดอาการป่วยเป็นระยะอย่างที่ว่า ดังนั้นไม่ควรเดินสายกำลังอยู่ในท่อเดียวกันกับสายสัญญาณที่มีความอ่อนไหวของสัญญาณ เช่น สายสัญญาณควบคุม เป็นต้น
รูดม่าน EMC
หลังจากที่ท่านได้อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับ EMC มาสี่ฉากแล้ว โดยในฉากที่หนึ่งผมได้กล่าวถึงความหมายของ EMC พร้อมทั้งปรากฏการณ์และสาเหตุ รวมถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น ในฉากที่สองผมได้เสนอการออกแบบและแนวทางการป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาด้าน EMC ต่อสิ่งแวดล้อมและกรณีศึกษาผลกระทบด้าน EMC เช่นจากวงจรอีเล็กทรอนิกส์กำลัง ส่วนในฉากที่สาม ผมได้ยกเอาเรื่องมาตรฐานและข้อกำหนดด้าน EMC ระหว่างประเทศ และของไทยมาเป็นจุดนำเสนอโดยเอาผลการศึกษา วิจัยและบริการด้านการทดสอบ EMC ในประเทศไทยด้วย และปิดท้ายในฉากที่สี่ด้วยการยกตัวอย่าง EMC design tips มาเป็นกรณีศึกษาเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ผลิตของไทยหาเส้นทางพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่มาตรฐาน EMC ระหว่างประเทศ ร่วมกับมาตรฐานอื่นที่สอดคล้อง เพื่อการส่งออกและยกระดับมาตรฐานสินค้าของไทยสู่สากลตามที่ผมได้ตั้งปณิธานไว้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ทุกท่านตามสมควรครับท่าน
วันที่บทความ : 01 ต.ค. 2544 ที่มา : ร.อ. ผศ. ดร. วีระเชษฐ์ ขันเงิน
เครดิต : www.kmitl.com/article.php?articlecat=3&articleid=12
EMC คืออะไรใครรู้บ้าง
EMC หัวข้อที่วิศวกร (ทุกสาขา) พึงต้องรู้ เมื่อเถ้าแก่คิดจะส่งออก (ตอนที่ 3)
จากสองตอนที่แล้วเป็นการกล่าวถึงว่า EMC คืออะไร สำคัญอย่างไร มีการเปรียบเทียบหัวใจของ EMC technology กับหัวใจของโอวาทปาติโมกข์ว่าเข้ากันได้อย่าไร ส่วนในบทความตอนนี้อันเป็นตอนที่สามจะเป็นเรื่องที่ช่วยให้เจ้าของกิจการหรือระดับเถ้าแก่เพิ่มขีดความสามารถในการส่งออก มาลองดูซิว่าหากเถ้าแก่และ SME ทั้งหลายจะฮึดขึ้นมาบ้าง พี่ไทยเราอาจจะโกยเงินดอลล่าร์เงินปอนด์ เงินเยนขนใส่ตู้คอนเทนเนอร์มาตั้งไว้ดูเล่นก็เป็นได้ งั้นเรามาดูกันว่าจะเริ่มจังได๋ และจะทำอย่างไร
สูตรสำเร็จที่ซุนหวู่ปรมาจารย์จีนว่าไว้ “รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” (และมีอีกหนึ่งข้อที่คนไม่ค่อยกล่าวถึงคือรู้ว่าสู้ไม่ได้แน่อย่าดันทุรังให้ถอยหนี) ซึ่งใช้ได้นมนานมาแล้วจวบจนปัจจุบันหากเถ้าแก่จะประยุกต์คำคมของซุนหวูก็คงต้องเดินกลยุทธดังนี้
ค่ายกลที่ 1
สูเจ้าจะต้องศึกษาตลาดว่า ตลอดบอกประเทศอยู่ที่ใดบ้าง มีกฎ กติกา มารยาทอย่างไร
เช่นจะส่ง power supply ไปขายในอังกฤษ มีกติกาอย่างไร เรื่องนี้ความจริงเป็นเรื่องที่ใหญ่เกี่ยวข้องกับหลายเรื่อง ว่าตั้งแต่เรื่องด้านความปลอดภัย ด้าน EMC ด้าน Low voltage มาตรฐาน ISO 14000, 18000 รวมถึงการกำหนดให้มีมาตรการการจัดขยะผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ การห้ามใช้ตะกั่วในการบัดกรี เป็นต้น และอื่นๆ อีกมากมายว่า ขอเน้นนะครับว่าในแทบทุกประเทศ หรือภูมิภาคจะมีมาตรฐาน EMC เป็นยาขมหรือจะเรียกว่ามาตรการกีดกันทางการค้าด้านเทคโนโลยีขั้นจุกจิก คือมีหลากหลายพอสมควร สรุปว่าต้องรู้ว่า กลุ่มลูกค้า ว่าคือใคร มาจากประเทศใด มีข้อบังคับในด้าน EMC ที่ต้องการหรือไม่ ต้องการผลิตภัณฑ์ที่ต้องการเงื่อนไขพิเศษในด้าน EMC หรือไม่
ค่ายกลที่ 2
สูเจ้าจะต้องนำมาตรฐาน EMC มาเป็นปัจจัยในการวางแผนงาน การออกแบบ การพัฒนา การทดสอบ การผลิต และการตรวจรับรองความถูกต้องด้วย
ต้องคิดอย่างนี้ว่า จะหาข้อมูลด้าน EMC ได้จากที่ใดและหาความต้องการสำหรับผลิตภัณฑ์ ในด้าน EMC อย่างไร เพื่อพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ ในด้าน EMC และจะเตรียมเครื่องมือและห้องทดสอบเบื้องต้นอย่างไร หน่วยงานด้านอุตสาหกรรมจะมีข้อมูลมาตรฐานด้าน EMC ที่ต้องการจากเช่น European computer Manufacturers Association เป็นต้น
ค่ายกลที่ 3
สูเจ้าจะต้องนำผลิตภัณฑ์มาทำการทดสอบด้าน EMC
การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์จะสำเร็จได้ก็ด้วยการทำทดสอบตามมาตรฐาน หรือโดยการส่งผลการทดสอบ (technical consturction file, TCF) ไปยังหน่วยงานอื่นเพื่อทำการประเมินซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลามาก ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ขนาดของผลิตภัณฑ์ จำนวนและการติดตั้ง เป็นต้น
ดังนั้นจึงต้องเตรียมเครื่องมือและห้องทดสอบเบื้องต้นด้วยการทำทดสอบตามมาตรฐาน หรือโดยการส่งผลการทดสอบ (technical construction file, TCF) ไปยังหน่วยงานอื่นเพื่อทำการประเมินซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลามากขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ขนาดของผลิตภัณฑ์ จำนวนและการติดตั้ง เป็นต้น
การรับรองผลเอง (self certification) เป็นอีกแนวทางหนึ่งนอกเหนือจากวิธีการใช้ TCF นี้ ซึ่งการรับรองผลนี้ง่ายและสะดวกที่จะทำการทดสอบได้เองและรับรองผลเอง หากมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ในการใช้ห้องทดสอบเบื้องต้น (in-house facility) สำหรับทำการทดสอบ กล่าวคือมีความพร้อมด้านเครื่องมือและห้องทดสอบเหมาะสมกับมาตรฐานที่ต้องการ มีความพร้อมด้านบุคลากรมีความพร้อมด้าน QC ในการใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือและห้องทดสอบ มีปริมาณงานที่เหมาะสมกับห้องทดสอบเบื้องต้น
โดยห้องทดสอบเบื้องต้นนี้จะมีขีดความสามารถการทดสอบอยู่ 3 ระดับ เริ่มจากขั้นที่1 ที่มีหัวข้อทดสอบไม่มากนัก ในขั้นที่ 2 มีการทดสอบในที่โล่ง (open-area test site, OATS) และในขั้นที่ 3 สามารถยกระดับการทดสอบ และเตรียมสู่ระดับมาตรฐาน ขั้นสูง ต่อไป
ค่ายกลที่ 4
สูเจ้าจะต้องทำให้ผลิตภัณฑ์ของสูเจ้ามีเครื่องหมายรับรองอันเป็นกุญแจดอกหนึ่งสู่ทางสำเร็จของการขายผลิตภัณฑ์
หัวใจของการตลาดอย่างหนึ่งคือการสามารถวางจำหน่ายสินค้าได้ครอบคลุมพื้นที่ เครื่องหมายรับรองที่ผ่านการทดสอบและรับรองตามเงื่อนไขที่กำหนดก็คือกุฌแจดอกสำคัญดอกหนึ่งที่ช่วยไขประตูสู่ความสำเร็จ ในที่นี้จะกล่าวถึงเครื่องหมายรับรองที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบและรับรองด้าน EMC โดยมีขอบเขตให้ครอบคลุมตลาดที่สำคัญให้มากที่สุด จะต้องเข้าใจแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับ EMC directive ของผลิตภัณฑ์ โดยดูที่ขอบเขตตลาดเป็นหลัก เครื่องหมายหรือสลากจะเป็นประกาศรับรองว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นไปตามเงื่อนไขที่แต่ละเครื่องหมายระบุไว้นอกเหนือไปจากจะคุ้มครองผู้บริโภคแล้ว ยังจะทำให้ผู้ผลิตสามารถขยายขอบเขตตลาดออกไปได้อีกด้วย
เครื่องหมายรับรองในยุโรป
กุญแจสำคัญดอกหนึ่งของการตลาดในยุโรปคือการวางผลิตภัณฑ์ให้ได้ทั่วยุโรป เครื่องหมายรับรองของแต่ละประเทศมีขอบเขตเฉพาะประเทศ เช่น เครื่องหมายรับรอง VDE (German lnstitute of EIectricaI Engineers หรือ Verband Deutscher EIektrotecniker) หรือ TUV ของเยอรมันที่ติดอยู่บนตัวผลิตภัณฑ์ก็จะวางขายได้เฉพาะในเยอรมัน แต่ถ้ามีเครื่องหมายรับรอง CE Marking (Communaute Europeenne) ติดอยู่ด้วย ก็จะสามารถวางผลิตภัณฑ์ ให้ขายได้ทั่วยุโรป ตาม EMC regulations 1992 ที่ภายหลังคือ EMC directive 89/336/EEC ซึ่งมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2540 เป็นต้นมา เครื่องหมาย CE มีหน้าตาดังนี้โปรดสังเกตุของแท้จะมีขีดกลางตัว E จะสั้นกว่าขอบบนล่าง และส่วนโค้งตัว C กับ E จะยาวเกินครึ่งวงกลมมาหน่อยหนึ่ง เป็นอย่างอื่นนอกเหนือจากนี้ ถือว่าปลอมไม่แนบเนียนนะท่าน
ขั้นตอนการให้ได้มา CE Marking อย่างถูกต้อง ใครก็ได้ที่มันใจว่าผลิตภัณฑ์เจ๋งพอก็ปิดรับรองตัวเองได้เลยที่ถูกแล้วควรได้รับการทดสอบด้าน EMC และด้านอื่นที่เกี่ยวข้องด้วยจากหน่วยงานหรือห้องทดสอบที่ได้มาตรฐาน หากไม่ได้ทดสอบจริงแล้วติดฉลาก ได้ไม่เท่าเสียครับท่าน เพราะท่านจะได้รับเกียรติเป็นจำเลยที่ 1 ครับท่านหากเกิดปัญหาอะไรขึ้นมา (จริงคือแปะติดเองโรงงานนั่นแหละและเป็นการรับรองตนเอง ขอย้ำนะครับว่าCE เป็นฉลากหรือเครื่องหมาย ไม่ใช่มาตรฐาน )
- Conformity assessment
เพื่อจัดทดสอบตาม directive ที่เกี่ยวข้องมีสามเส้นทางคือ standard, TCF, EC Type examination
- Declaration of conformity
คือการประกาศ / แสดง รับรองว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นไปตามเงื่อนไขของ directive นั้น
- Marking
คือเครื่องหมายที่ใช้ติดบนผลิตภัณฑ์หรือตำแหน่ง อื่น ๆ
เครื่องหมายรับรองในอเมริกา
Federal Communication Commission หรือ FCC รับผิดชอบในขอบเขตที่ไม่ใช่ราชการ แต่ได้รับการยอมรับมากในด้านเครื่องมือทางสื่อสาร โดยได้แบ่งการปล่อยคลื่นรบกวนออกเป็น 5 กลุ่ม คือ
- Tvpe acceptance
ขึ้นอยู่กับข้อมูลทดสอบจากผู้ผลิตหรือผู้ได้รับอนุญาติ ซึ่ง FCC อาจเลือกมาทดสอบได้
- Type ApprovaI FCC
จะทดสอบเองตามข้อกำหนดของ FCC
- Certification
ขึ้นอยู่กับข้อมูลทดสอบจากเฉพาะผู้ผลิตซึ่ง FCC อาจเลือกมาทดสอบได้
- Verification
โดย FCC จะสุ่มตรวจเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ผลิตทำการทดสอบเองได้ตามต้องการ
- Notification
ในระดับนี้ FCC อาจไม่ต้องการข้อมูลละเอียด
นอกจากเครื่องหมาย FCC แล้วยังมีเครื่องหมายอื่นอีกมาก เช่น UL (Underwriters Laboratory) ซึ่งมีหน่วยงานของ UL ทดสอบและรับรองทั้งที่เป็นเครื่องมือหรือชิ้นส่วนอุปกรณ์
ข้อตกลงยอมรับร่วม (Mutual Recognition Agreement, MRA) การแตกต่างกันระดับแรงดันไฟฟ้าและความถี่รวมถึงสภาพภูมิประเทศทำให้ทั้งสองกลุ่มมีการทดสอบที่แตกต่างกัน ปัญหานี้ได้มีการพิจารณาร่วมกันหลายๆครั้งเพื่อจะลดปัญหานี้ให้หมดไป ข้อตกลงรับรองระหว่างกันจึงได้เกิดขึ้น
- ข้อตกลงยอมรับร่วมระหว่างอเมริกาและยุโรปซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของโลกได้ใช้เวลา 4 ปีต่อรองกันจนถึงปี พ ศ. 2539 ก็ได้ชัดเจนขึ้น มีวัตถุประสงค์ที่จะกำจัดข้อกีดกันทางการค้า โดยการที่ทั้งสองกลุ่มใหัการรับรองผลการทดสอบซึ่งกันและกัน
- สำหรับเรื่องข้อตกลงยอมรับร่วม พี่ไทยเราก็กำลังคิดทำครับท่าน
หมายเหตุข้อตกลงรับรองระหว่างกันทำนองนี้ ระหว่างคานาดากับยุโรปได้ทำมาก่อนแล้วโดยมีบางขอบเขตคล้ายๆกัน
ประเทศนกลุ่มทั้งสองจะได้ทดลองปฏิบัติตามข้อตกลงรับรองระหว่างกันช่วงเวลาทดลองนี้ The National lnstitute of Standards and Technology (NIST) จะพัฒนาให้ผู้รู้เรื่องของอเมริกา ประเมินว่าผลิตภัณฑ์และคุณภาพของระบบเข้ากันได้กับมาตรฐานของยุโรปให้ได้ เช่นหาทางให้ลูกค้าติดเครื่องหมาย CE Marking ให้ได้ สำหรับในยุโรปเองผู้รับรองแต่ละประเทศที่สมัครผ่าน Nationally Recognized Testing Laboratory, NRTL ก็จะทำเช่นกันเพื่อที่จะติดเครื่องหมายรับรองของอเมริกาได้ ผลที่เกิดขึ้นต่อการยอมรับผลิตภัณฑ์คือ สำหรับตลาดผู้บริโภคแต่ละประเทศอาจจะไม่มีผลมากนัก แต่สำหรับผู้ผลิตจะสามารถเลือกผู้ทดสอบและรับรองได้หลากหลาย
ปัจจุบันหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลการทดสอบของไทยเรา เริ่มจะถนัดและชำนาญ สะสมประสบการณ์มากขึ้นเรื่อยๆ ก่อนที่เถ้าแก่หรือวิศวกรทั้งหลายคิดจะส่งผลิตภัณฑ์ทดสอบที่ต่างประเทศลองติดต่อไปที่นี้ก่อนนะครับ
ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ PTEC ของ NECTEC อยู่ข้างสระว่ายน้ำพระเทพฯ บ้านเก่าเราที่ลาดกระบังไงท่าน โทร 02-739-2190-4 ( แน่ะทันสมัยเสียด้วย โทรเลข 8ตัวนะท่าน เดี๋ยวเชยแย่
อีกที่คือ ศูนย์ทดสอบของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EEI) ที่พี่ดร. โกวิท มาศรัตน์ เป็นเจ้านายใหญ่อยู่ที่นั่น บางปู ซอย 8 ไกลหน่อย แต่ใหญ่กว่าติดปัญหาอะไรโทรได้ที่ 02-709-4860-8 ครับท่าน
ส่วนข้อมูลด้าน EMC ของแต่ละประเทศ แต่ละภูมิภาคเป็นอย่างไรแวะหาได้ทีห้องสมุด สมอ. ถนนพระรามหกถือว่าเป็น one stop shopping ด้านข้อมูลเลยทีเดียว
อย่าลืมนะท่าน ผมจะปิดท้ายในบทความชุดนี้ ในตอนหน้ามันเป็นตอนที่สี่ (ตอนจบ) จะเป็นแนวทางให้ผู้ผลิตของไทยหาเส้นทางพัฒนาผลิตภัณฑ์รวมถึง EMCTIP มุ่งเข้าสู่มาตรฐาน EMC ระหว่างประเทศรวมกับมาตรฐานอื่นที่สอดคล้องเพื่อการส่งออกและยกระดับมาตรฐานสินค้าของไทยสู่สากล</FONT color>
สรุป
เถ้าแก่ที่ต้องการส่งออกอย่าลืมค่ายกล 4 ค่าย และควรจะวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับทิศทางของ EMC ในปัจจุบันและต้องดูผลกระทบจากข้อตกลง รับรองระหว่างกันระหว่างอเมริกาและยุโรปที่จะเกิดขึ้นอีกสองปีข้างหน้า ค่าใช้จ่ายในการทดสอบก็เป็นปัจจัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ผลิตรายย่อยของไทยดังนั้นการศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้าน EMC อย่างต่อเนื่องจึงเป็นกุญแจดอกสำคัญในธุรกิจการส่งออก มาตรฐานและข้อกำหนดด้าน EMC ระหว่างประเทศ และของไทย รวมถึงการศึกษา วิจัยและบริการด้านการทดสอบ EMC ในประเทศไทยลองติดตามดูนะท่าน เซ็งลี้ฮ้อๆ เด้อ
วันที่บทความ : 01 ก.ค. 2544 ที่มา : ร.อ. ผศ. ดร. วีระเชษฐ์ ขันเงิน
เครดิต:www.kmitl.com/article.php?articlecat=3&articleid=11
จากสองตอนที่แล้วเป็นการกล่าวถึงว่า EMC คืออะไร สำคัญอย่างไร มีการเปรียบเทียบหัวใจของ EMC technology กับหัวใจของโอวาทปาติโมกข์ว่าเข้ากันได้อย่าไร ส่วนในบทความตอนนี้อันเป็นตอนที่สามจะเป็นเรื่องที่ช่วยให้เจ้าของกิจการหรือระดับเถ้าแก่เพิ่มขีดความสามารถในการส่งออก มาลองดูซิว่าหากเถ้าแก่และ SME ทั้งหลายจะฮึดขึ้นมาบ้าง พี่ไทยเราอาจจะโกยเงินดอลล่าร์เงินปอนด์ เงินเยนขนใส่ตู้คอนเทนเนอร์มาตั้งไว้ดูเล่นก็เป็นได้ งั้นเรามาดูกันว่าจะเริ่มจังได๋ และจะทำอย่างไร
สูตรสำเร็จที่ซุนหวู่ปรมาจารย์จีนว่าไว้ “รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” (และมีอีกหนึ่งข้อที่คนไม่ค่อยกล่าวถึงคือรู้ว่าสู้ไม่ได้แน่อย่าดันทุรังให้ถอยหนี) ซึ่งใช้ได้นมนานมาแล้วจวบจนปัจจุบันหากเถ้าแก่จะประยุกต์คำคมของซุนหวูก็คงต้องเดินกลยุทธดังนี้
ค่ายกลที่ 1
สูเจ้าจะต้องศึกษาตลาดว่า ตลอดบอกประเทศอยู่ที่ใดบ้าง มีกฎ กติกา มารยาทอย่างไร
เช่นจะส่ง power supply ไปขายในอังกฤษ มีกติกาอย่างไร เรื่องนี้ความจริงเป็นเรื่องที่ใหญ่เกี่ยวข้องกับหลายเรื่อง ว่าตั้งแต่เรื่องด้านความปลอดภัย ด้าน EMC ด้าน Low voltage มาตรฐาน ISO 14000, 18000 รวมถึงการกำหนดให้มีมาตรการการจัดขยะผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ การห้ามใช้ตะกั่วในการบัดกรี เป็นต้น และอื่นๆ อีกมากมายว่า ขอเน้นนะครับว่าในแทบทุกประเทศ หรือภูมิภาคจะมีมาตรฐาน EMC เป็นยาขมหรือจะเรียกว่ามาตรการกีดกันทางการค้าด้านเทคโนโลยีขั้นจุกจิก คือมีหลากหลายพอสมควร สรุปว่าต้องรู้ว่า กลุ่มลูกค้า ว่าคือใคร มาจากประเทศใด มีข้อบังคับในด้าน EMC ที่ต้องการหรือไม่ ต้องการผลิตภัณฑ์ที่ต้องการเงื่อนไขพิเศษในด้าน EMC หรือไม่
ค่ายกลที่ 2
สูเจ้าจะต้องนำมาตรฐาน EMC มาเป็นปัจจัยในการวางแผนงาน การออกแบบ การพัฒนา การทดสอบ การผลิต และการตรวจรับรองความถูกต้องด้วย
ต้องคิดอย่างนี้ว่า จะหาข้อมูลด้าน EMC ได้จากที่ใดและหาความต้องการสำหรับผลิตภัณฑ์ ในด้าน EMC อย่างไร เพื่อพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ ในด้าน EMC และจะเตรียมเครื่องมือและห้องทดสอบเบื้องต้นอย่างไร หน่วยงานด้านอุตสาหกรรมจะมีข้อมูลมาตรฐานด้าน EMC ที่ต้องการจากเช่น European computer Manufacturers Association เป็นต้น
ค่ายกลที่ 3
สูเจ้าจะต้องนำผลิตภัณฑ์มาทำการทดสอบด้าน EMC
การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์จะสำเร็จได้ก็ด้วยการทำทดสอบตามมาตรฐาน หรือโดยการส่งผลการทดสอบ (technical consturction file, TCF) ไปยังหน่วยงานอื่นเพื่อทำการประเมินซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลามาก ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ขนาดของผลิตภัณฑ์ จำนวนและการติดตั้ง เป็นต้น
ดังนั้นจึงต้องเตรียมเครื่องมือและห้องทดสอบเบื้องต้นด้วยการทำทดสอบตามมาตรฐาน หรือโดยการส่งผลการทดสอบ (technical construction file, TCF) ไปยังหน่วยงานอื่นเพื่อทำการประเมินซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลามากขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ขนาดของผลิตภัณฑ์ จำนวนและการติดตั้ง เป็นต้น
การรับรองผลเอง (self certification) เป็นอีกแนวทางหนึ่งนอกเหนือจากวิธีการใช้ TCF นี้ ซึ่งการรับรองผลนี้ง่ายและสะดวกที่จะทำการทดสอบได้เองและรับรองผลเอง หากมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ในการใช้ห้องทดสอบเบื้องต้น (in-house facility) สำหรับทำการทดสอบ กล่าวคือมีความพร้อมด้านเครื่องมือและห้องทดสอบเหมาะสมกับมาตรฐานที่ต้องการ มีความพร้อมด้านบุคลากรมีความพร้อมด้าน QC ในการใช้และบำรุงรักษาเครื่องมือและห้องทดสอบ มีปริมาณงานที่เหมาะสมกับห้องทดสอบเบื้องต้น
โดยห้องทดสอบเบื้องต้นนี้จะมีขีดความสามารถการทดสอบอยู่ 3 ระดับ เริ่มจากขั้นที่1 ที่มีหัวข้อทดสอบไม่มากนัก ในขั้นที่ 2 มีการทดสอบในที่โล่ง (open-area test site, OATS) และในขั้นที่ 3 สามารถยกระดับการทดสอบ และเตรียมสู่ระดับมาตรฐาน ขั้นสูง ต่อไป
ค่ายกลที่ 4
สูเจ้าจะต้องทำให้ผลิตภัณฑ์ของสูเจ้ามีเครื่องหมายรับรองอันเป็นกุญแจดอกหนึ่งสู่ทางสำเร็จของการขายผลิตภัณฑ์
หัวใจของการตลาดอย่างหนึ่งคือการสามารถวางจำหน่ายสินค้าได้ครอบคลุมพื้นที่ เครื่องหมายรับรองที่ผ่านการทดสอบและรับรองตามเงื่อนไขที่กำหนดก็คือกุฌแจดอกสำคัญดอกหนึ่งที่ช่วยไขประตูสู่ความสำเร็จ ในที่นี้จะกล่าวถึงเครื่องหมายรับรองที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบและรับรองด้าน EMC โดยมีขอบเขตให้ครอบคลุมตลาดที่สำคัญให้มากที่สุด จะต้องเข้าใจแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับ EMC directive ของผลิตภัณฑ์ โดยดูที่ขอบเขตตลาดเป็นหลัก เครื่องหมายหรือสลากจะเป็นประกาศรับรองว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นไปตามเงื่อนไขที่แต่ละเครื่องหมายระบุไว้นอกเหนือไปจากจะคุ้มครองผู้บริโภคแล้ว ยังจะทำให้ผู้ผลิตสามารถขยายขอบเขตตลาดออกไปได้อีกด้วย
เครื่องหมายรับรองในยุโรป
กุญแจสำคัญดอกหนึ่งของการตลาดในยุโรปคือการวางผลิตภัณฑ์ให้ได้ทั่วยุโรป เครื่องหมายรับรองของแต่ละประเทศมีขอบเขตเฉพาะประเทศ เช่น เครื่องหมายรับรอง VDE (German lnstitute of EIectricaI Engineers หรือ Verband Deutscher EIektrotecniker) หรือ TUV ของเยอรมันที่ติดอยู่บนตัวผลิตภัณฑ์ก็จะวางขายได้เฉพาะในเยอรมัน แต่ถ้ามีเครื่องหมายรับรอง CE Marking (Communaute Europeenne) ติดอยู่ด้วย ก็จะสามารถวางผลิตภัณฑ์ ให้ขายได้ทั่วยุโรป ตาม EMC regulations 1992 ที่ภายหลังคือ EMC directive 89/336/EEC ซึ่งมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2540 เป็นต้นมา เครื่องหมาย CE มีหน้าตาดังนี้โปรดสังเกตุของแท้จะมีขีดกลางตัว E จะสั้นกว่าขอบบนล่าง และส่วนโค้งตัว C กับ E จะยาวเกินครึ่งวงกลมมาหน่อยหนึ่ง เป็นอย่างอื่นนอกเหนือจากนี้ ถือว่าปลอมไม่แนบเนียนนะท่าน
ขั้นตอนการให้ได้มา CE Marking อย่างถูกต้อง ใครก็ได้ที่มันใจว่าผลิตภัณฑ์เจ๋งพอก็ปิดรับรองตัวเองได้เลยที่ถูกแล้วควรได้รับการทดสอบด้าน EMC และด้านอื่นที่เกี่ยวข้องด้วยจากหน่วยงานหรือห้องทดสอบที่ได้มาตรฐาน หากไม่ได้ทดสอบจริงแล้วติดฉลาก ได้ไม่เท่าเสียครับท่าน เพราะท่านจะได้รับเกียรติเป็นจำเลยที่ 1 ครับท่านหากเกิดปัญหาอะไรขึ้นมา (จริงคือแปะติดเองโรงงานนั่นแหละและเป็นการรับรองตนเอง ขอย้ำนะครับว่าCE เป็นฉลากหรือเครื่องหมาย ไม่ใช่มาตรฐาน )
- Conformity assessment
เพื่อจัดทดสอบตาม directive ที่เกี่ยวข้องมีสามเส้นทางคือ standard, TCF, EC Type examination
- Declaration of conformity
คือการประกาศ / แสดง รับรองว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นไปตามเงื่อนไขของ directive นั้น
- Marking
คือเครื่องหมายที่ใช้ติดบนผลิตภัณฑ์หรือตำแหน่ง อื่น ๆ
เครื่องหมายรับรองในอเมริกา
Federal Communication Commission หรือ FCC รับผิดชอบในขอบเขตที่ไม่ใช่ราชการ แต่ได้รับการยอมรับมากในด้านเครื่องมือทางสื่อสาร โดยได้แบ่งการปล่อยคลื่นรบกวนออกเป็น 5 กลุ่ม คือ
- Tvpe acceptance
ขึ้นอยู่กับข้อมูลทดสอบจากผู้ผลิตหรือผู้ได้รับอนุญาติ ซึ่ง FCC อาจเลือกมาทดสอบได้
- Type ApprovaI FCC
จะทดสอบเองตามข้อกำหนดของ FCC
- Certification
ขึ้นอยู่กับข้อมูลทดสอบจากเฉพาะผู้ผลิตซึ่ง FCC อาจเลือกมาทดสอบได้
- Verification
โดย FCC จะสุ่มตรวจเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ผลิตทำการทดสอบเองได้ตามต้องการ
- Notification
ในระดับนี้ FCC อาจไม่ต้องการข้อมูลละเอียด
นอกจากเครื่องหมาย FCC แล้วยังมีเครื่องหมายอื่นอีกมาก เช่น UL (Underwriters Laboratory) ซึ่งมีหน่วยงานของ UL ทดสอบและรับรองทั้งที่เป็นเครื่องมือหรือชิ้นส่วนอุปกรณ์
ข้อตกลงยอมรับร่วม (Mutual Recognition Agreement, MRA) การแตกต่างกันระดับแรงดันไฟฟ้าและความถี่รวมถึงสภาพภูมิประเทศทำให้ทั้งสองกลุ่มมีการทดสอบที่แตกต่างกัน ปัญหานี้ได้มีการพิจารณาร่วมกันหลายๆครั้งเพื่อจะลดปัญหานี้ให้หมดไป ข้อตกลงรับรองระหว่างกันจึงได้เกิดขึ้น
- ข้อตกลงยอมรับร่วมระหว่างอเมริกาและยุโรปซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของโลกได้ใช้เวลา 4 ปีต่อรองกันจนถึงปี พ ศ. 2539 ก็ได้ชัดเจนขึ้น มีวัตถุประสงค์ที่จะกำจัดข้อกีดกันทางการค้า โดยการที่ทั้งสองกลุ่มใหัการรับรองผลการทดสอบซึ่งกันและกัน
- สำหรับเรื่องข้อตกลงยอมรับร่วม พี่ไทยเราก็กำลังคิดทำครับท่าน
หมายเหตุข้อตกลงรับรองระหว่างกันทำนองนี้ ระหว่างคานาดากับยุโรปได้ทำมาก่อนแล้วโดยมีบางขอบเขตคล้ายๆกัน
ประเทศนกลุ่มทั้งสองจะได้ทดลองปฏิบัติตามข้อตกลงรับรองระหว่างกันช่วงเวลาทดลองนี้ The National lnstitute of Standards and Technology (NIST) จะพัฒนาให้ผู้รู้เรื่องของอเมริกา ประเมินว่าผลิตภัณฑ์และคุณภาพของระบบเข้ากันได้กับมาตรฐานของยุโรปให้ได้ เช่นหาทางให้ลูกค้าติดเครื่องหมาย CE Marking ให้ได้ สำหรับในยุโรปเองผู้รับรองแต่ละประเทศที่สมัครผ่าน Nationally Recognized Testing Laboratory, NRTL ก็จะทำเช่นกันเพื่อที่จะติดเครื่องหมายรับรองของอเมริกาได้ ผลที่เกิดขึ้นต่อการยอมรับผลิตภัณฑ์คือ สำหรับตลาดผู้บริโภคแต่ละประเทศอาจจะไม่มีผลมากนัก แต่สำหรับผู้ผลิตจะสามารถเลือกผู้ทดสอบและรับรองได้หลากหลาย
ปัจจุบันหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลการทดสอบของไทยเรา เริ่มจะถนัดและชำนาญ สะสมประสบการณ์มากขึ้นเรื่อยๆ ก่อนที่เถ้าแก่หรือวิศวกรทั้งหลายคิดจะส่งผลิตภัณฑ์ทดสอบที่ต่างประเทศลองติดต่อไปที่นี้ก่อนนะครับ
ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือ PTEC ของ NECTEC อยู่ข้างสระว่ายน้ำพระเทพฯ บ้านเก่าเราที่ลาดกระบังไงท่าน โทร 02-739-2190-4 ( แน่ะทันสมัยเสียด้วย โทรเลข 8ตัวนะท่าน เดี๋ยวเชยแย่
อีกที่คือ ศูนย์ทดสอบของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (EEI) ที่พี่ดร. โกวิท มาศรัตน์ เป็นเจ้านายใหญ่อยู่ที่นั่น บางปู ซอย 8 ไกลหน่อย แต่ใหญ่กว่าติดปัญหาอะไรโทรได้ที่ 02-709-4860-8 ครับท่าน
ส่วนข้อมูลด้าน EMC ของแต่ละประเทศ แต่ละภูมิภาคเป็นอย่างไรแวะหาได้ทีห้องสมุด สมอ. ถนนพระรามหกถือว่าเป็น one stop shopping ด้านข้อมูลเลยทีเดียว
อย่าลืมนะท่าน ผมจะปิดท้ายในบทความชุดนี้ ในตอนหน้ามันเป็นตอนที่สี่ (ตอนจบ) จะเป็นแนวทางให้ผู้ผลิตของไทยหาเส้นทางพัฒนาผลิตภัณฑ์รวมถึง EMCTIP มุ่งเข้าสู่มาตรฐาน EMC ระหว่างประเทศรวมกับมาตรฐานอื่นที่สอดคล้องเพื่อการส่งออกและยกระดับมาตรฐานสินค้าของไทยสู่สากล</FONT color>
สรุป
เถ้าแก่ที่ต้องการส่งออกอย่าลืมค่ายกล 4 ค่าย และควรจะวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับทิศทางของ EMC ในปัจจุบันและต้องดูผลกระทบจากข้อตกลง รับรองระหว่างกันระหว่างอเมริกาและยุโรปที่จะเกิดขึ้นอีกสองปีข้างหน้า ค่าใช้จ่ายในการทดสอบก็เป็นปัจจัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ผลิตรายย่อยของไทยดังนั้นการศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้าน EMC อย่างต่อเนื่องจึงเป็นกุญแจดอกสำคัญในธุรกิจการส่งออก มาตรฐานและข้อกำหนดด้าน EMC ระหว่างประเทศ และของไทย รวมถึงการศึกษา วิจัยและบริการด้านการทดสอบ EMC ในประเทศไทยลองติดตามดูนะท่าน เซ็งลี้ฮ้อๆ เด้อ
วันที่บทความ : 01 ก.ค. 2544 ที่มา : ร.อ. ผศ. ดร. วีระเชษฐ์ ขันเงิน
เครดิต:www.kmitl.com/article.php?articlecat=3&articleid=11
27 ส.ค. 2553
เปรียบเทียบราคาระหว่างระบบกล้องวงจรปิดชนิด IP Camera กับ Analog Camera (ตอนที่2จบ)
ช่วงนี้รู้สึกจะมีอะไรอยู่ในหัวสมองมากมายจน เริ่มเบลอๆ ลืมๆ แฮะๆๆ เอาละมานั่งเขียนบทความต่อเลยครับ เล่าถึงเรื่องราคาระหว่างกล้อง Analog กับ กล้อง IP ต่อเลยครับ จำได้แล้วตอนที่ 1 พูดถึง การติดตั้งกล้องที่ โรงงเรียน 30 กล้องมีแบบให้เรียบร้อย เอาละมาต่อกันเลย
รายละเอียดอุปกรณ์ที่ต้องใช้ ระหว่างกล้อง Analog กับ กล้อง IP เอาละ ผมสรุปเลยละกัน เพื่อให้กระชับฉับไว
เอาละ หลังจาก รวมราคาทั้งหมดจะเห็นว่า กล้อง IP จะถูกกว่ากล้อง Analog ในระบบนี้
ขยายความหน่อยว่าถูกว่ายังไง จะเห็นว่าค่าแรงติดตั้งกล้อง Analog จะแพงกว่า IP นะครับ ค่าเครื่องบันทึกภาพ HDD ก็แพงกว่า IP ค่าสายสัญญาณก็แพงกว่า IP จากกราฟจะเห็นว่าที่ IP แพงกว่า Analog จะมีแค่ ตัวกล้องเท่านั้น
ขยายความเพิ่มเติม จากกราฟจะเห็นว่า ถ้าระบบมีจำนวนกล้องตำกว่า 17 ตัวลงมา กล้อง IP จะแพงความกล้อง Analog และตั้งแต่ 17 กล้อง – 30 กล้อง จะเท่ากัน แต่ถามว่าในอนาคต ละ เราก็ต้อง เลือก IP ส่วนถ้ามากกว่า 31 กล้องขึ้นไป แน่นอนเลยว่า IP ถูกกว่าครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก AXIS ครับ
และในครั้งต่อไปผมจะมาเล่าถึงว่าเราจะเลือกกล้องวงจรปิดอย่างไร ทั้ง Analog และ IP เนืองจากว่าตอนนี้มีเยอะเหลือเกินในตลาด
ระบบกล้องวงจรปิดชนิดเครือข่าย (IP Camera)ตอนที่ 2
Solutions 2 : Wireless Network IP Camera
ระยะใกล้หลายเมตร ( ประมาณ 1 – 100 m )
ระยะไกลหลายกิโลเมตร ( ประมาณ 1 – 20 Km )
1. โปรแกรมควบคุมและแสดงผล ( Software Fujinet NVR Pro )
PROJECT REFERENCE: IP CCTV NETWORK SYSTEM
ฟังก์ชั่นที่สามารถรองรับเพิ่มเติม :
- เนื่องจากตัวกล้อง IP มีระบบ Relay Digital IN&OUT ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในส่วนของ ระบบตอบรับอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นอาคาร สำนักงาน ระบบรักษาความปลอดภัย กรณีมีผู้บุกรุกให้มีเสียงแจ้งเตือน ส่งข้อมูลไปที่เจ้าของบ้านได้อย่างทันท่วงที
- ระบบแจ้งเตือน เสียงเตือนภัย ออนไลน์ ระยะไกล
- การตรวจจับป้ายทะเบียนรถยนต์ เทียบกับฐานข้อมูล
- รองรับศูนย์ควบคุมสั่งการกลางขนาดใหญ่
- รองรับการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ เพื่อการประหยัดพลังงาน ช่วยลดภาวะโลกร้อน
Best Regards,
TAVORN PIENPHAYLOON
Sale Project & Support Engineer
Online MSN : tavorn13@hotmail.com
Website : www.waisky.ob.tc
Hotline : 08-5024-4610
ระยะใกล้หลายเมตร ( ประมาณ 1 – 100 m )
ระยะไกลหลายกิโลเมตร ( ประมาณ 1 – 20 Km )
1. โปรแกรมควบคุมและแสดงผล ( Software Fujinet NVR Pro )
PROJECT REFERENCE: IP CCTV NETWORK SYSTEM
ฟังก์ชั่นที่สามารถรองรับเพิ่มเติม :
- เนื่องจากตัวกล้อง IP มีระบบ Relay Digital IN&OUT ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในส่วนของ ระบบตอบรับอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นอาคาร สำนักงาน ระบบรักษาความปลอดภัย กรณีมีผู้บุกรุกให้มีเสียงแจ้งเตือน ส่งข้อมูลไปที่เจ้าของบ้านได้อย่างทันท่วงที
- ระบบแจ้งเตือน เสียงเตือนภัย ออนไลน์ ระยะไกล
- การตรวจจับป้ายทะเบียนรถยนต์ เทียบกับฐานข้อมูล
- รองรับศูนย์ควบคุมสั่งการกลางขนาดใหญ่
- รองรับการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ เพื่อการประหยัดพลังงาน ช่วยลดภาวะโลกร้อน
Best Regards,
TAVORN PIENPHAYLOON
Sale Project & Support Engineer
Online MSN : tavorn13@hotmail.com
Website : www.waisky.ob.tc
Hotline : 08-5024-4610
26 ส.ค. 2553
เปรียบเทียบราคาระหว่างระบบกล้องวงจรปิดชนิด IP Camera กับ Analog Camera (ตอนที่1)
total Cost of Ownership (tCO)
Comparison of IP- and analog-based surveillance system
คำถามที่หลายท่านสงสัยคือ ราคาระหว่างกล้อง Analog ระบบเดิม กับราคา ระบบกล้อง IP Camera ต่างกันเท่าไหร่ ??? แบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน ???
เรามาคลายความสงสัยกันเลย
มาดูก่อนว่าระบบกล้อง Analog มีอะไรบ้าง หลักๆ จะมีกล้องและเครื่องบันทึกภาพ สายสัญญาณ
ส่วนระบบกล้อง IP จะมีอุปกรณ์หลักๆ คือ กล้อง IP , Switch Hub,Server และ Software
กรณีศึกษาเราคือ มีโจทย์ว่า มีโรงเรียนแห่งหนึ่งกำลังก่อสร้าง ต้องการระบบกล้องวงจรปิดตามรายละเอียดดังนี้
จำนวนกล้อง
1. 30 กล้อง fix dome cameras ติดตั้งภายใน
2. 5 กล้อง Outdoor fix dome cameras ติดตั้งภายนอก
3. 5 กล้อง Outdoor PTZ Cameras ติดตั้งภายนอก
4. กล้องทุกตัว ทนแดด ทนฝน
การบันทึก
1. บันทึก 12 ชม ต่อวัน
2. บันทึกที่ 4f/s ต่อเนื่อง
3. บันทึกที่ 15f/s เวลาที่มีการเคลื่อนไหว (Motion Detect)
4. ความละเอียดภาพที่บันทึก CIF
5. เก็บข้อมูลอย่างน้อย 12 วัน
มีแบบตำแหน่งกล้องดังนี้
ติดตามต่อในตอนที่ 2 ว่าจะเป็นอย่างไร ???
POE คืออะไรใครรู้บ้าง
POE หรือ Pwer Over Ethernet คือ เทคโนโลยีที่ใช้ประโยชน์จากสาย UTP ที่เหลืออยู่ ซึ่งสาย UTP นั้นมี 4 คู่สาย ส่วนมากใช้งานเพียง 2 คู่ จะเหลือ 2 คู่ POE นั้น เกิดเมื่อปี 2003 ชื่อมาตรฐาน คือ IEEE 802.3af โดยไฟที่ส่งไปนั้นเป็นไฟกระแสตรงจึงไม่มีการรบกวนสัญญาณแต่อย่างใด โดยทั่วไปอุปกรณ์ POE จะใช้แรงดันประมาณ 48 V กินไฟสูงสุดประมาณ 13 W เราจะเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ง่ายๆ ว่า Injector (ตัวส่ง), Picker (ตัวรับ) หรือ Power Sourcing Equipment (PSE; ตัวส่ง), หรือ Power Device (PD; ตัวรับ) ก็ได้
ทำไมควรเลือกใช้ POE
ที่มา :: เอกสาร Interlink Vol.10 No.121 October 2008 สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Power_over_Ethernet
ทำไมควรเลือกใช้ POE
- ประหยัดกว่าการเดินสายแบบปกติ เพราะอุปกรณ์น้อยกว่า
- ลดขีดจำกัดการออกแบบ เพื่อให้สามารถเข้าถึงพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยาก
- ลดความยุ่งยากในการติดตั้ง
- ลดความเสี่ยงเรื่องอันตรายจากไฟฟ้าดูด
- สามารถใช้งานในฟังก์ชั่น SNMP Network ได้
- สามารถใช้อุปกรณ์ Network ต่างๆ เช่น Access Point, IP Camera โดยไม่ต้องเสียบปลั๊กไฟฟ้า
- ลดค่าใช้จ่ายที่จะต้องเดินสายไฟไปพร้อมกับสาย UTP
- ทำให้เกิดความคล่องตัวในการใช้อุปกรณ์ต่าง
- มีความปลอดภัยสูงเนื่องจากใช้ไฟฟ้าแรงดันต่ำและเป็นไฟกระแสตรง
- สามารถนำมาติดตั้งเพิ่มเติมกับระบบเดิมได้
ที่มา :: เอกสาร Interlink Vol.10 No.121 October 2008 สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Power_over_Ethernet
25 ส.ค. 2553
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกล้องวงจรปิดตอนที่ 2
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกล้องวงจรปิดตอนที่ 2
ชนิดของ CHIP
CHIP เปรียบเสมือนฉากรับภาพ ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณแสงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า แบ่งได้ 2 ชนิด คือ
1. CCD - เป็น chip ที่มีคุณภาพดี สามารถใช้ได้แม้มีปริมาณแสงน้อย
- มี resolution ประมาณ 512H*582V ( 290K / sqr.in. )
- ผลิตที่ญี่ปุ่น
2. CMOS - เป็น chip ที่ต้องใช้ปริมาณแสงมากกว่า CCD ในการที่จะให้ความคมชัดเท่า ๆ กัน
ดังนั้น chip แบบ CMOS จึงเหมาะที่จะใช้กับกล้องขาว-ดำ ที่ใช้ปริมาณแสงน้อยใน
การสร้างภาพ, CMOS มีความคมชัดสูง
- มี resolution ประมาณ 628H*582V ( 330K / sqr.in. , Hi-Resolution )
- - ผลิตที่อเมริกา, จีน
· CMOS มี resolution มากกว่า CCD แต่ เป็นเพียงแค่ Specification เท่านั้น ในความเป็นจริงแล้ว ภาพที่ได้จาก ชิป CMOS จะไม่ค่อยชัดเท่ากับชิป CCD และถ้าในที่ที่มีแสงน้อย ภาพจะไม่ค่อยชัดเจน
1. SONY คุณภาพดี จะใช้ได้ดีเมื่อดูสีอบอุ่น เช่นสีแดง เหลือง
ชิป SONY มีหลายรุ่น เช่น Super HAD, Exview
2. PANASONIC คุณภาพดี จะใช้ได้ดีเมื่อดูสีเย็น เช่น ฟ้า น้ำเงิน ส่วนสีอย่างสีแดงจะดูหม่นจน
กลายเป็นสีม่วง
3. SHARP คุณภาพปานกลาง ภาพที่ได้จะคมสู้ SONY, PANA ไม่ได้
ถ้าแสงปกติ ภาพจะสวยดี, ที่แสงน้อย ภาพอาจขึ้น SNOW เร็ว
4. SAMSUNG เรานำเข้ามาเฉพาะชิปขาว-ดำ ให้ภาพสว่างสดใส
เทคนิคการดูสี CHIP
กล้องขาว-ดำ สีของ CHIP จะอ่อน , กล้องสี สีของ CHIP จะเข้ม
ขนาดของ CHIP แบ่งเป็น
1. 1/2” ไม่ขาย เพราะมีราคาแพงมาก, แม้ว่าขนาดของ chip จะใหญ่ ดี แต่ราคาแพง
2. 1/3” กล้องสีบางรุ่นใช้ชิป 1/3” มีราคาแพงกว่าชิป 1/4” แต่ได้มุมภาพที่กว้างกว่าชิป 1/4”
3. 1/4” กล้องสีทั่วไปที่เราขาย ส่วนใหญ่เป็นชิป 1/4”
รูป 6 ขนาดของ CHIP
· ชิปที่มีขนาดใหญ่ จะให้ภาพละเอียดและ มุมภาพกว้างขึ้น กว่าชิปที่มีขนาดเล็ก
· เลนส์จะต้องสร้างภาพที่มีขนาดใหญ่พอสำหรับชิป หากชิปมีขนาดใหญ่ เลนส์ก็ยิ่งแพง
· เลนส์ที่ทำสำหรับใช้กับชิปขนาด 1/2” จะสามารถใช้กับชิปขนาด 1/2”, 1/3” และ 1/4” ได้
· เลนส์ของเราทำสำหรับใช้กับชิปขนาด 1/3” ซึ่งสามารถใช้กับชิปขนาด 1/3” และ 1/4” ได้
· กล้องขาว-ดำทุกรุ่นที่เราขาย มีขนาดชิป 1/3” เพราะมีราคาถูกอยู่แล้ว
ระยะโฟกัส
เลนส์แบ่งตามการปรับระยะโฟกัส มี 3 ชนิดหลัก ๆ คือ
q Mono focal : ระยะโฟกัสจะถูกกำหนดไว้ตายตัว จะเปลี่ยนไม่ได้ เช่น 4 มม.
q Zoom : สามารถปรับระยะโฟกัสได้ภายในช่วงที่กำหนดไว้ เช่น 2.8-12 มม. และเมื่อเปลี่ยนระยะโฟกัสแล้ว จุดรวมแสงของเลนส์ก็จะยังคงอยู่
q Vari-focal Zoom : เมื่อเปลี่ยนระยะโฟกัส เลนส์จะต้องถูกปรับจุดรวมแสงใหม่ ซึ่งชนิดที่ใช้กันทั่วไปคือขนาด 3.5-8 มม.
· ระยะโฟกัสกับขนาดของเซนเซอร์จะให้มุมในการมองเห็นที่ต่างกัน
· เลนส์ระยะโฟกัสน้อยจะให้มุมที่กว้างกว่าระยะโฟกัสมาก และมองเห็นชัด สำหรับระยะใกล้ๆ
· ถ้าใช้เลนส์มุมกว้างมากๆ เช่น 2 mm จะเริ่มเห็นภาพเป็น เส้นโค้งๆ
· เลนส์มาตรฐานที่ให้ไปกับตัวกล้อง เป็นเลนส์ขนาด 4mm ซึ่งได้มุมที่กว้างพอสมควร
· เลนส์ขนาดเดียวกัน หากใช้กับ CHIP ขนาด 1/3” ก็จะมองเห็นมุมที่กว้างกว่าการใช้ CHIP ขนาด 1/4 ” นิดหน่อย
ติดตามต่อในตอนที่ 3 ครับ
CHIP เปรียบเสมือนฉากรับภาพ ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณแสงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า แบ่งได้ 2 ชนิด คือ
1. CCD - เป็น chip ที่มีคุณภาพดี สามารถใช้ได้แม้มีปริมาณแสงน้อย
- มี resolution ประมาณ 512H*582V ( 290K / sqr.in. )
- ผลิตที่ญี่ปุ่น
2. CMOS - เป็น chip ที่ต้องใช้ปริมาณแสงมากกว่า CCD ในการที่จะให้ความคมชัดเท่า ๆ กัน
ดังนั้น chip แบบ CMOS จึงเหมาะที่จะใช้กับกล้องขาว-ดำ ที่ใช้ปริมาณแสงน้อยใน
การสร้างภาพ, CMOS มีความคมชัดสูง
- มี resolution ประมาณ 628H*582V ( 330K / sqr.in. , Hi-Resolution )
- - ผลิตที่อเมริกา, จีน
· CMOS มี resolution มากกว่า CCD แต่ เป็นเพียงแค่ Specification เท่านั้น ในความเป็นจริงแล้ว ภาพที่ได้จาก ชิป CMOS จะไม่ค่อยชัดเท่ากับชิป CCD และถ้าในที่ที่มีแสงน้อย ภาพจะไม่ค่อยชัดเจน
CCD BRAND
CHIP แบบ CMOS จะมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน แต่ CHIP แบบ CCD จะมีคุณภาพแตกต่างกันไปตามบริษัทผู้ผลิต1. SONY คุณภาพดี จะใช้ได้ดีเมื่อดูสีอบอุ่น เช่นสีแดง เหลือง
ชิป SONY มีหลายรุ่น เช่น Super HAD, Exview
2. PANASONIC คุณภาพดี จะใช้ได้ดีเมื่อดูสีเย็น เช่น ฟ้า น้ำเงิน ส่วนสีอย่างสีแดงจะดูหม่นจน
กลายเป็นสีม่วง
3. SHARP คุณภาพปานกลาง ภาพที่ได้จะคมสู้ SONY, PANA ไม่ได้
ถ้าแสงปกติ ภาพจะสวยดี, ที่แสงน้อย ภาพอาจขึ้น SNOW เร็ว
4. SAMSUNG เรานำเข้ามาเฉพาะชิปขาว-ดำ ให้ภาพสว่างสดใส
เทคนิคการดูสี CHIP
กล้องขาว-ดำ สีของ CHIP จะอ่อน , กล้องสี สีของ CHIP จะเข้ม
CHIP SIZE
ขนาดของ CHIP ยิ่งใหญ่จะยิ่งดี เนื่องจากมีพื้นที่ในการรับแสงมาก จะได้ภาพที่คมชัด ซึ่งก็จะมีราคาแพงขนาดของ CHIP แบ่งเป็น
1. 1/2” ไม่ขาย เพราะมีราคาแพงมาก, แม้ว่าขนาดของ chip จะใหญ่ ดี แต่ราคาแพง
2. 1/3” กล้องสีบางรุ่นใช้ชิป 1/3” มีราคาแพงกว่าชิป 1/4” แต่ได้มุมภาพที่กว้างกว่าชิป 1/4”
3. 1/4” กล้องสีทั่วไปที่เราขาย ส่วนใหญ่เป็นชิป 1/4”
รูป 6 ขนาดของ CHIP
· ชิปที่มีขนาดใหญ่ จะให้ภาพละเอียดและ มุมภาพกว้างขึ้น กว่าชิปที่มีขนาดเล็ก
· เลนส์จะต้องสร้างภาพที่มีขนาดใหญ่พอสำหรับชิป หากชิปมีขนาดใหญ่ เลนส์ก็ยิ่งแพง
· เลนส์ที่ทำสำหรับใช้กับชิปขนาด 1/2” จะสามารถใช้กับชิปขนาด 1/2”, 1/3” และ 1/4” ได้
· เลนส์ของเราทำสำหรับใช้กับชิปขนาด 1/3” ซึ่งสามารถใช้กับชิปขนาด 1/3” และ 1/4” ได้
· กล้องขาว-ดำทุกรุ่นที่เราขาย มีขนาดชิป 1/3” เพราะมีราคาถูกอยู่แล้ว
ระยะโฟกัส
เลนส์แบ่งตามการปรับระยะโฟกัส มี 3 ชนิดหลัก ๆ คือ
q Mono focal : ระยะโฟกัสจะถูกกำหนดไว้ตายตัว จะเปลี่ยนไม่ได้ เช่น 4 มม.
q Zoom : สามารถปรับระยะโฟกัสได้ภายในช่วงที่กำหนดไว้ เช่น 2.8-12 มม. และเมื่อเปลี่ยนระยะโฟกัสแล้ว จุดรวมแสงของเลนส์ก็จะยังคงอยู่
q Vari-focal Zoom : เมื่อเปลี่ยนระยะโฟกัส เลนส์จะต้องถูกปรับจุดรวมแสงใหม่ ซึ่งชนิดที่ใช้กันทั่วไปคือขนาด 3.5-8 มม.
ระยะโฟกัสของเลนส์กับมุมการมองเห็น
ANGLE OF VIEWSIZE OF LENS | WIDE ANGLE | |
C-MOUNT LENS | BOARD LENS | (degree) |
2 mm | 2 mm | > 90 |
4 mm | 3.6 mm | 78 |
6 mm | 6 mm | 50 |
8 mm | 8 mm | 30 |
12 mm | 12 mm | 20 |
16 mm | - | 12 |
· เลนส์ระยะโฟกัสน้อยจะให้มุมที่กว้างกว่าระยะโฟกัสมาก และมองเห็นชัด สำหรับระยะใกล้ๆ
· ถ้าใช้เลนส์มุมกว้างมากๆ เช่น 2 mm จะเริ่มเห็นภาพเป็น เส้นโค้งๆ
· เลนส์มาตรฐานที่ให้ไปกับตัวกล้อง เป็นเลนส์ขนาด 4mm ซึ่งได้มุมที่กว้างพอสมควร
· เลนส์ขนาดเดียวกัน หากใช้กับ CHIP ขนาด 1/3” ก็จะมองเห็นมุมที่กว้างกว่าการใช้ CHIP ขนาด 1/4 ” นิดหน่อย
ติดตามต่อในตอนที่ 3 ครับ
บทความจาก: CCTVNETWORKDESIGN: ออกแบบระบบกล้องวงจรปิดเครือข่ายระยะไกล,กล้องวงจรปิด,ออก แบบCCTV,cctvnetwork,CCTV: ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกล้องวงจรปิดตอนที่ 2
http://cctvnetworkdesign.blogspot.com
Under Creative Commons License: Attribution
ระบบกล้องวงจรปิดชนิดเครือข่าย (IP Camera) ตอนที่1
ระบบกล้องวงจรปิดชนิดเครือข่าย (IP Camera) ตอนที่1
ระบบกล้องวงจรปิดชนิดเครือข่าย (IP Security Solutions)
เหตุผลที่ทำไมต้องเลือกกล้อง IP Camera
1. คุณภาพของสัญญาณภาพ
§ ความละเอียดสูงจากระดับ VGA ถึงระดับ Mega Pixel
§ Progressive Scan จับภาพได้คมชัดถึงแม้ว่าวัตถุจะมีการเคลื่อนไหว
2. ความยืดหยุ่นของระบบและประสิทธิภาพในการใช้งาน
§ ระบบสามารถปรับเปลี่ยน เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงสำหรับการใช้งานในส่วนต่างๆได้ง่าย
§ ตัวกล้องไม่จำเป็นต้องเดินสายไฟเลี้ยงกล้อง แต่อาศัยการจ่ายไฟเลี้ยงกล้องจากสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย (PoE Standard)
§ เหมาะสมสำหรับตึกที่ก่อสร้างใหม่ เนื่องจากระบบติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว
§ เนื่องจากระบบสัญญาณภาพเป็นดิจิตอลจึงง่ายและสะดวกสำหรับการประยุกต์ใช้งาน ในส่วนของ System Integration ไม่ว่าจะเป็นการนำภาพไปตรวจจับป้ายทะเบียนรถยนต์ในโปรแกรมเพื่อประมวลผลใน ส่วนของระบบรักษาความปลอดภัยต่างๆได้
§ ประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของแรงงานคนและผู้ดูแลระบบ เนื่องจากระบบสามารถเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างจุดที่อยู่ห่างไกลในแต่ละที่ เพื่อมารวมไว้ที่ศูนย์ควบคุมกลางเพียงจุดเดียว โดยผ่านระบบเครือข่ายแบบมีสายหรือไร้สาย ซึ่งออกแบบตามความจำเป็นของแต่ละพื้นที่ และลักษณะของงาน
§ ระบบสามารถที่จะแบ่งปันข้อมูลต่างๆ ในแต่ละจุดที่อยู่ห่างไกลกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
(Sharing Pictures Site)
§ ระบบสามารถรองรับภาพและเสียงจากกล้องแต่ละจุดเข้าสู่ศูนย์ควบคุมกลางได้ อีกทั้งยังสามารถพูดคุยโต้ตอบกลับไปที่กล้องที่ติดตั้งไว้ในแต่ละจุดได้เลย (Two way audio)
3. เปรียบเทียบระหว่างระบบกล้องไอพีดิจิตอลกับระบบกล้องอนาล็อก
Solutions 1: Wiring Network IP Camera
เหตุผลที่ทำไมต้องเลือกกล้อง IP Camera
1. คุณภาพของสัญญาณภาพ
§ ความละเอียดสูงจากระดับ VGA ถึงระดับ Mega Pixel
§ Progressive Scan จับภาพได้คมชัดถึงแม้ว่าวัตถุจะมีการเคลื่อนไหว
2. ความยืดหยุ่นของระบบและประสิทธิภาพในการใช้งาน
§ ระบบสามารถปรับเปลี่ยน เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงสำหรับการใช้งานในส่วนต่างๆได้ง่าย
§ ตัวกล้องไม่จำเป็นต้องเดินสายไฟเลี้ยงกล้อง แต่อาศัยการจ่ายไฟเลี้ยงกล้องจากสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว เพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย (PoE Standard)
§ เหมาะสมสำหรับตึกที่ก่อสร้างใหม่ เนื่องจากระบบติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว
§ เนื่องจากระบบสัญญาณภาพเป็นดิจิตอลจึงง่ายและสะดวกสำหรับการประยุกต์ใช้งาน ในส่วนของ System Integration ไม่ว่าจะเป็นการนำภาพไปตรวจจับป้ายทะเบียนรถยนต์ในโปรแกรมเพื่อประมวลผลใน ส่วนของระบบรักษาความปลอดภัยต่างๆได้
§ ประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของแรงงานคนและผู้ดูแลระบบ เนื่องจากระบบสามารถเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างจุดที่อยู่ห่างไกลในแต่ละที่ เพื่อมารวมไว้ที่ศูนย์ควบคุมกลางเพียงจุดเดียว โดยผ่านระบบเครือข่ายแบบมีสายหรือไร้สาย ซึ่งออกแบบตามความจำเป็นของแต่ละพื้นที่ และลักษณะของงาน
§ ระบบสามารถที่จะแบ่งปันข้อมูลต่างๆ ในแต่ละจุดที่อยู่ห่างไกลกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
(Sharing Pictures Site)
§ ระบบสามารถรองรับภาพและเสียงจากกล้องแต่ละจุดเข้าสู่ศูนย์ควบคุมกลางได้ อีกทั้งยังสามารถพูดคุยโต้ตอบกลับไปที่กล้องที่ติดตั้งไว้ในแต่ละจุดได้เลย (Two way audio)
3. เปรียบเทียบระหว่างระบบกล้องไอพีดิจิตอลกับระบบกล้องอนาล็อก
ข้อเปรียบเทียบ | ระบบกล้องอนาล็อก | ระบบกล้องไอพี ดิจิตอล |
1. ด้านระบบ | ติดตั้งง่ายสายสัญญาณมารวมไว้ที่เครื่องบันทึกเพียงจุดเดียว ( ขนาดเล็ก ) | รองรับการเชื่อมต่อในแต่ละจุดที่อยู่ห่างไกลหลายกิโลเมตรเพื่อมารวมไว้ที่ศูนย์ควบคุมสั่งการกลางเพียงจุดเดียว ( ขนาดใหญ่ ) |
2. ราคา | ราคาค่อนข้างถูกเนื่องจากไม่มีการพัฒนาฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆเพิ่มเติม | ราคา ค่อนข้างแพง เนื่องจากมีการพัฒนาฟังก์ชั่นการใช้งานต่างๆอย่างต่อเนื่อง เช่น การส่งสัญญาณภาพและเสียงไปที่โทรศัพท์มือถือของผู้ดูแลได้ 3G Mobile |
3. ศักยภาพระบบในอนาคต | ไม่มีการพัฒนาเพิ่มเติม | มีการพัฒนาฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การส่งข้อมูลไร้สาย |
4. ความละเอียดของภาพ | NTSC or PAL | พัฒนาถึงระดับ Mega Pixel |
5. อัตราการส่งข้อมูล | 30 FPS ( Standard ) | สามารถปรับได้ไม่จำกัด (Unlimited) |
6. การหน่วงเวลาของสัญญาณ | ไม่มี | ขึ้นอยู่กับระบบเน็ตเวิร์คที่ติดตั้งระบบสามารถรองรับได้ถึง Gigabit/s |
7. ข้อจำกัดของสัญญาณ | จำกัดเพียงระยะ ไม่เกิน 200 เมตร โดยไม่มีตัวแปลงสัญญาณ | ไม่จำกัด สามารถติดตั้งได้ห่างไกลจากศูนย์ควบคุมได้หลายร้อยกิโลเมตรแล้วแต่ผู้ออกแบบจะกำหนดในแต่ละงาน |
Solutions 1: Wiring Network IP Camera
บทความจาก: CCTVNETWORKDESIGN: ออกแบบระบบกล้องวงจรปิดเครือข่ายระยะไกล,กล้องวงจรปิด,ออก แบบCCTV,cctvnetwork,CCTV: ระบบกล้องวงจรปิดชนิดเครือข่าย (IP Camera) ตอนที่1
http://cctvnetworkdesign.blogspot.com
Under Creative Commons License: Attribution
18 ส.ค. 2553
Spec.บอกค่ากำลังส่องสว่างของเครื่องฉาย
Spec.บอกค่ากำลังส่องสว่างของเครื่องฉาย
: สิ่งที่ควรจะต้องพิจารณาประกอบในรายละเอียดบางประการ
: สิ่งที่ควรจะต้องพิจารณาประกอบในรายละเอียดบางประการ
Somsit Jitstaporn,(PhD,Assoc.Prof.)
เครื่องฉายนับว่าเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงาน ที่บ้าน ในห้องประชุมสัมนา ห้องเรียน ฯลฯ แต่สภาพของสถานที่ใช้งานมีความหลากหลายดังนั้นในเรื่องของความสว่างของเครื่องฉายที่พอเหมาะนั้นยังเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อย การพิจารณาคุณลักษณะทางเทคนิคหรือที่เรียกว่า “ สเปค ” เครื่องฉายก็ไม่ต่างจากเครื่องอื่น ๆ เช่นเครื่องเสียง ฯ ค่าที่บอกเป็นตัวเลขบางครั้งต้องระมัดระวังในการพิจารณาด้วย การตกแต่งค่าตัวเลขที่ปรากฏในเอกสารหรือโบรชัวร์ (brochure) ของบริษัทผู้ผลิตภายใต้เงื่อนไขหรือสภาพการต่าง ๆ ให้ดูดีมีอยู่ไม่น้อยที่ต้องระมัดระวัง ในฉบับนี้มาว่ากันเฉพาะเรื่องกำลังส่องสว่างของเครื่องฉายว่าแท้จริงนั้นคืออะไรกันแน่ ? แล้วมั่นใจได้อย่างไรว่าจะนำไปใช้ตรงกับความต้องการได้จริง ๆ
การเลือกเครื่องฉายไม่ได้หมายความว่าจะยิ่งมีกำลังส่องสว่างมากยิ่งดีเสมอไป ยังมีข้อแม้ว่าถ้าสว่างเกินไปภาพที่ได้จะขาวเกินไปและความอิ่มตัวของสี โดยทั่วไปแล้วเครื่องฉายยิ่งมีแสงสว่างในการฉายยิ่งมากย่อมมีราคายิ่งสูง(ในกรณีที่คุณลักษณะอื่น ๆ เหมือนกัน) แต่ยังมีปัจจัยที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับค่าความสว่างของเครื่องฉายที่สำคัญที่เราไม่อาจคาดคะเนได้ด้วยสายตาอีก 3 ประการคือ กำลังส่องสว่างของเครื่องฉาย(light output) ค่าความสว่างรวม(brightness uniformity) และระดับของ contrast
1. กำลังส่องสว่าง(light output) ของเครื่องฉาย
การเจรจาความกันในเรื่องความสว่างของเครื่องฉายในปัจจุบันเรามักจะได้ยินคำว่า ANSI กันบ่อย ๆ โดยอาจจะเป็นการเรียกสั้น ๆ หรืออย่างไรก็ตาม แต่ความหมายที่แท้จริงของ ANSI หมายถึงสถาบันกำหนดมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (American National Standards Institute) เป็นองค์กรที่ไม่ได้มุ่งแสวงหากำไร เป็นองค์กรที่กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต่าง ๆ ก่อตั้งในปี 1918 ดังนั้นการได้ยินคำว่า ANSI ถ้าพิจารณากันดี ๆ แล้วจะมีเข้าไปเกี่ยวข้องในผลิตภันฑ์ต่าง ๆ หลายผลิตภันฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นหลอดไฟฟ้า อุปกรณ์เกี่ยวกับการให้แสงสว่างเป็นต้น ก่อนที่จะมาเป็น ANSI มีการพัฒนาจากรูปแบบของสมาคมก่อนที่รู้จักกันดีในชื่อของ ASA(the American Standards Association) จากนั้นพัฒนาไปสู่ระดับสถาบันที่เรียกว่า USASI หรือ ASI(the United States of America Standards Institute) แล้วมาเป็น ANSI จนถึงปัจจุบัน ค่าความสว่างในปัจจุบันมีความพยายามมาใช้มาตรฐานการวัดกำลังส่องสว่างใหม่ โดยทางกลุ่มบริษัทผู้ผลิตของประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ผลิตส่วนใหญ่ในท้องตลาดที่จำหน่าย ได้ร่วมกันกำหนดมาตรฐานใหม่ โดยเดิมใช้ ANSI Lumen ก็มาใช้ Lumen ที่ใช้มาตรฐานของ ISO/IEC 21118 ซึ่งวิธีการวัดโดยรวม ๆ แล้วก็ไม่ต่างกับมาตรฐานของ ANSI เท่าใดนัก
โดยปกติแล้วความสว่างจะมีความสว่างสูงอยู่บริเวณตรงกลางจอภาพอยู่แล้ว จึงมีการวัดเป็น Central Lumen คือวัดความสว่างเฉพาะตรงกลาง ทำให้บางยี่ห้ออาจจะไม่แจ้งว่าวัดเป็น Central Lumen โดยอาจจะแจ้งเป็น Lumen อย่างเดียว ซึ่งทางที่ดีควรได้เปรียบเทียบกับค่าความสว่างรวมด้วย(Brightness Uniformity)
ค่าความสว่างของเครื่องฉายจะกำหนดเป็น ลูเมน(Lumen) ซึ่งบางท่านอาจจะถามว่าแล้ว ลูเมนคืออะไร ?
ลูเมนคือหน่วยวัดปริมาณของแสงเทียบเท่ากับแสง 0.98 Ft-c (foot-candles) สะท้อนกับพื้นผิวในพื้นที่ 1 ตารางฟุต
ความสว่างของเครื่องฉายยิ่งสว่างมาก ราคาเครื่องฉายย่อมมีราคาสูงตามไปด้วย อย่างไรก็ตามเราก็ควรเลือกเครื่องฉายที่ให้ความสว่างมากที่สุดเท่าที่จะสามารถหาได้ สิ่งที่เราจะต้องพิจารณาในเรื่องความสว่างของเครื่องฉายนั้นมีด้วยกัน 4 ประการคือ
1. จำนวนผู้ดูหรือผู้ชม จอภาพที่ใช้รับภาพจะต้องมีขนาดโตพอที่จะให้จำนวนผู้ชมที่มากเห็นได้อย่างชัดเจนด้วย เช่นขนาดของภาพ ขนาดไม่เกิน 60 นิ้ว(วัดทะแยง) เครื่องฉายที่มีกำลังส่องสว่างเพียงไม่เกิน 1,000 ANSI Lumen ก็นับว่าเพียงพอแล้ว
2. ปริมาณแสงภายในห้องฉายหรือที่เรียกว่า background light ถ้าเป็นห้องฉายที่มืดสนิท กำลังส่องสว่างของเครื่องฉายก็จะไม่สูงนัก แต่ถ้าเป็นห้องฉายที่มีแสงรบกวนมากเช่นมีแสงเข้าทางประตูหรือหน้าต่าง กำลังส่องสว่างของเครื่องฉายจะต้องเพิ่มขึ้นไปด้วย
3. คุณสมบัติของจอฉาย คุณสมบัติของจอฉายจะมีผลต่อคุณภาพของภาพแม้ว่าจอฉายในปัจจุบันจะมีคุณภาพสูง มีความสามรถในการสะท้อนแสงจากเครื่องฉายได้ดี แต่ถ้าในการฉายใช้วัสดุอื่นแทนจอภาพ เช่นผนังห้อง จะต้องใช้กำลังส่องสว่างของเครื่องฉายมากขึ้น
4. ลักษณะการใช้งาน เช่นถ้าเป็นห้องเรียน ห้องฝึกอบรม จะจำเป็นต้องใช้กำลังส่องสว่างของเครื่องฉายมากขึ้นเพราะสภาพการฉายต้องมีแสงสว่างเพื่อการจดบันทึกและการนำเสนออื่น ๆ เป็นต้น
แสงรบกวนน้อย | |
มีแสงรบกวนบ้าง | |
แสงรบกวนสูง |
จอฉายขนาดอัตราส่วน 4:3 | |||
ขนาดของจอ/ ความสว่างของเครื่องฉาย(Lumens) | 72" | 100" | 120" |
500 | |||
600 | |||
750 | |||
800 | |||
900 | |||
1000 | |||
1100 | |||
1200 | |||
1250 | |||
1300 | |||
3500 |
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบความสว่างของเครื่องฉายต้องเพิ่มมากขึ้นเมื่อสภาพการฉายแตกต่างกันเนื่องมาจากขนาดของภาพและแสงรบกวน(ambient light)
ปริมาณของแสงที่เป็นกำลังส่องสว่างจากเครื่องฉายที่ปรากฎบนจอนั้นวัดเป็น ANSI-LUMEN แต่เรามักจะเรียกกันงาย ๆ ว่า ลูเมน ซึ่งเราคงกล่าวได้แต่เพียงว่าเครื่องฉายที่มีกำลังส่องสว่าง 3,000 ANSI Lumen สว่างกว่าเครื่อง 2,000 ANSI Lumen เท่านั้นแต่ไม่สามารถเปรียบเทียบคุณภาพของภาพได้ ปริมาณกำลังส่องสว่างของเครื่องฉายที่พอเหมาะก็จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่ได้กล่าวมาแล้ว
ความสว่างวัดเป็น ANSI Lumen ซึ่งเครื่องฉายที่มีกำลังส่องสว่างสูงกว่าจะมีค่าจำนวน ANSI Lumen สูงกว่าตามไปด้วย ในอดีตที่ผ่านมามีผู้แบ่งระดับของเครื่องฉายกับกำลังส่องสว่างออกเป็น 4 ระดับคือ 1) ต่ำกว่า 1,000 ANSI Lumen 2) 1,000 – 2,ooo ANSI Lumen 3) 2,000 – 3,000 ANSI Lumen 4) 3,000 ANSI Lumen ขึ้นไป แต่ในทัศนะผู้เขียนเห็นว่าในปัจจุบันเครื่องฉายมีการพัฒนาไปมาก มีราคาถูกลงและกลุ่มผู้ผลิตที่มีราคาใกล้เคียงกัน จึงจอแบ่งประเภทของเครื่องฉายตามระดับกำลังส่องสว่างดังนี้
1) ต่ำกว่า 2,000 ANSI Lumen การใช้งานเหมาะสำหรับการนำเสนอที่มีจำนวนผู้ชมเป็นกลุ่มย่อย ๆ และมีแสงสว่างรบกวนน้อย เช่นใช้ในบ้าน หรือในที่ประชุมกลุ่มย่อย เป็นต้น
2) 2,000 – 3,500 ANSI Lumen เป็นเครื่องฉายที่เหมาะสำหรับการนำไปใช้กับห้องเรียนหรือห้องสัมมนาได้
3) 3,500 – 5,000 ANSI Lumen เหมาะสำหรับการนำไปใช้กับห้องประชุมขนาดกลางที่มีผู้ชมประมาณ 100 – 250 คนได้
4) 5,000 ANSI Lumen ขึ้นไป เป็นเครื่องฉายที่เหมาะสำหรับการติดตั้งในห้องประชุมที่มีจำนวนผู้ชมมาก ๆ หรือห้องใหญ่ ๆ ที่บรรจุผู้ชมได้มากกว่า 5,000 คน ซึ่งต้องใช้จอฉายขนาดใหญ่ อาจจะต้องใช้เครื่องที่มีกำลังส่องสว่างมากกว่า 10,000 ANSI Lumen ขึ้นไป
ANSI Lumen เป็นมาตรฐานสำหรับวัดปริมาณแสงที่ออกมาจากเครื่องฉายเพื่อสำหรับการเปรียบเทียบเครื่องฉายที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด แม้ว่าในความรู้สึกที่พบด้วยสายตา อาจจะมองเห็นแล้วอาจดูว่าแตกต่างกัน เช่นเครื่องฉายที่ใช้หลอดฉายต่างชนิดกัน เป็นต้นว่าหลอดฉายแบบ halogen กับ metal halide ซึ่งจะดูเหมือนกับว่าเครื่องฉายที่ใช้หลอด Metal – halide จะดูสว่างกว่าแม้ว่าจะมีความสว่างหรือจำนวน ANSI lumen เท่ากันก็ตาม หรือแม้แต่เทคโนโลยีที่ต่างกันเช่น LCD, DLP, LCOS หรือแม้แต่ LCD ที่เทคโนโลยีต่างประเภทกันเช่น active matrix TFT, Poly-Si, Passive หรือแม้แต่คอนทราส(contrast) ของภาพ ล้วนมีผลต่อความสว่างของเครื่องฉายทั้งสิ้น
แม้ว่าเราจะพบว่าบางครั้งผู้ผลิตต้องการเน้นค่าความสว่างมากเกินไป เข่นว่าเครื่องนี้สูงกว่าอีกเครื่องหนึ่ง เช่นเครื่อง 1600 ANSI lumen สว่างกว่าเครื่องที่มีค่าความสว่าง 1,500 ANSI lumen ทั้ง ๆ ที่มีความแตกต่างกันน้อยมาก โดยถ้าจะต้องจ่ายเงินเพิ่มจำนวนมากก็จะต้องพิจารณาความคุ้มทุนให้ดี โดยปกติแล้วถ้าค่าความแตกต่างของค่าความสว่างของเครื่องมีค่าความแตกต่างกันไม่เกิน 20 % สายตาตนเราจะแยกไม่ออก ทั้งนี้เพราะ แสงที่เรามองเห็นเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอย่างหนึ่งที่มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 380 – 770 นาโนเมตร(nanometers : nm) และมีความถี่อยู่ในช่วง 460 terahertz(THz) ถึง 750 THz
อีกประการหนึ่งค่าความสว่างที่กำหนดในสเปค นั้นหมายถึงในกรณีที่หลอดฉายใหม่ ๆ เท่านั้น แต่เมื่อใช้งานไปสักระยะหนึ่ง ความสว่างของหลอดฉายจะลดลงประมาณ 15 ~ 20 % ดังนั้นเครื่องฉายขนาด 2,000 ANSI Lumen ก็อาจจะสว่างพอ ๆ กับเครื่อง 1,800 ANSI Lumen การเลื่อกความสว่างของเครื่องฉายไม่ควรจะเลือกให้สว่างเกินความจำเป็นเพราะนอกจากจะมีราคาสูงแล้วภาพที่ได้จะได้สีที่ไม่สมดุล ขาดความอิ่มตัวของสีอีกด้วย
ภาพที่ 1 . เปรียบเทียบภาพที่เกิดจากเครื่องฉายที่มีความสว่างมากเกินไป(ซ้าย) และภาพที่เกิดจากเครื่องฉายที่มีความสว่างพอดี(ขวา) โดยที่ภาพทางด้านซ้ายมือเป็นภาพของเครื่องฉายที่มีความสว่างมากไปทำให้สีซีดจาง ส่วนทางด้านขวามือนั้นความสว่างพอดีทำให้ภาพที่ได้มี ความอิ่มตัวของสีที่ดีกว่า
การกำหนดค่ากำลังส่องสว่างของเครื่องฉายนั้น มาตรฐานอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกาใช้มาตรฐานของ ANSI เป็นตัวกำหนดความสว่างของเครื่องฉายภาพดิจิตอลซึ่งคล้ายกับของเยอรมันที่ใช้มาตรฐาน DIN สำหรับเครื่องฉายแล้วจำนวนลูเมน(lumens)เป็นตัวบอกปริมาณแสงที่ออกจากเลนส์ของเครื่องฉายโดยใช้วัดที่ความสว่างสุดเมื่อภาพบนจอขาวทั้งภาพ โดยแบ่งพื้นที่ของฉากรับภาพนั้นออกเป็น 9 ส่วนเท่า ๆ กันแล้วใช้ luxmeter sensor วัดที่ตรงกลางของแต่ละส่วนทั้ง1- 9 ส่วนนั้น แล้วนำมาเฉลี่ย ส่วนตำแหน่งที่ 10 – 13 นั้นเพิ่มเข้ามาเพื่อวัดค่าความสว่างโดยรวม(brightness uniformity) โดยวัดตั้งแต่ 1 -13
ภาพที่ 2 แสดงการวัดค่าความสว่างของเครื่องฉายในระบบ ANSI Lumen โดยวัดค่าเฉลี่ยที่ตำแหน่ง 1 - 9
แม้ว่าฉบับนี้เรากล่าวกันถึงเรื่องของ ANSI Lumen เป็นหลัก แต่เราอาจจะพบหน่วยวัดความเข้มของความสว่าง เป็นหน่วยที่นิยมใช้กันในอดีต เป็นการวัดปริมาณความเข้มของแสง ที่เรียกว่า “ candle power” หรือกำลังเทียน/แรงเทียนก็หมายถึงความเข้มของแสงด้วย ซึ่งคำว่า candlepower นี้มาใช้แทนคำว่า candela ดังนั้นไม่ว่าจะเป็น candlepower หรือ candela จึงมีค่าเทียบเท่ากัน ถ้าเราถือเทียนไข 1 แท่งอยู่ห่างจากพื้นผิวเป็นระยะ 1 ฟุตความสว่างควรจะเป็น 1 foot-candle(fc) แต่เมื่อให้เทียนอยู่ห่างออกไปเป็น 2 ฟุตจะได้ความสว่างที่พื้นผิวเพียง ¼ fc และ 1/9 fc ที่ระยะ 3 ฟุต ส่วนFoot-candle (fc) ก็เป็นหน่วยของความสว่างที่ตกกระทบกับพื้นผิวอย่างเช่นผนังหรือโต๊ะ โดยเทียบเท่ากับความสว่าง 1 ลูเมน(lumen) ตกกระทบกับพื้นที่ 1 ตารางฟุตจะให้ความสว่างเท่ากับ 1 foot-candle หรือ 1 foot-candle เท่ากับ 1 ลูเมนต่อตารางฟุต โดยถ้าเปรียบเทียบกันแล้วได้ดังนี้
1 ลักซ์(lux) = 1 ลูเมนส์ต่อตารางเมตร = 0.0929 foot-candleหรือ1 foot candle จะเท่ากับ 10.764 ลักซ์(lux) ซึ่ง lux เป็นภาษาลาตินหมายถึง light ไม่ได้หมายถึงยี่ห้อของสบู่ แต่เป็นหน่วยความเข้มข้นของแสงสว่าง เป็นหน่วยวัดแสงส่องตรงมายังพื้นผิววัตถุ ซึ่ง 1 foot-candle มีค่าเท่ากับ 10.764 lux แม้ว่า คำว่า “ความสว่าง” ที่ใช้คำในภาษาอังกฤษมีทั้ง luminance กับ brightness แต่ทั้งสองคำยังมีความต่างกันก็คือ brightness เป็นความสว่างที่เน้นการรับรู้ของตามนุษย์
2. ค่าความสว่างรวม(brightness uniformity)
การพิจารณาค่าความสว่างของเครื่องฉายจะต้องพิจารณาค่าความสว่างทั่วทั้งจอหรือที่เรียกว่า uniformity หรือ uniformity brightness หรือ brightness uniformity ด้วยซึ่งภาพจะต้องสว่างโดยสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นการบอกค่าเป็นร้อยละ โดยเครื่องฉายในระดับทั่ว ๆ ไปที่พบมักจะมีค่า uniformity ต่ำกว่า 90 % ทั้งสิ้น เช่นมีค่าเฉลี่ย เพียง 80 % จะสังเกตได้ง่ายคือตรงขอบ ๆ จอ จะไม่ค่อยสว่างเท่ากับบริเวณตรงกลาง ผลที่ได้ก็คือถ้าดูภาพนาน ๆ จะไม่สบายตา และในทางกลับกัน เครื่องฉายประเภท Hi-End บางยี่ห้อมีค่า uniformity จะสูงถึง 95 % ก็ยังมี การเลือกเครื่องฉายที่ดีควรเลือกที่มีค่า uniformity ไม่น้อยกว่า 85 % การวัดค่า brightness uniformity วัดจากการเพิ่มจุดวัดตรงขอบภาพทั้งสี่ด้านในภาพที่ 2 (เพิ่มตำแหน่งวัดที่ 10 – 13)
3. ระดับ contrast ของเครื่องฉาย
สิ่งที่เกี่ยวข้องกับเครื่องฉายที่เกี่ยวกับ ANSI ที่สำคัญของเครื่องฉายนอกจากความสว่างที่เรียกว่า ANSI Lumen แล้วยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันก็คือเรื่องของ contrast ratio ของเครื่องฉาย ได้แก่ ANSI contrast กับ Full on/off contrast ซึ่ง Contrast เป็นอัตราส่วนของความขาวกับดำซึ่งยิ่งมากยิ่งดีทำให้ได้รายละเอียดของสีได้ ดีรวมทั้งเมื่อใช้งานกับสถานที่ที่มีแสงรบกวนจะช่วยเพิ่มความชัดเจนในการดู ภาพยิ่งขึ้น contrast ที่กำหนดในspec ของเครื่องฉายมีอยู่ 2 ประเภทดังได้กล่าวไปแล้ว
1. Full on/off Contrast จะวัดแสงส่องสว่างเมื่อเป็นภาพขาวล้วน ๆ (full on) และขณะที่ภาพดำล้วน ๆ (full off)
2. ANSI Contrast ซึ่งวัดจากอัตราส่วนของแสงสีดำกับสีขาวในพื้นที่ของภาพที่ฉายจำนวน 16 แห่ง ดังนั้นเมื่อเวลาเปรียบเทียบการ contrast ของเครื่องฉายแล้วจะต้องระมัดระวังว่าเปรียบเทียบตัวเลขในระบบเดียวกันหรือไม่ ซึ่งค่าตัวเลขที่ได้ contrast ratio ของระบบ full on/off จะมีค่าสูงกว่า ANSI Contrast มากประมาณ 4 เท่า ดังมีหลายท่านที่อุปมาอุปมัยว่า เหมือนกับกำลังขับของเครื่องขยายเสียงแม้ว่าจะบอกค่าว่าเป็น Watt แต่ก็มีหลายหน่วยเช่น RMS, Dynamic power, DIN และPMPO เป็นต้นแม้ว่ากำลังขับจะเท่ากันแต่ตัวเลขค่าของแต่ละหน่วยวัดไม่เหมือนกันทั้งนี้อาจเพื่อต้องการให้ตัวเลขที่สูง ๆ เอาไว้ ดังนั้นท่านผู้อ่านที่เคารพควรจะต้องตรวจสอบให้
แน่ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อซื้อสินค้าระดับ consumer
แน่ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อซื้อสินค้าระดับ consumer
ภาพที่ 3 เครื่องฉายภาพดิจิตอล Dell 2100 MP
มีค่า contrast 450 :1 (ANSI) และ 1,800 :1 (Full On/Off)
เอกสารอ้างอิง
Barlow, C. Kevin. “ What is a Lumen ? “ in Sound & Video Contractor , July 20, 1993.
Christianity Today International The Light Stuff May/June 1998, Vol.44, No. 3, Page 14http://www.christianitytoday.com/yc/8y3/8y3014.html
Gibson, David “ Candlepower ! “ BCRA Cave Radio & Electronics Group, Journal 26, December 1996 p.27
Halsted, Charles P. “ Brightness, Luminance, and Confusion “ Information Display, March 1993.
http://www.resuba.com/wa3dsp/light/lumin.html
Jobe, D.Nancy. “ Image quality specifications – Achieving customer satisfaction “ in TI Technical Journal . Juy – September 1998 . p.95 - 100.
Kudryavtsev,Aleksei. Infocus X1 Projector Review.
http://www.digit-life.com/articles2/infocus-x1
http://www.digit-life.com/articles2/infocus-x1
Norbert Schmiedeberg “Image Brightness guide for projection”
http://www.dvmg.com.au/iti-f1.html
“Photometry and Radiometry: A Tour Guide for Computer Graphics Enthusiasts” http://www.ledalite.com/library-/photom.htm.
Poor, Alfred. A Look into the Light. http://www.pcmag.com/article2/0,4149,1192552,00.asp
Presentation Projector Buyers Guide
Sander Sassen Lumen output
http://www.hardwareanalysis.com/content/daily_column/article/1645.2/(3/12/03)
http://www.hardwareanalysis.com/content/daily_column/article/1645.2/(3/12/03)
เครดิต http://www.cybergogy.com/somsit/423231EdTEquipOpr/LightOutput.html