Spec.บอกค่ากำลังส่องสว่างของเครื่องฉาย
: สิ่งที่ควรจะต้องพิจารณาประกอบในรายละเอียดบางประการ
: สิ่งที่ควรจะต้องพิจารณาประกอบในรายละเอียดบางประการ
Somsit Jitstaporn,(PhD,Assoc.Prof.)
เครื่องฉายนับว่าเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นที่ทำงาน ที่บ้าน ในห้องประชุมสัมนา ห้องเรียน ฯลฯ แต่สภาพของสถานที่ใช้งานมีความหลากหลายดังนั้นในเรื่องของความสว่างของเครื่องฉายที่พอเหมาะนั้นยังเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อย การพิจารณาคุณลักษณะทางเทคนิคหรือที่เรียกว่า “ สเปค ” เครื่องฉายก็ไม่ต่างจากเครื่องอื่น ๆ เช่นเครื่องเสียง ฯ ค่าที่บอกเป็นตัวเลขบางครั้งต้องระมัดระวังในการพิจารณาด้วย การตกแต่งค่าตัวเลขที่ปรากฏในเอกสารหรือโบรชัวร์ (brochure) ของบริษัทผู้ผลิตภายใต้เงื่อนไขหรือสภาพการต่าง ๆ ให้ดูดีมีอยู่ไม่น้อยที่ต้องระมัดระวัง ในฉบับนี้มาว่ากันเฉพาะเรื่องกำลังส่องสว่างของเครื่องฉายว่าแท้จริงนั้นคืออะไรกันแน่ ? แล้วมั่นใจได้อย่างไรว่าจะนำไปใช้ตรงกับความต้องการได้จริง ๆ
การเลือกเครื่องฉายไม่ได้หมายความว่าจะยิ่งมีกำลังส่องสว่างมากยิ่งดีเสมอไป ยังมีข้อแม้ว่าถ้าสว่างเกินไปภาพที่ได้จะขาวเกินไปและความอิ่มตัวของสี โดยทั่วไปแล้วเครื่องฉายยิ่งมีแสงสว่างในการฉายยิ่งมากย่อมมีราคายิ่งสูง(ในกรณีที่คุณลักษณะอื่น ๆ เหมือนกัน) แต่ยังมีปัจจัยที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับค่าความสว่างของเครื่องฉายที่สำคัญที่เราไม่อาจคาดคะเนได้ด้วยสายตาอีก 3 ประการคือ กำลังส่องสว่างของเครื่องฉาย(light output) ค่าความสว่างรวม(brightness uniformity) และระดับของ contrast
1. กำลังส่องสว่าง(light output) ของเครื่องฉาย
การเจรจาความกันในเรื่องความสว่างของเครื่องฉายในปัจจุบันเรามักจะได้ยินคำว่า ANSI กันบ่อย ๆ โดยอาจจะเป็นการเรียกสั้น ๆ หรืออย่างไรก็ตาม แต่ความหมายที่แท้จริงของ ANSI หมายถึงสถาบันกำหนดมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (American National Standards Institute) เป็นองค์กรที่ไม่ได้มุ่งแสวงหากำไร เป็นองค์กรที่กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต่าง ๆ ก่อตั้งในปี 1918 ดังนั้นการได้ยินคำว่า ANSI ถ้าพิจารณากันดี ๆ แล้วจะมีเข้าไปเกี่ยวข้องในผลิตภันฑ์ต่าง ๆ หลายผลิตภันฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นหลอดไฟฟ้า อุปกรณ์เกี่ยวกับการให้แสงสว่างเป็นต้น ก่อนที่จะมาเป็น ANSI มีการพัฒนาจากรูปแบบของสมาคมก่อนที่รู้จักกันดีในชื่อของ ASA(the American Standards Association) จากนั้นพัฒนาไปสู่ระดับสถาบันที่เรียกว่า USASI หรือ ASI(the United States of America Standards Institute) แล้วมาเป็น ANSI จนถึงปัจจุบัน ค่าความสว่างในปัจจุบันมีความพยายามมาใช้มาตรฐานการวัดกำลังส่องสว่างใหม่ โดยทางกลุ่มบริษัทผู้ผลิตของประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้ผลิตส่วนใหญ่ในท้องตลาดที่จำหน่าย ได้ร่วมกันกำหนดมาตรฐานใหม่ โดยเดิมใช้ ANSI Lumen ก็มาใช้ Lumen ที่ใช้มาตรฐานของ ISO/IEC 21118 ซึ่งวิธีการวัดโดยรวม ๆ แล้วก็ไม่ต่างกับมาตรฐานของ ANSI เท่าใดนัก
โดยปกติแล้วความสว่างจะมีความสว่างสูงอยู่บริเวณตรงกลางจอภาพอยู่แล้ว จึงมีการวัดเป็น Central Lumen คือวัดความสว่างเฉพาะตรงกลาง ทำให้บางยี่ห้ออาจจะไม่แจ้งว่าวัดเป็น Central Lumen โดยอาจจะแจ้งเป็น Lumen อย่างเดียว ซึ่งทางที่ดีควรได้เปรียบเทียบกับค่าความสว่างรวมด้วย(Brightness Uniformity)
ค่าความสว่างของเครื่องฉายจะกำหนดเป็น ลูเมน(Lumen) ซึ่งบางท่านอาจจะถามว่าแล้ว ลูเมนคืออะไร ?
ลูเมนคือหน่วยวัดปริมาณของแสงเทียบเท่ากับแสง 0.98 Ft-c (foot-candles) สะท้อนกับพื้นผิวในพื้นที่ 1 ตารางฟุต
ความสว่างของเครื่องฉายยิ่งสว่างมาก ราคาเครื่องฉายย่อมมีราคาสูงตามไปด้วย อย่างไรก็ตามเราก็ควรเลือกเครื่องฉายที่ให้ความสว่างมากที่สุดเท่าที่จะสามารถหาได้ สิ่งที่เราจะต้องพิจารณาในเรื่องความสว่างของเครื่องฉายนั้นมีด้วยกัน 4 ประการคือ
1. จำนวนผู้ดูหรือผู้ชม จอภาพที่ใช้รับภาพจะต้องมีขนาดโตพอที่จะให้จำนวนผู้ชมที่มากเห็นได้อย่างชัดเจนด้วย เช่นขนาดของภาพ ขนาดไม่เกิน 60 นิ้ว(วัดทะแยง) เครื่องฉายที่มีกำลังส่องสว่างเพียงไม่เกิน 1,000 ANSI Lumen ก็นับว่าเพียงพอแล้ว
2. ปริมาณแสงภายในห้องฉายหรือที่เรียกว่า background light ถ้าเป็นห้องฉายที่มืดสนิท กำลังส่องสว่างของเครื่องฉายก็จะไม่สูงนัก แต่ถ้าเป็นห้องฉายที่มีแสงรบกวนมากเช่นมีแสงเข้าทางประตูหรือหน้าต่าง กำลังส่องสว่างของเครื่องฉายจะต้องเพิ่มขึ้นไปด้วย
3. คุณสมบัติของจอฉาย คุณสมบัติของจอฉายจะมีผลต่อคุณภาพของภาพแม้ว่าจอฉายในปัจจุบันจะมีคุณภาพสูง มีความสามรถในการสะท้อนแสงจากเครื่องฉายได้ดี แต่ถ้าในการฉายใช้วัสดุอื่นแทนจอภาพ เช่นผนังห้อง จะต้องใช้กำลังส่องสว่างของเครื่องฉายมากขึ้น
4. ลักษณะการใช้งาน เช่นถ้าเป็นห้องเรียน ห้องฝึกอบรม จะจำเป็นต้องใช้กำลังส่องสว่างของเครื่องฉายมากขึ้นเพราะสภาพการฉายต้องมีแสงสว่างเพื่อการจดบันทึกและการนำเสนออื่น ๆ เป็นต้น
แสงรบกวนน้อย | |
มีแสงรบกวนบ้าง | |
แสงรบกวนสูง |
จอฉายขนาดอัตราส่วน 4:3 | |||
ขนาดของจอ/ ความสว่างของเครื่องฉาย(Lumens) | 72" | 100" | 120" |
500 | |||
600 | |||
750 | |||
800 | |||
900 | |||
1000 | |||
1100 | |||
1200 | |||
1250 | |||
1300 | |||
3500 |
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบความสว่างของเครื่องฉายต้องเพิ่มมากขึ้นเมื่อสภาพการฉายแตกต่างกันเนื่องมาจากขนาดของภาพและแสงรบกวน(ambient light)
ปริมาณของแสงที่เป็นกำลังส่องสว่างจากเครื่องฉายที่ปรากฎบนจอนั้นวัดเป็น ANSI-LUMEN แต่เรามักจะเรียกกันงาย ๆ ว่า ลูเมน ซึ่งเราคงกล่าวได้แต่เพียงว่าเครื่องฉายที่มีกำลังส่องสว่าง 3,000 ANSI Lumen สว่างกว่าเครื่อง 2,000 ANSI Lumen เท่านั้นแต่ไม่สามารถเปรียบเทียบคุณภาพของภาพได้ ปริมาณกำลังส่องสว่างของเครื่องฉายที่พอเหมาะก็จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่ได้กล่าวมาแล้ว
ความสว่างวัดเป็น ANSI Lumen ซึ่งเครื่องฉายที่มีกำลังส่องสว่างสูงกว่าจะมีค่าจำนวน ANSI Lumen สูงกว่าตามไปด้วย ในอดีตที่ผ่านมามีผู้แบ่งระดับของเครื่องฉายกับกำลังส่องสว่างออกเป็น 4 ระดับคือ 1) ต่ำกว่า 1,000 ANSI Lumen 2) 1,000 – 2,ooo ANSI Lumen 3) 2,000 – 3,000 ANSI Lumen 4) 3,000 ANSI Lumen ขึ้นไป แต่ในทัศนะผู้เขียนเห็นว่าในปัจจุบันเครื่องฉายมีการพัฒนาไปมาก มีราคาถูกลงและกลุ่มผู้ผลิตที่มีราคาใกล้เคียงกัน จึงจอแบ่งประเภทของเครื่องฉายตามระดับกำลังส่องสว่างดังนี้
1) ต่ำกว่า 2,000 ANSI Lumen การใช้งานเหมาะสำหรับการนำเสนอที่มีจำนวนผู้ชมเป็นกลุ่มย่อย ๆ และมีแสงสว่างรบกวนน้อย เช่นใช้ในบ้าน หรือในที่ประชุมกลุ่มย่อย เป็นต้น
2) 2,000 – 3,500 ANSI Lumen เป็นเครื่องฉายที่เหมาะสำหรับการนำไปใช้กับห้องเรียนหรือห้องสัมมนาได้
3) 3,500 – 5,000 ANSI Lumen เหมาะสำหรับการนำไปใช้กับห้องประชุมขนาดกลางที่มีผู้ชมประมาณ 100 – 250 คนได้
4) 5,000 ANSI Lumen ขึ้นไป เป็นเครื่องฉายที่เหมาะสำหรับการติดตั้งในห้องประชุมที่มีจำนวนผู้ชมมาก ๆ หรือห้องใหญ่ ๆ ที่บรรจุผู้ชมได้มากกว่า 5,000 คน ซึ่งต้องใช้จอฉายขนาดใหญ่ อาจจะต้องใช้เครื่องที่มีกำลังส่องสว่างมากกว่า 10,000 ANSI Lumen ขึ้นไป
ANSI Lumen เป็นมาตรฐานสำหรับวัดปริมาณแสงที่ออกมาจากเครื่องฉายเพื่อสำหรับการเปรียบเทียบเครื่องฉายที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด แม้ว่าในความรู้สึกที่พบด้วยสายตา อาจจะมองเห็นแล้วอาจดูว่าแตกต่างกัน เช่นเครื่องฉายที่ใช้หลอดฉายต่างชนิดกัน เป็นต้นว่าหลอดฉายแบบ halogen กับ metal halide ซึ่งจะดูเหมือนกับว่าเครื่องฉายที่ใช้หลอด Metal – halide จะดูสว่างกว่าแม้ว่าจะมีความสว่างหรือจำนวน ANSI lumen เท่ากันก็ตาม หรือแม้แต่เทคโนโลยีที่ต่างกันเช่น LCD, DLP, LCOS หรือแม้แต่ LCD ที่เทคโนโลยีต่างประเภทกันเช่น active matrix TFT, Poly-Si, Passive หรือแม้แต่คอนทราส(contrast) ของภาพ ล้วนมีผลต่อความสว่างของเครื่องฉายทั้งสิ้น
แม้ว่าเราจะพบว่าบางครั้งผู้ผลิตต้องการเน้นค่าความสว่างมากเกินไป เข่นว่าเครื่องนี้สูงกว่าอีกเครื่องหนึ่ง เช่นเครื่อง 1600 ANSI lumen สว่างกว่าเครื่องที่มีค่าความสว่าง 1,500 ANSI lumen ทั้ง ๆ ที่มีความแตกต่างกันน้อยมาก โดยถ้าจะต้องจ่ายเงินเพิ่มจำนวนมากก็จะต้องพิจารณาความคุ้มทุนให้ดี โดยปกติแล้วถ้าค่าความแตกต่างของค่าความสว่างของเครื่องมีค่าความแตกต่างกันไม่เกิน 20 % สายตาตนเราจะแยกไม่ออก ทั้งนี้เพราะ แสงที่เรามองเห็นเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอย่างหนึ่งที่มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 380 – 770 นาโนเมตร(nanometers : nm) และมีความถี่อยู่ในช่วง 460 terahertz(THz) ถึง 750 THz
อีกประการหนึ่งค่าความสว่างที่กำหนดในสเปค นั้นหมายถึงในกรณีที่หลอดฉายใหม่ ๆ เท่านั้น แต่เมื่อใช้งานไปสักระยะหนึ่ง ความสว่างของหลอดฉายจะลดลงประมาณ 15 ~ 20 % ดังนั้นเครื่องฉายขนาด 2,000 ANSI Lumen ก็อาจจะสว่างพอ ๆ กับเครื่อง 1,800 ANSI Lumen การเลื่อกความสว่างของเครื่องฉายไม่ควรจะเลือกให้สว่างเกินความจำเป็นเพราะนอกจากจะมีราคาสูงแล้วภาพที่ได้จะได้สีที่ไม่สมดุล ขาดความอิ่มตัวของสีอีกด้วย
ภาพที่ 1 . เปรียบเทียบภาพที่เกิดจากเครื่องฉายที่มีความสว่างมากเกินไป(ซ้าย) และภาพที่เกิดจากเครื่องฉายที่มีความสว่างพอดี(ขวา) โดยที่ภาพทางด้านซ้ายมือเป็นภาพของเครื่องฉายที่มีความสว่างมากไปทำให้สีซีดจาง ส่วนทางด้านขวามือนั้นความสว่างพอดีทำให้ภาพที่ได้มี ความอิ่มตัวของสีที่ดีกว่า
การกำหนดค่ากำลังส่องสว่างของเครื่องฉายนั้น มาตรฐานอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกาใช้มาตรฐานของ ANSI เป็นตัวกำหนดความสว่างของเครื่องฉายภาพดิจิตอลซึ่งคล้ายกับของเยอรมันที่ใช้มาตรฐาน DIN สำหรับเครื่องฉายแล้วจำนวนลูเมน(lumens)เป็นตัวบอกปริมาณแสงที่ออกจากเลนส์ของเครื่องฉายโดยใช้วัดที่ความสว่างสุดเมื่อภาพบนจอขาวทั้งภาพ โดยแบ่งพื้นที่ของฉากรับภาพนั้นออกเป็น 9 ส่วนเท่า ๆ กันแล้วใช้ luxmeter sensor วัดที่ตรงกลางของแต่ละส่วนทั้ง1- 9 ส่วนนั้น แล้วนำมาเฉลี่ย ส่วนตำแหน่งที่ 10 – 13 นั้นเพิ่มเข้ามาเพื่อวัดค่าความสว่างโดยรวม(brightness uniformity) โดยวัดตั้งแต่ 1 -13
ภาพที่ 2 แสดงการวัดค่าความสว่างของเครื่องฉายในระบบ ANSI Lumen โดยวัดค่าเฉลี่ยที่ตำแหน่ง 1 - 9
แม้ว่าฉบับนี้เรากล่าวกันถึงเรื่องของ ANSI Lumen เป็นหลัก แต่เราอาจจะพบหน่วยวัดความเข้มของความสว่าง เป็นหน่วยที่นิยมใช้กันในอดีต เป็นการวัดปริมาณความเข้มของแสง ที่เรียกว่า “ candle power” หรือกำลังเทียน/แรงเทียนก็หมายถึงความเข้มของแสงด้วย ซึ่งคำว่า candlepower นี้มาใช้แทนคำว่า candela ดังนั้นไม่ว่าจะเป็น candlepower หรือ candela จึงมีค่าเทียบเท่ากัน ถ้าเราถือเทียนไข 1 แท่งอยู่ห่างจากพื้นผิวเป็นระยะ 1 ฟุตความสว่างควรจะเป็น 1 foot-candle(fc) แต่เมื่อให้เทียนอยู่ห่างออกไปเป็น 2 ฟุตจะได้ความสว่างที่พื้นผิวเพียง ¼ fc และ 1/9 fc ที่ระยะ 3 ฟุต ส่วนFoot-candle (fc) ก็เป็นหน่วยของความสว่างที่ตกกระทบกับพื้นผิวอย่างเช่นผนังหรือโต๊ะ โดยเทียบเท่ากับความสว่าง 1 ลูเมน(lumen) ตกกระทบกับพื้นที่ 1 ตารางฟุตจะให้ความสว่างเท่ากับ 1 foot-candle หรือ 1 foot-candle เท่ากับ 1 ลูเมนต่อตารางฟุต โดยถ้าเปรียบเทียบกันแล้วได้ดังนี้
1 ลักซ์(lux) = 1 ลูเมนส์ต่อตารางเมตร = 0.0929 foot-candleหรือ1 foot candle จะเท่ากับ 10.764 ลักซ์(lux) ซึ่ง lux เป็นภาษาลาตินหมายถึง light ไม่ได้หมายถึงยี่ห้อของสบู่ แต่เป็นหน่วยความเข้มข้นของแสงสว่าง เป็นหน่วยวัดแสงส่องตรงมายังพื้นผิววัตถุ ซึ่ง 1 foot-candle มีค่าเท่ากับ 10.764 lux แม้ว่า คำว่า “ความสว่าง” ที่ใช้คำในภาษาอังกฤษมีทั้ง luminance กับ brightness แต่ทั้งสองคำยังมีความต่างกันก็คือ brightness เป็นความสว่างที่เน้นการรับรู้ของตามนุษย์
2. ค่าความสว่างรวม(brightness uniformity)
การพิจารณาค่าความสว่างของเครื่องฉายจะต้องพิจารณาค่าความสว่างทั่วทั้งจอหรือที่เรียกว่า uniformity หรือ uniformity brightness หรือ brightness uniformity ด้วยซึ่งภาพจะต้องสว่างโดยสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นการบอกค่าเป็นร้อยละ โดยเครื่องฉายในระดับทั่ว ๆ ไปที่พบมักจะมีค่า uniformity ต่ำกว่า 90 % ทั้งสิ้น เช่นมีค่าเฉลี่ย เพียง 80 % จะสังเกตได้ง่ายคือตรงขอบ ๆ จอ จะไม่ค่อยสว่างเท่ากับบริเวณตรงกลาง ผลที่ได้ก็คือถ้าดูภาพนาน ๆ จะไม่สบายตา และในทางกลับกัน เครื่องฉายประเภท Hi-End บางยี่ห้อมีค่า uniformity จะสูงถึง 95 % ก็ยังมี การเลือกเครื่องฉายที่ดีควรเลือกที่มีค่า uniformity ไม่น้อยกว่า 85 % การวัดค่า brightness uniformity วัดจากการเพิ่มจุดวัดตรงขอบภาพทั้งสี่ด้านในภาพที่ 2 (เพิ่มตำแหน่งวัดที่ 10 – 13)
3. ระดับ contrast ของเครื่องฉาย
สิ่งที่เกี่ยวข้องกับเครื่องฉายที่เกี่ยวกับ ANSI ที่สำคัญของเครื่องฉายนอกจากความสว่างที่เรียกว่า ANSI Lumen แล้วยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันก็คือเรื่องของ contrast ratio ของเครื่องฉาย ได้แก่ ANSI contrast กับ Full on/off contrast ซึ่ง Contrast เป็นอัตราส่วนของความขาวกับดำซึ่งยิ่งมากยิ่งดีทำให้ได้รายละเอียดของสีได้ ดีรวมทั้งเมื่อใช้งานกับสถานที่ที่มีแสงรบกวนจะช่วยเพิ่มความชัดเจนในการดู ภาพยิ่งขึ้น contrast ที่กำหนดในspec ของเครื่องฉายมีอยู่ 2 ประเภทดังได้กล่าวไปแล้ว
1. Full on/off Contrast จะวัดแสงส่องสว่างเมื่อเป็นภาพขาวล้วน ๆ (full on) และขณะที่ภาพดำล้วน ๆ (full off)
2. ANSI Contrast ซึ่งวัดจากอัตราส่วนของแสงสีดำกับสีขาวในพื้นที่ของภาพที่ฉายจำนวน 16 แห่ง ดังนั้นเมื่อเวลาเปรียบเทียบการ contrast ของเครื่องฉายแล้วจะต้องระมัดระวังว่าเปรียบเทียบตัวเลขในระบบเดียวกันหรือไม่ ซึ่งค่าตัวเลขที่ได้ contrast ratio ของระบบ full on/off จะมีค่าสูงกว่า ANSI Contrast มากประมาณ 4 เท่า ดังมีหลายท่านที่อุปมาอุปมัยว่า เหมือนกับกำลังขับของเครื่องขยายเสียงแม้ว่าจะบอกค่าว่าเป็น Watt แต่ก็มีหลายหน่วยเช่น RMS, Dynamic power, DIN และPMPO เป็นต้นแม้ว่ากำลังขับจะเท่ากันแต่ตัวเลขค่าของแต่ละหน่วยวัดไม่เหมือนกันทั้งนี้อาจเพื่อต้องการให้ตัวเลขที่สูง ๆ เอาไว้ ดังนั้นท่านผู้อ่านที่เคารพควรจะต้องตรวจสอบให้
แน่ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อซื้อสินค้าระดับ consumer
แน่ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อซื้อสินค้าระดับ consumer
ภาพที่ 3 เครื่องฉายภาพดิจิตอล Dell 2100 MP
มีค่า contrast 450 :1 (ANSI) และ 1,800 :1 (Full On/Off)
เอกสารอ้างอิง
Barlow, C. Kevin. “ What is a Lumen ? “ in Sound & Video Contractor , July 20, 1993.
Christianity Today International The Light Stuff May/June 1998, Vol.44, No. 3, Page 14http://www.christianitytoday.com/yc/8y3/8y3014.html
Gibson, David “ Candlepower ! “ BCRA Cave Radio & Electronics Group, Journal 26, December 1996 p.27
Halsted, Charles P. “ Brightness, Luminance, and Confusion “ Information Display, March 1993.
http://www.resuba.com/wa3dsp/light/lumin.html
Jobe, D.Nancy. “ Image quality specifications – Achieving customer satisfaction “ in TI Technical Journal . Juy – September 1998 . p.95 - 100.
Kudryavtsev,Aleksei. Infocus X1 Projector Review.
http://www.digit-life.com/articles2/infocus-x1
http://www.digit-life.com/articles2/infocus-x1
Norbert Schmiedeberg “Image Brightness guide for projection”
http://www.dvmg.com.au/iti-f1.html
“Photometry and Radiometry: A Tour Guide for Computer Graphics Enthusiasts” http://www.ledalite.com/library-/photom.htm.
Poor, Alfred. A Look into the Light. http://www.pcmag.com/article2/0,4149,1192552,00.asp
Presentation Projector Buyers Guide
Sander Sassen Lumen output
http://www.hardwareanalysis.com/content/daily_column/article/1645.2/(3/12/03)
http://www.hardwareanalysis.com/content/daily_column/article/1645.2/(3/12/03)
เครดิต http://www.cybergogy.com/somsit/423231EdTEquipOpr/LightOutput.html
0 comments:
แสดงความคิดเห็น